วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แชงเก้นวีซ่า(Schengen Visa)

                แชงเก้นวีซ่า (Schengen Visa)




Schengen Visa นั้นใช้ได้กับประเทศแถบยุโรปที่เป็นสมาชิก Schengen Visa เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยว ที่เดินทางไปเที่ยวยุโรป หลายประเทศต่อเนื่องกันในทริปเดียว โดยสามารถยื่นคำร้องขอวีซ่า แบบเดินทางเข้า - ออกครั้งเดียว หรือเดินทางเข้า - ออกหลายครั้งก็ได้ แต่ทั้งนี้รวมเวลาที่พำนักทั้งหมดแล้ว ต้องไม่เกิน 90 วัน ภายในระยะเวลา 6 เดือน โดยเริ่มนับตั้งแต่วันแรกที่เดินทางเข้าประเทศในกลุ่มสัญญาเชงเก็น
การทำ Schengen Visa จะทำให้นักท่องเที่ยวไม่ต้องเสียเวลายื่นวีซ่าขอเข้าประเทศ กับทุกๆ ประเทศที่จะเดินทางเข้าไปเที่ยว มีเพียง Schengen Visa ก็สามารถเข้าได้ทุกประเทศที่เป็นสมาชิก Schengen สำหรับ Schengen Visa นั้น ให้ยื่นคำร้องขอวีซ่าต่อสถานทูตของประเทศที่ จะเดินทางเข้าไปเป็นประเทศแรกที่ผู้เดินทาง เดินทางไปถึงยุโรป (ตัวอย่างเช่น เดินทางไป อิตาลี - สวิส - ฝรั่งเศส ประเทศที่จะออก Schengen Visa ให้คือ ประเทศ อิตาลี)

» ประเทศยุโรป ที่สามารถใช้ Schengen Visa
ออสเตรีย
เบลเยี่ยม
เดนมาร์ก
ฟินแลนด์
ฝรั่งเศส
เยอรมัน
กรีซ
ไอซ์แลนด์
อิตาลี
ลักเซมเบิร์ก
เนเธอร์แลนด์
นอร์เวย์
โปรตุเกส
สเปน
สวีเดน
มอลต้า
ลิธูเนีย
ลัตเวีย
สโลวีเนีย
สโลวาเกีย
โปแลนด์
สวิตเซอร์แลนด์



เพิ่มเติม : Schengen Visa ใช้ได้กับประเทศแถบยุโรปที่เป็นสมาชิก Schengen Visa เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยว ที่เดินทางไปเที่ยวยุโรป หลายประเทศต่อเนื่องกันในทริปเดียว โดยสามารถยื่นคำร้องขอวีซ่า แบบเดินทางเข้า - ออกครั้งเดียว หรือเดินทางเข้า - ออกหลายครั้งก็ได้ แต่ทั้งนี้รวมเวลาที่พำนักทั้งหมดแล้ว ต้องไม่เกิน 90 วัน ภายในระยะเวลา 6 เดือน โดยเริ่มนับตั้งแต่วันแรกที่เดินทางเข้าประเทศในกลุ่มสัญญาเชงเก็น

การทำ Schengen Visa จะทำให้นักท่องเที่ยวไม่ต้องเสียเวลายื่นวีซ่าขอเข้าประเทศ กับทุกๆ ประเทศที่จะเดินทางเข้าไปเที่ยว มีเพียง Schengen Visa ก็สามารถเข้าได้ทุกประเทศที่เป็นสมาชิก Schengen สำหรับ Schengen Visa นั้น ให้ยื่นคำร้องขอวีซ่าต่อสถานทูตของประเทศที่ จะเดินทางเข้าไปเป็นประเทศแรกที่ผู้เดินทาง เดินทางไปถึงยุโรป (ตัวอย่างเช่น เดินทางไป อิตาลี - สวิส - ฝรั่งเศส ประเทศที่จะออก Schengen Visa ให้คือ ประเทศ อิตาลี)



