พ่อแม่หลายคนต้องรับมือกับลูกที่มีอารมณ์ก้าวร้าว ปัญหาที่หนักสุดคือทำยังไงถึงจะปราบเจ้าตัวน้อยให้อยู่หมัดได้จะใช้ไม้เรียวก็ใช่ที่..เพราะนั่นคือลูกที่รัก... หลายคนหมดหนทางจนต้องปล่อยให้เลยตามเลยไป...สำหรับคนที่ต้องเจอปัญหาแบบนี้ลองมาอ่านบทความนี้ดูเผื่อจะช่วยได้บ้าง...
ลูกก้าวร้าว รับมืออย่างไร
พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก ปัจจุบันเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยซึ่งบางครั้งไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าเป็นปัญหาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และมุมมองที่แตกต่างกัน ในบางครั้งพฤติกรรมก้าวร้าวก็มีประโยชน์เพื่อช่วยปกป้องเด็กจากสถานการณ์ที่คุกคามหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวเด็กได้
พฤติกรรมก้าวร้าวเป็นได้ทั้งที่กระทำโดยการใช้กำลังทำลายข้าวของ ทำร้ายผู้อื่น หรือการกระทำโดยวาจา ด่าว่าหยาบคาย เสียดสี กระทบกระเทียบ ทำร้ายจิตใจความรู้สึกของผู้อื่น ซึ่งทั้งหมดนี้ ส่งผลต่อความรู้สึก ความสัมพันธ์กับผู้อื่นทั้งสิ้น
โดยทั่วไปพฤติกรรมก้าวร้าวจะถือว่าเป็นปัญหาก็ต่อเมื่อเกิดขึ้นบ่อย และมีความรุนแรง กระทบต่อการดำเนินชีวิตของเด็ก ต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในครอบครัว เพื่อนหรือครู ซึ่งปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวนี้ หากไม่ได้รับการดูแลแก้ไขที่เหมาะสม ก็จะกลายเป็นอุปนิสัยติดตัวจนถึงวัยผู้ใหญ่ กลายเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต ทั้งชีวิตการทำงานและชีวิตครอบครัว ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร นอกจากนี้ถ้าหากจะต้องเป็นพ่อแม่คนและใช้พฤติกรรมก้าวร้าวในการแก้ปัญหาก็จะกลายเป็นแบบอย่างให้เด็กรุ่นลูกดำเนินตาม สร้างปัญหาให้กับคนในรุ่นต่อๆ ไปไม่จบสิ้น
สาเหตุของปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก ขึ้นกับปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ ปัจจัยทางชีวภาพ จิตใจ และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ โครงสร้างทางสมองและระดับของสารเคมีที่ทำหน้าที่นำสัญญาณประสาทในสมอง ซึ่งจะมีผลต่อพื้นอารมณ์ของเด็กแต่ละคนทำให้เป็นคนใจร้อนหรือใจเย็น ส่วนปัจจัยทางด้านจิตใจ ได้แก่ ลักษณะบุคลิกภาพของเด็กที่เกิดจากการเลี้ยงดู ทำให้เกิดมีความมั่นคงทางด้านอารมณ์สูงหรือต่ำ มีความอดทนรอคอยได้มากหรือน้อย หรือเด็กที่ถูกเลี้ยงดูโดยการตามใจเอาแต่ใจตัวเองมักมีปัญหาในด้านนี้
ส่วนปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ตัวอย่างพฤติกรรมก้าวร้าวในครอบครัว ตัวอย่างพฤติกรรมก้าวร้าวผ่านทางสื่อ อาทิเช่น ทีวี วิดีโอเกมส์ หรือภาพยนตร์ นอกจากนี้พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กบางรายยังอาจเกิดจากปัญหาทางด้านจิตใจ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากจิตแพทย์ อาทิเช่น เด็กที่มีภาวะวิตกกังวล ซึมเศร้า ก็จะมีอารมณ์หงุดหงิด ก้าวร้าวได้ง่าย เด็กสมาธิสั้นจะมีปัญหาการควบคุมอารมณ์ จะมีพฤติกรรมก้าวร้าวได้ง่ายกว่าเด็กทั่วไป เป็นต้น
การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวแบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือ การป้องกันก่อนเกิดปัญหา และการรับมือขณะเกิดพฤติกรรมก้าวร้าว การป้องกันก่อนเกิดปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกคือ พ่อแม่ต้องทำให้เด็กดูเป็นตัวอย่าง ในการควบคุมอารมณ์ของตัวเอง ไม่ใช้ความรุนแรงและใช้วิธีแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ การพูดจาที่ดี ท่าทีที่ดี เพราะถ้าหากพ่อแม่ทำไม่ได้ ก็เป็นไปได้ยากที่จะสอนลูกได้สำเร็จ
นอกจากพ่อแม่จะทำได้แล้ว ก็ยังต้องทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงฝึกให้เด็กรู้ว่าคนเรามีความรู้สึกไม่พอใจได้ แต่ต้องแสดงออกให้เหมาะสม สอนให้เด็กรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้จักสิทธิ์ของตนเองและเคารพสิทธิ์ผู้อื่น มีทักษะในการควบคุมอารมณ์ตนเอง การสื่อสารด้วยคำพูดถึงอารมณ์ ความรู้สึกไม่พอใจของตนเองออกมา การชะลออารมณ์โกรธ เช่น นับ 1 ถึง 10 การฝึกผ่อนลมหายใจ การให้อภัยไม่ถือโกรธ เป็นต้น
รวมทั้งการชมเด็กเมื่อเด็กสามารถควบคุมตนเองและแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม นอกจากนี้ พ่อแม่ควรจะต้องดูแลสื่อที่เด็กได้รับ อาทิเช่น ทีวี ภาพยนตร์ เกมส์ ควรหลีกเลี่ยงประเภทที่มีเนื้อหาเป็นความก้าวร้าวรุนแรง สำหรับการป้องกันปัญหาที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง ก็คือ การทำให้บรรยากาศในบ้านอบอุ่น มีความใกล้ชิดกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว เด็กจะมีความอบอุ่นใจ มีความมั่นคงทางจิตใจ การควบคุมอารมณ์ก็จะทำได้ดีขึ้นด้วย
สำหรับการช่วยเหลือขณะเด็กเกิดปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน ได้แก่
1. สื่อให้เด็กรู้ว่า ผู้ใหญ่ยอมรับอารมณ์ความรู้สึกของเค้าแต่ไม่ยอมรับพฤติกรรมก้าวร้าว และแนะให้เด็กแสดงออกทางอื่นที่เหมาะสมกว่า เช่น แม่พูดว่า “แม่รู้ว่าหนูโกรธ แต่หนูจะใช้วิธีทำลายข้าวของแบบนี้ไม่ได้ ถ้าหนูโมโหมาก ต้องไประบายอารมณ์ทางอื่นแทน หนูจะขว้างปาหมอน หรือทุบตีตุ๊กตาก็ได้”
2. ถ้าเห็นว่าการกระทำของเด็กรุนแรง มีการทำลายข้าวของ เสียหายหรืออาจเกิดอันตราย ผู้ใหญ่อาจจำเป็นต้องเข้าจัดการทันที โดยการจับเด็กไว้ หรือกอดไว้เพื่อระงับเหตุ
3. ผู้ใหญ่ต้องรับฟังเด็ก ให้โอกาสเด็กอธิบายเล่าเหตุการณ์โดยไม่ด่วนสรุปว่าเขาผิด บางครั้งเด็กต้องการเพียงการรับฟังจากผู้ใหญ่บ้าง
4. เมื่อเด็กสงบ ควรชี้แจงเหตุผลให้เด็กเข้าใจถึงสาเหตุที่ไม่ควรทำ ด้วยคำอธิบายที่กะทัดรัดชัดเจน
