วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การขอสัญชาติไทยของชาวต่างชาติ

       การขอสัญชาติไทยของชาวต่างชาติ






คำแนะนำในการยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย




จากแนวทางประกอบการพิจารณาในการขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไว้ดังนี้ ได้ให้ความเห็น ชอบแล้วเมื่อ 9 กรกฎาคม 2544 ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ยื่นคำคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทยไว้ ดังนี้




1.บรรลุนิติภาวะแล้วตามกฎหมายไทยและกฎหมายที่บุคคลนั้นมีสัญชาติ


2.มีความประพฤติดีโดยจะต้องผ่าการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม,ตรวจสอบพฤติการณ์
ทางด้านการเมือง,ยาเสพติด,ความมั่นคงของประเทศ และหมายจับต่างประเทศ


3.มีอาชีพเป็นหลักฐาน(ต้องมีหนังสือรับรองการประกอบอาชีพจากกองแรงงานต่างด้าวหรือ
แรงงานจังหวัด และต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด)ดังนี้


3.1กรณีเข้ามาเพื่อทำงานต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 80,000บาท โดยมี
หนังสือรับรองรายได้จากบริษัทหรือนายจ้างที่ทำงานอยู่ หรือเสียภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดาในปีที่ยื่นคำขอแปลงสัญชาติตั้งแต่ 100,000บาทขึ้นไป
และมีหลักฐานการเสียภาษีมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี


3.2 กรณีอยู่ในราอาณาจักรไทยเพื่อเหตุผลทางด้านมนุษยธรรม เช่น สมรสกับบุคคล
ที่มีสัญชาติไทย หรือ มีบุตรเกิดในประเทศไทย หรือจบการศึกษาใน ระดับ
อุดมศึกษาภายในประเทศไทยจะต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า
เดือนละ 30,000บาท และมีหลักฐานการเสียภาษีมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี


4.มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักไทยต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย
ไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยนับจากได้รับใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
หรือมีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร์ที่ยืนยันได้ว่ามีภูมิลำเนาต่อเนื่องในราชอาณาจักรไทย
มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี


5.มีความรูภาษาไทยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง(พูดและฟังภาษาไทยได้เข้าใจ)
และจะต้องร้องเพลงชาติไทยและเพลงสรรเสริญพระบีมีได้ และจำต้องผ่าการสัมภาษณ์จาก


5.1 กรณีผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯให้ผ่านการสัมภาษณ์จากคณะทำงานพิจารณา
กลั่นกรองคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย


5.2 กรณีผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด ให้ผ่านการสัมภาษณ์จากคณะกรรมการ
ระดับมอบหมายเป็นประชาชนจังหวัด ซึ่งผู้ว่าราชการหรือรองผู้ว่าราชการ จังหวัดที่ได้รับ
หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเป็นเลขานุการ


6.ผู้ยื่นคำขอจะต้องผ่านเกณฑ์การให้คะแนนตามผนวก ข. รวมกันแล้วไม่ต่ำกว่า 50 คะแนน
จึงจะได้รับการพิจารณา



7.เมื่อผู้ยื่นคำขอได้รับอนุญาตให้แปลงสัญชาติเป็นไทยแล้ว กระทรวงมหาดไทยจะแจ้งกระทรวง
การต่างประเทศดำเนินการแจ้งไปยังประเทศของผู้ยื่นคำขอ เกี่ยวกับการได้สัญชาติไทยดังกล่าว




หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย




1.ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้ยื่นคำขอ(ถ่ายเอกสารทุกหน้าที่มีบันทึกรายการ 5 ชุด)


2.ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ของผู้ยื่น(ถ่ายเอกสาร 15 ชุด)


3.ใบอนุญาตทำงาน(ถ่ายเอกสาร 1 ชุด)


4.รูปถ่ายขนาด 2*2 นิ้ว (ชายใส่สูทผูกเนกไท หรือแต่งชุดพระราชทาน หญิงแต่งกายสุภาพชน)


