วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม และการจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม

การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม และการจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม

หลักเกณฑ์การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม








1. ผู้รับบุตรบุญธรรมจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม
อย่างน้อย 15 ปี
2. ถ้าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมจะต้องให้ความยิน
ยอมด้วยในการนี้ด้วย
3. กรณีที่จะรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม จะต้องได้รับความยินยอมจาก
- บิดาและมารดา (กรณีมีทั้งบิดาและมารดา)
- บิดา หรือมารดา กรณีบิดา หรือมารดา ตาย หรือถูกถอนอำนาจปกครอง
- กรณีไม่มีผู้มีอำนาจให้ความยินยอม หรือมีแต่ไม่ให้ความยินยอมโดยปราศจากเหตุผลอัน
สมควร มารดา หรือบิดา หรือผู้ประสงค์จะขอรับบุตรบุญธรรม หรืออัยการจะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่ง
อนุญาตแทนการให้ความยินยอมนั้นได้
- กรณีผู้เยาว์อยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์เด็กฯ ให้สถานสงเคราะห์เด็กฯ เป็นผู้ให้ความ
ยินยอมแทนบิดา หรือมารดา ก็ได้
- ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรส จะต้องได้รับความยินยอมจาก
คู่สมรส ด้วย
- ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกไม่ได้ เว้นแต่
จะเป็นคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น





 

วิธีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม






1. การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม กรณีที่ผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้ว- ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรม มายื่นคำร้องต่อนายทะเบียน
- นายทะเบียนตรวจสอบคุณสมบัติตามเงื่อนไขของกฎหมาย
- ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม ใน
การนี้ด้วย
- เมื่อเห็นว่าถูกต้อง เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมาย นายทะเบียนรับจดทะเบียนให้

2. การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์
- ผู้จะรับบุตรบุญธรรม ยื่นคำร้องตามแบบ ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
(กรมประชาสงเคราะห์) สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร หรือชาวต่างชาติที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย
ส่วนต่างจังหวัดยื่นแบบ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด พร้อมหนังสือ
ยินยอมจากบุคคลผู้มีอำนาจยินยอม
- อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี จะพิจารณาสั่งให้ผู้ที่จะรับ
เด็กเป็นบุตรบุญธรรม นำเด็กไปทดลองเลี้ยงดู ไม่น้อยกว่า 6 เดือน โดยมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลและตรวจ
เยี่ยม
- ถ้าผู้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา พี่ร่วมบิดาหรือมารดา ทวด ปู่ ย่า ตา
ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือผู้ปกครอง ของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ไม่ต้องทดลองเลี้ยงดู
- เมื่อคณะกรรมการทดลองเลี้ยงดู อนุมัติให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ที่จะขอรับเด็ก
เป็นบุตรบุญธรรม และผู้ที่เป็นบุตรบุญธรรม ต้องยื่นคำร้องขอจดทะเบียน ต่อนายทะเบียนภายใน 6
เดือน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำอนุมัติ มิฉะนั้นถือว่าสละสิทธิ์
- นายทะเบียนตรวจสอบคุณสมบัติตามเงื่อนไขของกฎหมาย
- ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม มีคู่สมรสอยู่ ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอมด้วย
- ถ้าเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องลงนามในช่องผู้ร้องขอจด
ทะเบียนด้วย
- นายทะเบียนจดทะเบียนให้ตามแบบ
**
กรณีเด็กที่เป็นบุตรบุญธรรม ไร้เดียงสา และบิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรม ได้ลงนามแสดง
ความยินยอมในขณะยื่นเรื่องราวตามแบบก่อนหน้านี้แล้ว บิดามารดา หรือผู้แทนฯ ไม่ต้องมาแสดงความ
ยินยอมและลงนามในคำร้องอีก






 

การเลิกรับบุตรบุญธรรม

        
ทำได้ 2 วิธี คือ

- จดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย
- โดยคำพิพากษาของศาล
การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอม มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. กรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้ว จะเลิกโดยความตกลงกันระหว่างผู้รับบุตรบุญ
ธรรม เมื่อใดก็ได้
2. กรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะต้อง
- ได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดาของบุตรบุญธรรม ก่อน
- ได้รับความยินยอมจากบิดา หรือมารดา เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย
- ในกรณีที่บุตรบุญธรรม มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วย
- ศาลมีคำสั่งให้เลิกรับบุตรบุญธรรม



ที่มา : คู่มือปฏิบัติงาน กรมการปกครอง
 
 
 
 
พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
 
 
.