5. หลีกเลี่ยงคำพูด คำตำหนิ ที่ทำให้เกิดปมด้อย ถ้อยคำเช่น ว่าเด็กนิสัยไม่ดี เด็กดื้อ เด็กเกเร เด็กก้าวร้าว อันธพาล ถ้าจะตำหนิก็ตำหนิที่การกระทำ เช่น “แม่ไม่ชอบที่หนูเอาไม้ไปขว้างคุณปู่แบบนี้”
6. ให้เด็กรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเองกระทำลงไป เช่น เก็บกวาดข้าวของที่เสียหายจากการอาละวาด ขอโทษผู้ใหญ่ งดค่าขนม งดดูทีวีหรือเล่นเกมส์ เป็นต้น
การแก้ไขปรับพฤติกรรมเด็กเป็นงานยาก ต้องใช้ความอดทนพยายามและความสม่ำเสมอ แต่ถ้าทำได้สำเร็จก็ถือว่าคุ้มค่าเหนื่อย เพราะเราจะได้คนที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดี ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อสังคมไทยที่ต้องการความสงบและความสมานฉันท์เช่นในยุคสมัยนี้
ลูกก้าวร้าว รับมืออย่างไร
พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก ปัจจุบันเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยซึ่งบางครั้งไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าเป็นปัญหาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และมุมมองที่แตกต่างกัน ในบางครั้งพฤติกรรมก้าวร้าวก็มีประโยชน์เพื่อช่วยปกป้องเด็กจากสถานการณ์ที่คุกคามหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวเด็กได้
พฤติกรรมก้าวร้าวเป็นได้ทั้งที่กระทำโดยการใช้กำลังทำลายข้าวของ ทำร้ายผู้อื่น หรือการกระทำโดยวาจา ด่าว่าหยาบคาย เสียดสี กระทบกระเทียบ ทำร้ายจิตใจความรู้สึกของผู้อื่น ซึ่งทั้งหมดนี้ ส่งผลต่อความรู้สึก ความสัมพันธ์กับผู้อื่นทั้งสิ้น
โดยทั่วไปพฤติกรรมก้าวร้าวจะถือว่าเป็นปัญหาก็ต่อเมื่อเกิดขึ้นบ่อย และมีความรุนแรง กระทบต่อการดำเนินชีวิตของเด็ก ต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในครอบครัว เพื่อนหรือครู ซึ่งปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวนี้ หากไม่ได้รับการดูแลแก้ไขที่เหมาะสม ก็จะกลายเป็นอุปนิสัยติดตัวจนถึงวัยผู้ใหญ่ กลายเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต ทั้งชีวิตการทำงานและชีวิตครอบครัว ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร นอกจากนี้ถ้าหากจะต้องเป็นพ่อแม่คนและใช้พฤติกรรมก้าวร้าวในการแก้ปัญหาก็จะกลายเป็นแบบอย่างให้เด็กรุ่นลูกดำเนินตาม สร้างปัญหาให้กับคนในรุ่นต่อๆ ไปไม่จบสิ้น
สาเหตุของปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก ขึ้นกับปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ ปัจจัยทางชีวภาพ จิตใจ และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ โครงสร้างทางสมองและระดับของสารเคมีที่ทำหน้าที่นำสัญญาณประสาทในสมอง ซึ่งจะมีผลต่อพื้นอารมณ์ของเด็กแต่ละคนทำให้เป็นคนใจร้อนหรือใจเย็น ส่วนปัจจัยทางด้านจิตใจ ได้แก่ ลักษณะบุคลิกภาพของเด็กที่เกิดจากการเลี้ยงดู ทำให้เกิดมีความมั่นคงทางด้านอารมณ์สูงหรือต่ำ มีความอดทนรอคอยได้มากหรือน้อย หรือเด็กที่ถูกเลี้ยงดูโดยการตามใจเอาแต่ใจตัวเองมักมีปัญหาในด้านนี้