5.สำเนาทะเบียนบ้านทั้งครอบครัวประกอบด้วยของผู้ยื่นฯของภรรยาหรือสามี และขอบุตร(ถ้ามี)
(ถ่ายเอกสาร 5 ชุด)(ผู้ยื่น,สามีหรือภรรยา และบุตร ถ้ามี)


6.สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ขอ ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศแปลแปลเป็นไทยให้สถาบัน
การแปลรับรองด้วย


7.หลักฐานการฝากเงินจากธนาคาร หรือหนังสือรับรองการฝากเงินจากธนาคาร
(ไม่ควรน้อยกว่า 80,000บาท )


8.หลักฐานการบริจาคการกุศล(ไม่น้อยกว่า 5,000บาท)


9.หลักฐานการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดาของผู้ขอฯย้อนหลัง 3 ปี
ให้สรรพากรรับรองสำเนาถูกต้อง


10.หลักฐานของบริษัท ห้าง ร้านที่ผู้ขอทำงานอยู่ เช่น ทะเบียนการค้า ทะเบียนพานิชย์
หนังสือรับรองการจดทะเบียน บัญชีผู้ถือหุ้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภพ.20)และอื่นๆ
(ถ่ายเอกสารอย่างละ 1 ชุด)


11.ภาษีนิติบุคคล(ภ.ง.ด.50) 3 ปีย้อนหลัง(กรณีผู้ขอฯมีหุ้นอยู่ในบริษัท)


12.หนังสือรับรองการทำงานระบุตำแหน่ง และอัตราเงินเดือน ออกโดยบริษัท ,ห้าง ,
ร้านที่ผู้ขอฯทำงานอยู่และลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท และประทับตราเป็นสำคัญ


13.สำเนาสูติบัตร หรือบัตรประจำตัวประชาชน หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของคู่สมรส
และของบุตรทุกคน หากมีการเปลี่ยนชื่อตัว-ชื่อสกุล ให้ถ่ายเอกสารมาประกอบด้วย


14.หลักฐานการศึกษาของผู้ยื่นคำขอฯและของบุตรทุกคน(ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศให้แปลเป็นไทยด้วย)


15.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านของผู้รับรอง(ผู้รับรอง 2 คน ถ่ายคนละ 1 ชุด)


16.พาสปอร์ตของผู้ยื่นคำขอฯ(ถ่ายเอกสาร 1 ชุด)


17.หนังสือรังรองการบรรลุนิติภาวะตามกฎหมายของประเทศเดิม ที่ผู้ยื่นคำขอมีสัญชาติ





วันที่มายื่นคำร้องต้องนำเอกสารตัวจริงมาแสดงด้วย โดยผู้ขอต้องมายื่นคำขอด้วยตนเอง
โดยนำผู้รับรองมาสอบปากคำด้วยจำนวน 2 ปาก และเตรียมเงินค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอ
มาชำระด้วยจำนวน 5,000 บาท(ห้าพันบาทถ้วน)โดยยื่นคำขอที่ งาน 1 ฝอ.6บก.อก.บช.ส.
(แปลงสัญชาติ)อาคาร24 ชั้นล่างหากมีปัญหาหรือขัดข้องกรุณาสอบถามได้ที่
สอบถามได้ที่ โทร.0-2252-1714,0-2205-2970 และ 0-2252-2708 โทรสาร.0-2205-1901