เขตเชงเกน (Schengen Area)
Print E-mail



Written by คณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรป

เชื่อว่าหลายๆคนคงเคยได้ยินคำว่า วีซ่าเชงเกน และทราบว่าถ้าถือวีซ่านี้ สามารถไปได้หลายประเทศในทวีปยุโรป เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม อิตาลี ฯลฯ โดยไม่ต้องของวีซ่าอีก ทว่า แท้จริงแล้ว วีซ่าเชงเกน คืออะไร และมีความสำคัญเช่นใด
ภูมิหลัง
วีซ่าเชงเกน เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเชงเกน (Schengen Agreement) ซึ่งเป็นข้อตกลงที่มีจุดประสงค์เพื่อทำให้ “การเคลื่อนไหวเสรีของบุคคล” อันเป็นหนึ่งในเป้าหมาย 4 ประการของตลาดร่วมยุโรป (อันได้แก่ การเคลื่อนไหวอย่างเสรีของสินค้า บริการ ทุน และบุคคล) เป็นจริงขึ้นมา โดยในช่วงทศวรรษที่ 1980 มีประเทศสมาชิกประชาคมยุโรปบางประเทศเห็นว่า “การเคลื่อนไหวเสรีของบุคคล” นี้ ควรจะครอบคลุมนอกเหนือไปจากประชาชนของประเทศสมาชิกประชาคมยุโรป โดยรวมถึงจนถึงบุคคลที่ไม่ใช่ประชาชนของประเทศสมาชิกที่มาอยู่ในประชาคมยุโรปด้วย
ดังนั้น ในปีพ.ศ. 2528 ประเทศสมาชิกประชาคมยุโรป 5 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และ ลักเซมเบิร์ก จึงได้ร่วมกันลงนามในข้อตกลงเชงเกน เพื่อก่อตั้งชายแดนร่วมกัน (single external border) หรือในอีกความหมายหนึ่ง คือการมีเขตแดนที่ไม่มีการตั้งจุดตรวจ ณ ชายแดนระหว่างประเทศสมาชิก (territory without internal border control) เพื่อให้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นประชาชนของประเทศสมาชิกในข้อตกลงเชงเกนหรือไม่ก็ตามมีสิทธิที่จะเดินทางได้อย่างเสรีภายในบริเวณเชงเกน
ต่อมาภายหลัง มีประเทศสมาชิกประชาคมยุโรป/สหภาพยุโรปและประเทศยุโรปอื่นๆทยอยเข้าร่วมเรื่อยมา และประเทศที่ลงนามในข้อตกลงเชงเกนพบว่า การมีชายแดนร่วมกันทำให้มีความจำเป็นที่ต้องมีความร่วมมือกันในด้านอื่นๆนอกเหนือจากการมีวีซ่าท่องเที่ยวร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านนโยบายด้านผู้อพยพลี้ภัย หรือ ความร่วมมือด้านตำรวจและการศาล และเห็นว่าเพื่อความมีประสิทธิภาพในการร่วมมือกันดำเนินงานด้านดังกล่าว ควรจะให้มีการย้ายกรอบงานและมาตรการส่วนใหญ่ในข้อตกลงเชงเกนมาเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรปในสนธิสัญญาอัมสเตอร์ดัม
ข้อตกลงเชงเกนครอบคลุมเรื่องอะไรบ้าง
ในสาระสำคัญ อาจสรุปได้ว่าข้อเชงเกนครอบคลุมสาระสำคัญ 5 ประการ คือ 1) การควบคุมดูแลชายแดนนอกกลุ่มประเทศสมาชิกร่วมกัน

  • การมีระเบียบและกระบวนการในการตรวจตราดูแลชายแดนดังกล่าวร่วมกัน

  • การยกเลิกการมีจุดตรวจที่ชายแดนระหว่างประเทศสมาชิก (แต่ประเทศสมาชิกยังสามารถทำการสุ่มตรวจได้ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย)

  • การแยกช่องตรวจคนเข้าเมืองที่ท่าอากาศยานระหว่าง คนที่เดินทางมาจากเขตเชงเกน กับคนที่เดินทางมาจากนอกเขตเชงเกน

  • 2) การมีวีซ่าร่วมกัน

  • การมีระเบียบด้านการเข้าเขตแดนและการออกวีซ่าร่วมกัน (ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีของวีซ่าท่องเที่ยวระยะสั้น คือไม่เกิน 3 เดือน เท่านั้น หากอยู่นานกว่านั้น หรือด้วยจุดประสงค์อื่น เช่น เพื่อทำงาน หรือเรียนหนังสือ ยังต้องใช้วีซ่าของแต่ละประเทศสมาชิก

  • 3) การมีนโยบายด้านผู้อพยพและผู้ลี้ภัย ร่วมกัน
  • การมีความจำกัดของคำของคำว่า “ผู้อพยพ” ร่วมกัน

  • การมีระเบียบด้านผู้ลี้ภัยร่วมกันตามที่ปรากฏใน Dublin II Declaration

  • การมีฐานข้อมูลลายนิ้วมือผู้อพยพร่วมกัน ที่เรียกว่า Eurodac

  • 4) ความร่วมมือด้านการตำรวจและตุลาการ (Police and Judicial cooperation) เช่น
  • การที่ตำรวจของประเทศสมาชิกหนึ่งมีสิทธิที่จะตรวจตราและไล่ล่าผู้ต้องสงสัย (hot pursuit) ในประเทศสมาชิกเชงเกนประเทศอื่นได้