ส่วนปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ตัวอย่างพฤติกรรมก้าวร้าวในครอบครัว ตัวอย่างพฤติกรรมก้าวร้าวผ่านทางสื่อ อาทิเช่น ทีวี วิดีโอเกมส์ หรือภาพยนตร์ นอกจากนี้พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กบางรายยังอาจเกิดจากปัญหาทางด้านจิตใจ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากจิตแพทย์ อาทิเช่น เด็กที่มีภาวะวิตกกังวล ซึมเศร้า ก็จะมีอารมณ์หงุดหงิด ก้าวร้าวได้ง่าย เด็กสมาธิสั้นจะมีปัญหาการควบคุมอารมณ์ จะมีพฤติกรรมก้าวร้าวได้ง่ายกว่าเด็กทั่วไป เป็นต้น
การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวแบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือ การป้องกันก่อนเกิดปัญหา และการรับมือขณะเกิดพฤติกรรมก้าวร้าว การป้องกันก่อนเกิดปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกคือ พ่อแม่ต้องทำให้เด็กดูเป็นตัวอย่าง ในการควบคุมอารมณ์ของตัวเอง ไม่ใช้ความรุนแรงและใช้วิธีแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ การพูดจาที่ดี ท่าทีที่ดี เพราะถ้าหากพ่อแม่ทำไม่ได้ ก็เป็นไปได้ยากที่จะสอนลูกได้สำเร็จ
นอกจากพ่อแม่จะทำได้แล้ว ก็ยังต้องทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงฝึกให้เด็กรู้ว่าคนเรามีความรู้สึกไม่พอใจได้ แต่ต้องแสดงออกให้เหมาะสม สอนให้เด็กรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้จักสิทธิ์ของตนเองและเคารพสิทธิ์ผู้อื่น มีทักษะในการควบคุมอารมณ์ตนเอง การสื่อสารด้วยคำพูดถึงอารมณ์ ความรู้สึกไม่พอใจของตนเองออกมา การชะลออารมณ์โกรธ เช่น นับ 1 ถึง 10 การฝึกผ่อนลมหายใจ การให้อภัยไม่ถือโกรธ เป็นต้น
รวมทั้งการชมเด็กเมื่อเด็กสามารถควบคุมตนเองและแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม นอกจากนี้ พ่อแม่ควรจะต้องดูแลสื่อที่เด็กได้รับ อาทิเช่น ทีวี ภาพยนตร์ เกมส์ ควรหลีกเลี่ยงประเภทที่มีเนื้อหาเป็นความก้าวร้าวรุนแรง สำหรับการป้องกันปัญหาที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง ก็คือ การทำให้บรรยากาศในบ้านอบอุ่น มีความใกล้ชิดกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว เด็กจะมีความอบอุ่นใจ มีความมั่นคงทางจิตใจ การควบคุมอารมณ์ก็จะทำได้ดีขึ้นด้วย
สำหรับการช่วยเหลือขณะเด็กเกิดปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน ได้แก่
1. สื่อให้เด็กรู้ว่า ผู้ใหญ่ยอมรับอารมณ์ความรู้สึกของเค้าแต่ไม่ยอมรับพฤติกรรมก้าวร้าว และแนะให้เด็กแสดงออกทางอื่นที่เหมาะสมกว่า เช่น แม่พูดว่า “แม่รู้ว่าหนูโกรธ แต่หนูจะใช้วิธีทำลายข้าวของแบบนี้ไม่ได้ ถ้าหนูโมโหมาก ต้องไประบายอารมณ์ทางอื่นแทน หนูจะขว้างปาหมอน หรือทุบตีตุ๊กตาก็ได้”
2. ถ้าเห็นว่าการกระทำของเด็กรุนแรง มีการทำลายข้าวของ เสียหายหรืออาจเกิดอันตราย ผู้ใหญ่อาจจำเป็นต้องเข้าจัดการทันที โดยการจับเด็กไว้ หรือกอดไว้เพื่อระงับเหตุ