การขอสัญชาติไทยของชาวต่างชาติ




การขอแปลงสัญชาติเป็นไทย
  • คุณสมบัติของผู้แปลงสัญชาติเป็นไทย
  1. อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี ถ้าต่ำกว่านั้นต้องมีเหตุอื่นประกอบ เช่น มีภรรยาเป็นคนสัญชาติไทย มี บุตรเกิดในประเทศไทย หรือเป็นนักศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย หรือวิทยาลัยที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี (มหาวิทยาลัยเปิดต้องมีหน่วยกิตสะสม 15 หน่วยกิตขึ้นไป)
  2. ไม่เคยมีประวัติต้องโทษ เว้นประมาทหรือลหุโทษ แต่ไม่เกิน 2 ครั้ง
  3. ไม่ฝักใฝ่สัญชาติเดิม
  4. บำเพ็ญการกุศลและสาธารณประโยชน์
  5. ประกอบอาชีพเป็นหลักฐานและมีได้รายเดือนละ 5,000 บาท ขึ้นไป
  6. มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 10 ปี หรือมีภูมิลำเนาต่อเนื่อง 5 ปี ขึ้นไปแต่ต้องมีเหตุอื่นประกอบด้วยตาม ข้อ 1
  7. พูดและฟังภาษาไทยเข้าใจ
  • หลักฐานการประกอบการยื่นคำขอแปลงเป็นสัญชาติไทย
  1. สำเนาทะเบียนบ้านทั้งครอบครัว มีชื่อผู้ยืนคำขอฯ ภรรยา และบุตรทุกคน 1 ชุด
  2. รูปถ่ายผู้ยืนคำขอฯ ขนาด 2 นิ้วครึ่ง จำนวน 12 รูป ชายแต่งชุดสากล หรือชุดพระราชทานหญิงแต่งกายสุภาพ
  3. สำเนาใบเสร็จภาษีเงินได้ ภ.ง.ด.90 หรือ 91 หรือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตาม มาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (ย้อนหลัง 3 ปี)
  4. ใบเสร็จหรือใบอนุโมทนาบัตรที่เคยบริจาคเงินบำรุงการกุศลสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ
  5. ใบเสร็จค่าเล่าเรียนหรือหนังสือรับรองการเรียนของบุตร หรือสำเนาประกาศนียบัตร หรือปริญญาบัตร ของบุตรคนละ 1 ชุด
  6. สำเนาสูติบัตรของบุตร หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของบุตร ด้านหน้า- หลัง และสำเนาเอกสารการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ของบุตร (ถ้ามี) คนละ 1 ชุด
  7. สำเนาใบสำคัญการสมรส (ค.ร.3) 1 ชุด (กรณีมีภรรยาเป็นคนสัญชาติไทย ต้องจดทะเบียนสมรสก่อนยื่นคำขอ)
  8. สำเนาใบทะเบียนการค้า หรือใบทะเบียนพาณิชย์ หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนฯหรือบริษัทฯ จำนวน 1 ชุด
  9. สำเนาใบเสร็จภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือสำเนาใบเสร็จภาษีการค้าย้ อนหลัง 3 ปี (ถ้ามี)
  10. หนังสือรับรองเงินฝากธนาคาร หรือสำเนาสมุดฝากเงินธนาคารหน้าที่มีชื่อ และหน้าที่มียอด ฝากครั้ง สุดท้าย
  11. หนังสือรับรองการทำงาน และเงินเดือนที่ได้รับ (โดยทำหนังสือถึงสารวัตร แผนก 1 กองกำกับการ 3 กองตำรวจสันติบาล) พร้อมกับสำเนาใบทะเบียนการค้าฯ ทะเบียนพาณิชย์หนังสือรับรองการจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนฯ หรือบริษัทฯ (ผู้ลงชื่อรับรองต้องเป็นผู้มีอำนาจผูกพันกับสถานประกอบการนั้น )
  12. สำเนาใบอนุญาติทำงาน 1 ชุด หน้า 2-3-4-5 และหน้าอื่น ๆ ที่ลงรายการไว้ โดยใบอนุญาตทำงานลง ตำแหน่ง อาชีพหรือวิชาชีพลักษณะของงาน, ท้องที่ที่ได้รับอนุญาต ชื่อนายจ้างหรือสถานที่ททำงานจะต้องตรงกับอาชีพปัจจุบัน
  13. ผู้รับรองซึ่งมีสัญชาติไทย 2 คน เพื่อยืนยันหลักทรัพย์ และความประพฤติของผู้ยื่นคำขอฯ
  14. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของภรรยา ด้านหน้า – หลัง 1 ชุด
  15. สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวทุกหน้าที่มีรายการบันทึก 1 ชุด
  16. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับรอง ด้านหน้า- หลัง คนละ 1 ชุด
  17. วันยื่นคำขอฯ ต้องนำหลักฐานต้นฉบับไปพบเจ้าหน้าที่ด้วย
  • การยื่นคำขอฯ
  1. ผู้ยื่นคำขอฯ ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอฯ ต่อผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจ สันติบาล
  2. ผู้ยื่นคำขอฯ ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขอฯ ต่อหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด/ผู้กำกับตำรวจภูธรจังหวัดนั้น
ค่าธรรมเนียม
  • คำขอแปลงสัญชาติเป็นไทยครั้งละ 5,000 บาท
  • คำขอแปลงสัญชาติเป็นไทยสำหรับบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู ้แปลงสัญชาติเป็นไทยคนหนึ่งครั้งละ 2,500 บาท
  • หนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นไทยฉบับละ 500 บาท
  • ใบแทนหนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นไทยฉบับละ 500 บาท
  • คำขอกลับคืนสัญชาติไทยครั้งละ 1,000 บาท
  • คำขออื่น ๆ ฉบับละ 5 บาท