3 ความคิดเห็น:

  1. การจดทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม



    บุตรบุญธรรม คือ บุตรที่ขอมาเลี้ยงดูเสมือนเป็นบุตรของตน

    หลักเกณฑ์
    ๑.ผู้รับจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๕ ปี และจะต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะต้องเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย ๑๕ ปี
    ๒.ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะจะต้องได้รับความยินยอมจาก
    – บิดาและมารดา หรือ
    – บิดาหรือมารดา (กรณีมารดาหรือบิดาถึงแก่กรรม) หรือถูกถอนอำนาจปกครอง หรือ
    – ผู้แทนโดยชอบธรรมกรณีไม่มีบิดามารดา
    ๓.ผู้ที่เป็นบุตรบุญธรรมมีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป ต้องลงนามให้ความยินยอมในการเป็นบุตรบุญธรรมของตนด้วย
    ๔.ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมและผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน เว้นแต่
    – คู่สมรสไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้ เช่น วิกลจริต หรือ
    – ไปเสียจากภูมิลำเนาถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครได้ข่าวคราวเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี
    ๕.การรับเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นบุตรบุญธรรมตาม พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ ผู้รับบุตรบุญธรรม ต้องยื่นคำขอพร้อมด้วยหนังสือแแสดงความยินยอมของผู้มีอำนาจให้ความยินยอมที่กล่าวไว้ในข้อ ๒ และ ๔ ข้างต้น ณ ที่
    ๑) ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมกรมประชาสงเคราะห์ กรณีที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือ
    ๒) ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือประชาสงเคราะห์จังหวัด กรณีที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่น
    อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ หรือผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วแต่กรณี จะให้ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม รับเด็กไปทดลองเลี้ยงดูด้วยตนเองเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๖ เดือน ก่อนอนุมัติให้ไปจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ยกเว้นกรณีผู้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือเป็นพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดา ทวด ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือผู้ปกครองตามกฎหมายของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ไม่ต้องมีการทดลองเลี้ยงดูเด็กดังกล่าว
    ๖.ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอยู่แล้ว จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นในขณะอีกไม่ได้ เว้นแต่เป็นบุตรบุญธรรม ของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม
    ๗.พระภิกษุ จะจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมไม่ได้
    หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
    – บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับบุตรบุญธรรม (และคู่สมรส ถ้ามี)
    – บัตรประจำตัวประชาชนของผู้เป็นบุตรบุญธรรม ถ้ายังไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ให้แสดงสูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านแทน กรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส ต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนของคู่สมรสไปแสดงด้วย
    – บัตรประจำตัวประชาชนของบิดา และมารดา บิดาหรือมารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม กรณีไม่มีบิดาและมารดา
    – หนังสืออนุมัติให้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจากกรมประชาสงเคราะห์ หรือองค์การสวัสดิภาพเด็กที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด
    ค่าธรรมเนียม
    – การจดทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ
    สถานที่ติดต่อ
    – กรมประชาสงเคราะห์ หรือองค์การสวัสดิภาพเด็กที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อได้รับหนังสืออนุญาตจากหน่วยงานดังกล่าวแล้วให้นำไปติดต่องานปกครองสำนักงานเขตที่ผู้รับบุตรบุญธรรมมีภูมิลำเนาอยู่
    ขั้นตอนในการติดต่อขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
    – ผู้รับบุตรบุญธรรมยื่นคำร้องพร้อมด้วยหลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
    – ผู้รับบุตรบุญธรรม บุตรบุญธรรมที่มีอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป บิดาและมารดา บิดาหรือมารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรม คู่สมรส (ถ้ามี) ไปแสดงตนต่อหน้านายทะเบียนเพื่อลงนามในเอกสารการจดทะเบียนการแสดงความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรม หรือของคู่สมรสนั้นให้แสดงตามแบบ คร.๑๓ ด้านหลัง และให้นายทะเบียนบันทึกไว้ในหน้าบันทึกของทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมแสดงถึงความยินยอมนั้นด้วย
    – นายทะเบียน ตรวจสอบเอกสารหลักฐานและหลักเกณฑ์ต่างๆ เมื่อเห็นว่าถูกต้องครบถ้วนก็จะจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมให้ตามคำร้อง
    ข้อควรทราบ
    – การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ไม่มีใบสำคัญออกให้ ถ้าต้องการหลักฐานให้ยื่นคำร้องขอคัดสำเนาทะเบียนฯ โดยเสียค่าธรรมเนียมฉบับละ ๑๐ บาท
    – ผู้รับบุตรบุญธรรม มีอำนาจปกครองให้ความอุปการะเลี้ยงดูเสมือนเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย
    – บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
    – ผู้เป็นบุตรบุญธรรม มีสิทธิใช้ชื่อสกุลและรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้เป็นบุตรบุญธรรม
    – เมื่อการรับบุตรบุญธรรมเลิกแล้ว บุตรบุญธรรมย่อมกลับคืนไปอยู่ในความปกครองดูแลของบิดามารดาเดิม





    .