3. ผู้ใหญ่ต้องรับฟังเด็ก ให้โอกาสเด็กอธิบายเล่าเหตุการณ์โดยไม่ด่วนสรุปว่าเขาผิด บางครั้งเด็กต้องการเพียงการรับฟังจากผู้ใหญ่บ้าง
4. เมื่อเด็กสงบ ควรชี้แจงเหตุผลให้เด็กเข้าใจถึงสาเหตุที่ไม่ควรทำ ด้วยคำอธิบายที่กะทัดรัดชัดเจน
5. หลีกเลี่ยงคำพูด คำตำหนิ ที่ทำให้เกิดปมด้อย ถ้อยคำเช่น ว่าเด็กนิสัยไม่ดี เด็กดื้อ เด็กเกเร เด็กก้าวร้าว อันธพาล ถ้าจะตำหนิก็ตำหนิที่การกระทำ เช่น “แม่ไม่ชอบที่หนูเอาไม้ไปขว้างคุณปู่แบบนี้”
6. ให้เด็กรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเองกระทำลงไป เช่น เก็บกวาดข้าวของที่เสียหายจากการอาละวาด ขอโทษผู้ใหญ่ งดค่าขนม งดดูทีวีหรือเล่นเกมส์ เป็นต้น
การแก้ไขปรับพฤติกรรมเด็กเป็นงานยาก ต้องใช้ความอดทนพยายามและความสม่ำเสมอ แต่ถ้าทำได้สำเร็จก็ถือว่าคุ้มค่าเหนื่อย เพราะเราจะได้คนที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดี ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อสังคมไทยที่ต้องการความสงบและความสมานฉันท์เช่นในยุคสมัยนี้
ที่มา : โดย นายแพทย์ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย จิตแพทย์โรงพยาบาลมนารมย์ (มติชน)
.
ปัญหาเด็กก้าวร้าว
ตอบลบคุณกำลังกลุ้มใจที่ลูกของคุณเป็นเด็กก้าวร้าวหรือเปล่าคะ
เมื่อใดก็ตามที่ลูกของคุณมีการกระทำที่ก้าวร้าว นั่นหมายถึงว่าเขารู้สึกไม่มีความสุข ซึ่งคุณอาจจะช่วยเหลือเขาได้ดังนี้ คือ
ข้อแรก ทุกครั้งที่ลูกแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวขอให้คุณมองลูกด้วยสายตา ที่เข้าใจความรู้สึกว่าเขาไม่มีความสุข ไม่ควรมองด้วยสายตาที่ดุดัน หรือ แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวตอบโต้ในขณะนั้น
ข้อสอง คุณควรแสดงความรัก ความเข้าใจ โดยการพูดและแสดงออกอย่างตรงไปตรงมา เช่น กอดรัดสัมผัสลูกอย่างอ่อนโยน หรือ พูดกับลูกว่า “แม่รักลูกนะ” อย่าไปคิดว่าการแสดงความรักอย่างเปิดเผยจะทำให้ลูกเหลิง เพราะการที่ลูกรู้สึกว่าเป็นที่รักของพ่อแม่ จะทำให้เขามีอารมณ์มั่นคง เกิดความมั่นใจและมีความภาคภูมิใจในตัวเอง รวมทั้งจิตใจที่อ่อนโยนลดความกระด้าง หรือ ดุดันลงไป
ข้อสาม คุณควรหลีกเลี่ยงการเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน เคร่งครัดในเรื่องกฎระเบียบมากจนเกินไป หรือ ใช้กำลังเฆี่ยนตีลูก เพราะจะทำให้รู้สึกกดดัน อยากต่อต้านและเลียนแบบการใช้กำลังจากคุณ
ข้อสี่ ในกรณีที่ลูกมีความก้าวร้าวสูง ๆ ให้หาทางระบายออกด้วยวิธีการอื่น ๆ เช่นแม่อาจชวนลูกสาวไปวิ่งหรืออกกำลังกาย หรือ พ่ออาจชวนลูกชายไปเตะฟุตบอล ชกกระสอบทราย เป็นต้น
ประการสุดท้าย พ่อแม่ต้องรักใคร่ปรองดองกันไม่ทะเลาะวิวาท ใช้กำลังทำร้ายร่างกายกันให้ลูกเห็นเป็นประจำ เพราะลูก ๆ จะจดจำ และซึมซับเข้าไว้ในใจ ทำให้กลายเป็นคนก้าวร้าวในที่สุด
ความรักความอบอุ่นในครอบครัว จะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกของคุณเป็นเด็กก้าวร้าวได้ดีค่ะ
.