2 ความคิดเห็น:

  1. คนต่างด้าวขอแปลงหรือโอนสัญชาติเป็นไทย

    คนต่างด้าวยื่นคำร้องขอแปลงสัญชาติเป็นไทย โดยอาศัยอำนาจตามระเบียบไม่เกี่ยวกับคดีลักษณะ ๘๘ ออกตามความใน พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ และกระทรวงมหาดไทยวางระเบียบกวดขันเรื่องการขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ลงวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๑๒ ผู้ยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทยต้องมีคุณสมบัติอยู่ในเกณฑ์ ดังนี้

    ๑. ผู้ยื่นแปลงสัญชาติเป็นไทยต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยต่อเนื่องกันนาน ๑๐ ปี อายุ ๔๐ ปี ถ้าต่ำกว่านั้นต้องมีเหตุอื่นประกอบ เช่น มีภรรยาเป็นคนสัญชาติไทยและมีบุตรเกิดในประเทศไทย หรือเป็นนักศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย หรือ วิทยาลัยที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี

    ๒. ประกอบอาชีพเป็นหลักฐานมั่นคง ถ้าเป็นลูกจ้างหรือพนักงาน ต้องมีรายได้เดือนละ ๕,๐๐๐ บาท ขึ้นไป

    ๓. ไม่เคยมีประวัติต้องโทษ เว้นประมาทหรือลหุโทษ แต่ไม่เกิน ๒ ครั้ง

    ๔. พูดและฟังภาษาไทยเข้าใจ


    หลักฐานประกอบการยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย

    ๑. ถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านทั้งครอบครัว มีชื่อผู้ยื่นคำขอฯภรรยา และบุตรทุกคน รวม ๑ ชุด

    ๒. ถ่ายรูปผู้ยื่นคำขอฯ ขนาด ๒ นิ้วครึ่ง จำนวน ๑๒ รูป ชายแต่งชุดสากล หรือชุดพระราชทาน หญิงแต่งกายสุภาพ

    ๓. ถ่ายใบเสร็จภาษีเงินได้ ภ.ง.ด.๙๐ หรือ ๙๑ ประจำปี พ.ศ.๒๕๒๒-๒๕๓๓-๒๕๓๔ หรือนำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา ๙๐ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร มาประกอบ

    ๔. นำใบเสร็จหรือบัตรอนุโมทนาบัตรที่เคยบริจาคเงินบำรุงการกุศลสาธารณะประโยชน์ต่างๆรวบรวมมาให้มาก