    ตอบลบ
  2. การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม






    ในสมัยก่อน เรื่องของการที่จะรับเอาเด็กมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมสักคนไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอะไรเลย ขั้นตอนง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อน จึงเป็นช่องทางให้คนร้ายสวมรอยเข้ามาหาประโยชน์จากตัวเด็ก เช่น การล่อลวงซื้อตัวเด็กเพื่อส่งไปขายให้ชาวต่างชาติที่ไม่มีลูก ฯลฯ แต่ปัจจุบันมีการแก้ไขปัญหาโดยการออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิของเด็กหลายฉบับ วางหลักเกณฑ์และเพิ่มขั้นตอนตรวจสอบการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมให้รัดกุมมากขึ้น



    หลักเกณฑ์ของผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมและผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม

    1. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี

    2. ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วย

    3. กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ จะต้องได้รับความยินยอมจาก
    พ่อและแม่กรณีที่มีทั้งพ่อและแม่
    พ่อหรือแม่ กรณีที่แม่หรือพ่อตายหรือถูกถอนอำนาจการปกครอง
    ถ้าไม่มีผู้มีอำนาจผู้ให้ความยินยอม หรือกรณีพ่อหรือแม่ไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุผลสมควร ให้อีกฝ่ายหนึ่งหรือผู้ที่จะขอรับบุตรบุญธรรม หรืออัยการจะร้องขอต่อศาล ให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแทนการให้ความยินยอมก็ได้
    ถ้าผู้เยาว์ถูกทอดทิ้งและอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์ หรือสถาบันซึ่งทางราชการหรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นรับรองในการจัดตั้งขึ้น หรืออยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบุคคลใดมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต้องได้รับความยินยอมของผู้รับผิดชอบในกิจการสถานสงเคราะห์หรือของบุคคลดังกล่าว

    4. ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน แต่ในกรณีที่คู่สมรสไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้ หรือไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และหาตัวไม่พบเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมของคู่สมรสนั้น

    5. ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้



    ขั้นตอนในการติดต่อขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

    กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะ
    ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรม ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักทะเบียนเขต แห่งใดก็ได้
    ผู้รับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม


    กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์

    คณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม จะต้องทำการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ความสามารถที่จะเลี้ยงดูเด็ก ดูสภาพความเป็นอยู่ ฯลฯ จากนั้นจึงจะออก "หนังสืออนุมัติจากคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม"

    ผู้ที่รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร(รวมทั้งชาวต่างประเทศ) ให้ยื่นคำขอ ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (กรมประชาสงเคราะห์) และสำหรับผู้มีภูมิลำเนาในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด พร้อมหนังสือยินยอมจากบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม

    ชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาถาวรอยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นคำขอผ่านหน่วยงานประชาสงเคราะห์หรือ องค์การสังคมสงเคราะห์ที่รัฐบาลของประเทศนั้นมอบหมายให้ดำเนินการ ในเรื่องบุตรบุญธรรม

    เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว ให้ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนดังกล่าว

    ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม

    เด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องลงนามในช่องผู้ร้องขอจดทะเบียน ด้วย



    ประโยชน์ที่เกิดจากการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

    ผู้เป็นบุตรบุญธรรมมีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุล และมีสิทธิ์รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิ์รับมรดกของบุตรบุญธรรม

    ผู้รับบุตรบุญธรรม มีอำนาจปกครองให้ความอุปการะเลี้ยงดูบุตรบุญธรรม และ ถือว่าบุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรมเสมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย นับแต่วันจดทะเบียน
    พ่อแม่โดยกำเนิด หมดอำนาจปกครองนับแต่วันจดทะเบียน แต่ไม่ขาดจากการเป็นพ่อแม่และบุตรบุญธรรมไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่กำเนิดมา






    .

    ตอบลบ
  3. รบกวนสอบถามคะ ถ้าบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้วที่เกิดขึ้นกับมารดาที่แท้จริง แต่ไม่ใช่บิดาที่แท้จริง แต่รับจดเป็นบุตรบุญธรรม และปัจจุบันไม่ได้มาดูแลเลี้ยงดูบิดาที่รับเป็นบุตรบุญธรรม ต้องการยกเลิกเป็นบุตรบุญธรรมต้องทำอย่างไรบ้างคะ

    ตอบลบ