    ๕. นำใบเสร็จค่าเล่าเรียน หรือ หนังสือรับรองการเรียนของบุตรซึ่งกำลังเรียนมาประกอบหากบุตรจบการศึกษาแล้วให้ถ่ายประกาศนียบัตร หรือปริญญาบัตรมาประกอบคนละ ๑ แผ่น

    ๖. ถ่ายสูจิบัตร (ใบเกิด) ของบุตรมาประกอบคนละ ๑ แผ่น หรือถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของบุตร ด้านหน้า - หลัง คนละ ๑ แผ่น หากเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ให้ถ่ายมาด้วย

    ๗. ถ่ายใบสำเนาการสมรส ( ด.ร.๓ ) ๑ แผ่น (มีภรรยาเป็นคนไทย ต้องจดทะเบียนสมรสก่อนยื่นคำขอฯ)

    ๘. ถ่ายใบทะเบียนการค้า ใบทะเบียนพาณิชย์ หนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนฯ หรือบริษัท ( ถ้ามีอย่างใดให้ถ่ายประกอบเรื่องอย่างละ ๑แผ่น )

    ๙. นำหนังสือรับรองเงินฝากธนาคาร ให้ธนาคารที่เปิดบัญชีฝากเงินไว้ออกหนังสือรับรอง หรือถ่ายสมุดฝากเงินธนาคาร หน้าที่มีชื่อและหน้าที่มียอดฝากครั้งสุดท้ายประกอบ

    ๑๐. ถ้าเป็นลูกจ้าง หรือพนักงาน ให้บริษัทฯห้างฯหรือสำนักงานออกหนังสือรับรองหน้าที่ และเงินเดือนที่ได้รับ โดยทำหนังสือถึงสารวัตร แผนก ๑ กองกำกับการ ๓ กองตำรวจสันติบาลพร้อมกับถ่ายใบทะเบียนการค้าฯทะเบียนพาณิชย์ หนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนฯ หรือบริษัทฯ (ผู้ลงชื่อรับรองต้องเป็นผู้มีอำนาจผูกพันกับสถานประกอบการนั้น)

    ๑๑. ถ่ายใบอนุญาตทำงาน ๑ ชุด หน้า ๒ - ๓ -๔ - ๕ และหน้าอื่นๆ ที่ลงรายการไว้ อนึ่ง ใบอนุญาตทำงานลงตำแหน่ง อาชีพหรือวิชาชีพ ลักษณะของงาน ท้องที่ที่ได้รับอนุญาต ชื่อนายจ้าง หรือสถานที่ทำงานจะต้องตรงกับอาชีพปัจจุบัน

    ๑๒. คำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ( ป.ช.๑ ) หน้าที่ ๔ ต้องมีผู้รับรอง ๒ คน มีสัญชาติไทยลงชื่อ รับรอง และผู้รับรองต้องมาให้เจ้าหน้าที่ทำการสอบสวน เพื่อยื่นยันหลักทรัพย์ และความ ประพฤติของผู้ขอแปลงสัญชาติ

    ๑๓. ถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของภรรยา ด้านหน้า - หลัง ๑ แผ่น

    ๑๔. ถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวทุกหน้าที่มีการบันทึก รวม ๒ ชุด ๑๕. ถ่ายบัตรประจำตัวผู้รับรองด้านหน้า และหลังคนละ ๑ แผ่น

    ๑๖. วันมายื่นคำร้องฯต้องนำใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ใบอนุญาตทำงาน และสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านมาด้วย






    ....

    ตอบลบ
  2. ...



    การพิสูจน์สัญชาติ บุตรของต่างด้าวที่เกิดในต่างประเทศมีสัญชาติเป็นชาวต่างชาติ บิดาหรือมารดาคนหนึ่งคนใดต้องมีสัญชาติไทยขั้นตอนของการขอพิสูจน์สัญชาติบุตรซึ่งเป็นคนต่างด้าวเป็นคนไทย ขอพิสูจน์สัญชาติที่กองตรวจคนเข้าเมือง ยื่นคำร้องที่ทำการอำเภอและจังหวัดที่บิดาหรือมารดาสัญชาติไทยมีภูมิลำเนาอยู่ในทะเบียนบ้านกระทรวงมหาดไทยอนุญาตแล้วและจะกลับมาอำเภอและจังหวัดที่ภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านของบิดาหรือมารดาที่เป็นคนไทยเพื่อเข้าชื่อบุตรต่างด้าวในทะเบียนบ้าน


    การได้มาซึ่งสัญชาติไทย

    ๑. การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

    ๒. การได้สัญชาติไทยภายหลังการเกิด

    ๓. การเปลี่ยนแปลงอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน

    ๔. การได้สัญชาติโดยคำสั่งของฝ่ายบริหาร


    คนต่างด้าวที่จะขอแปลงและโอนสัญชาติมาเป็นสัญชาติไทย ได้ตามข้อ ๒.คือการได้สัญชาติไทยภายหลังการเกิด ได้แก่ การได้สัญชาติโดยการสมรส คือการถือสัญชาติของหญิงชาวต่างชาติตามสามีที่เป็นคนไทย แต่การสมรสกับสามีที่เป็นคนไทยการสมรสไม่เป็นผลทำให้ผู้นั้นได้สัญชาติไทยตามสามีโดยทันที แต่ต้องอาศัยเจตนาของหญิงนั้นประกอบด้วย และเป็นดุลพินิจของฝ่ายปกครองที่จะออกคำสั่งทางปกครองที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้หญิงนั้นได้สัญชาติไทย จะเห็นได้ว่าการอนุญาตหรือไม่อนุญาตเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุด มีข้อสังเกตว่าการได้สัญชาติไทยโดยการสมรสนี้สงวนไว้เฉพาะกับหญิงต่างด้าวเท่านั้นหาได้ใช้กับชายต่างด้าวด้วยไม่ ชายต่างด้าวแม้จะสมรสกับหญิงไทยโดยชอบด้วยกฎหมายไทย ก็หามีผลทำให้ชายต่างด้าวนั้นได้รับสัญชาติไทยตามภริยาไปด้วยไม่ สำหรับการหย่า แม้หญิงที่สมรสกับสามีที่เป็นคนไทยและได้รับสัญชาติไทยแล้ว แม้ต่อมาคู่สมรสได้หย่าขาดจากกันฝ่ายหญิงก็ยังคงมีสัญชาติไทยต่อไป สัญชาติไทยของหญิงหาได้สิ้นสุดตามการสมรสไปไม่


    ตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ กฎหมายยอมรับวิธีการแปลงสัญชาติออกเป็น ๒ ประเภทคือ

    ๑. การแปลงสัญชาติโดยวิธีปกติ จะมีเงื่อนไขที่ค่อนข้างเคร่งครัดมาก

    ๒. การแปลงสัญชาติโดยวิธีพิเศษ นั้นจะสงวนไว้เฉพาะกับบุคคลที่มีคุณสมบัติเฉพาะเจาะจงตามที่กฎหมายระบุไว้เท่านั้นคือ ต้องเป็นบุคคลที่ได้ทำคุณงามความดีให้กับประเทศไทยหรือเป็นบุตรหรือภริยาของผู้ที่ได้ขอแปลงสัญชาติไทย หรือเคยเป็นคนไทยมาก่อนและต่อมาได้เสียสัญชาติไปไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ที่สำคัญที่สุดคือการได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติจะมีผลก็ต่อเมื่อคำสั่งทางปกครองที่ออกโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ตราบใดที่คำสั่งดังกล่าวยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาจะถือว่าคนต่างด้าวผู้นั้นมีสัญชาติไทยไม่ได้

    สำหรับบุคคลใดที่อายุยังน้อยหรือมีเอกสารได้มาหรือที่ออกให้โดยมิชอบด้วยกฎหมายควรที่จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายมีระบุไว้ต่อไปเสียให้ถูกต้องน่าจะเป็นการดีและสมควรอย่างยิ่ง






    .

    ตอบลบ