  • การกระชับความร่วมมือในการศาลเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนและการเผยแพร่ข้อมูลการตัดสินคดีอาญา

  • การตั้งสำนักงาน Europol ที่กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้านข้อมูลในการต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามเขตแดน และ สำนักงาน Eurojust เพื่อประสานความร่วมมือด้านการสืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมข้ามเขตแดน

  • 5) การมีระบบฐานข้อมูลร่วมกัน คือ “Schengen Information System” (SIS)
  • เพื่อให้ความร่วมมือสี่ประการข้างต้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประเทศสมาชิกจำเป็นต้องมีระบบฐานข้อมูลร่วมกัน เพื่อการนี้ สหภาพยุโรปจึงได้จัดตั้งระบบ “Schengen Information System” หรือ SIS ขึ้นในปีพ.ศ. 2538 เพื่อทำหน้าที่เป็นเครือข่ายเชื่อมฐานข้อมูลร่วมกัน โดยในฐานข้อมูลจะระบุถึงรายละเอียดต่างๆของบุคคล สิ่งของ และยานพาหนะที่ต้องสงสัย และจะอนุญาตให้เฉพาะเจ้าหน้าที่ของประเทศสมาชิกซึ่งรับผิดชอบด้านตำรวจ การตรวจตราดูแลชายแดน และกงสุลที่ได้รับอนุญาตจากทางการ สามารถเข้าค้นข้อมูลหรือเพิ่มข้อมูลในระบบได้

  • นอกจากความร่วมมือที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีการตั้งตำแหน่ง “ผู้ประสานงานด้านการต่อต้านการก่อการร้ายของสหภาพยุโรป” (EU counter terrorism coordinator) โดยมีนาย Gijs de Vries เป็นผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว โดยการตั้งตำแหน่งดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากเหตุการณ์ก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ส่วนแนวคิดอื่นๆ เช่น การก่อตั้งหน่วยงานตำรวจกลางอย่าง FBI หรือ องค์การข่าวกรองและสืบราชการลับอย่าง CIA กลับไม่ได้รับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิกเท่าที่ควร สะท้อนให้เห็นว่าประเทศสมาชิกยังคงหวงแหนอำนาจอธิปไตยในประเด็นความมั่นคงภายใน
    ข้อตกลงเชงเกนครอบคลุมประเทศอะไรบ้าง
  • ประเทศที่เข้าร่วมเข้ขตวีซ่าร่วมเชงเกนได้แก่ :
    เบลเยียม เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย สเปน โปรตุเกส กรีซ สวีเดน ฟินแลนด์ เดนมาร์ก* ไอซ์แลนด์** และนอร์เวย์** สาธารณรัฐเชก เอสโตเนีย ฮังการี แลตเวีย ลิธัวเนีย มอลตา โปแลนด์ สโลวาเกีย สโลวีเนีย และสวิตเซอร์แลนด์**
    - * เดนมาร์กได้ขอสงวนสิทธิในการไม่เข้าร่วมในมาตรการใหม่ๆ ทีไม่ใช่เรื่องการมีวีซ่าร่วม
    - ** ประเทศดังกล่าวไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มสหภาพยุโรป กล่าวคือ ไอซ์แลนด์ด์และนอร์เวย์ เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง Nordic Passport Union ต่อประเทศสวีเดน เดนมาร์ก และฟินแลนด์
    ทั้งนี้ มีประเทศที่เข้าร่วมความตกลงเชงเกน แต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเขตวีซ่าร่วมด้วย คือ
    - สหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ เป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เข้าร่วมเฉพาะเรื่องความร่วมมือด้านการตำรวจและตุลาการ (Police and Judicial Cooperation)เท่้านั้น แต่ไม่ี่เข้าร่วมในด้่านการมีวีซ่าร่วมหรือการมชายแดนร่วม
    - ไซปรัส โรมาเนีย และบัลกาเรีย แม้จะได้ลงนามรับข้อตกลงเชงเกนเมื่อครั้งเข้าร่วมสหภาพยุโรปเมื่อปี 2550 แต่ยังไม่ได้เข้าร่วมในเขตชายแดนร่วมดังกล่าว และอียูจะเริ่มกระบวนการประเมินความพร้อมของบัลกาเรียและโรมาเนียในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 และคาดว่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี

  • สำหรับลิคเคนสไตน์นั้นยังอยู่ในขั้นการเจรจา

    กระบวนการตัดสินใจในเรื่องความตกลงเชงเกน
    สนธิสัญญาอัมสเตอร์ดัมได้โอนอำนาจการตัดสินใจในข้อตกลงเชงเกน ที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่อง วีซ่า การขอลี้ภัย การอพยพ และนโยบายอื่นๆซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการเคลื่อนไหวเสรีของบุคคล เข้ามาอยู่ในกรอบการทำงานในเสาหลักที่หนึ่งของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นความร่วมมือแบบเหนือรัฐ กล่าวคือ ประเทศสมาชิกได้เสียอำนาจอธิปไตยบางส่วนในด้านนี้ให้แก่หน่วยงานของสหภาพยุโรป เช่น กระบวนการรับรองมาตรการใหม่นั้นใช้วิธีลงคะแนนเสียงแบบเสียงข้างมาก โดยที่ประเทศสมาชิกไม่มีสิทธิวีโต ยกเว้นความร่วมมือด้านตำรวจและการศาล ซึ่งประเทสสมาชิกยังมีอำนาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์ (กล่าวคือ ยังคงไว้ซึ่งมีสิทธิวีโต)
    ทว่า อาจกล่าวได้ว่า ประเทศสมาชิกยังคงมีอำนาจอธิปไตยในด้านนี้มากกว่ากิจการอื่นๆในเสาหลักที่หนึ่ง (เช่น เรื่องการเคลื่อนไหวเสรีของสินค้าในตลาดร่วมยุโรปและนโยบายการค้ากับประเทศที่สาม) เช่น ประเทศสมาชิกมีอำนาจในการเสนอมาตรการใหม่ๆร่วมกับคณะกรรมาธิการยุโรป (แทนที่ณะกรรมาธิการฯจะมีอำนาจเสนอมาตรการใหม่ๆแต่เพียงผู้เดียว ดังเช่นกิจการอื่นๆในเสาหลักที่หนึ่ง) นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกจำนวนหนึ่งยังสามารถตกลงกันเองที่จะเพิ่มความร่วมมือร่วมกันเฉพาะเรื่องได้ เพียงแต่ต้องทำในกรอบการทำงานของสหภาพยุโรป

    Related Items:

    1. 30 มีค. เลิกตรวจที่สนามบินระหว่างสมาชิกเชงเกนเดิมกับสมาชิกใหม่
    2. ข้อแนะนำสำหรับผู้ถือ passport ไทย ภายหลังเช็กร่วม Schengen
    3. ประเทศสมาชิกใหม่เลื่อนกำหนดการเข้าร่วมในเขตเชงเก้น
    4. มารู้จักฐานข้อมูลผู้ลี้ภัย "Eurodac"
    5. ยกเว้นการขึ้นค่าวีซ่าแก่ NGOs และผู้ค้าบริเวณชายแดน



















    4 ความคิดเห็น:

    1. ระเบียบการขอวีซ่า Schengen Visa








      บุคคลสัญชาติไทยต้องขอวีซ่าในการเดินทางเข้าประเทศสวีเดนและประเทศอื่นๆในสหภาพยุโรปรวมทั้งสิ้น 15ประเทศ ได้แก่
      เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส กรีซ ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส เยอรมัน ออสเตรีย และ
      สเปน ยกเว้น บุคคลที่ถือหนังสือเดินทางข้าราชการฉบับสีน้ำเงินซึ่งจะสามารถอยู่ในประเทศสวีเดนและประเทศอื่นๆบางประเทศใน สหภาพยุโรปได้เป็นเวลา 90 วันโดยไม่ต้องขอวีซ่า

      -กฎระเบียบของ Schengen ระบุไว้ว่าหากได้มีการพำนักอยู่ใน Schengen เป็นระยะเวลา 3 เดือน หรือมากกว่า การที่จะขอวีซ่าเข้าประเทศในกลุ่ม Schengen ได้อีกครั้งหนึ่ง นั้นจะต้องรอเป็นเวลา 3 เดือน ก่อนที่จะขอใหม่ได้

      -หากผู้ที่ต้องการขอวีซ่า Schengen เป็นบุคคลสัญชาติอื่นแต่อาศัยอยู่ในประเทศไทย บุคคลนั้นๆจะต้องแสดงให้เห็นถึงตราประทับให้กลับมายังประเทศไทยอีกครั้ง (Re-entry or Multiple entries)

      - แบบฟอร์มการขอวีซ่าจะต้องกรอกเป็นภาษาอังกฤษ ส่วนเอกสารต่างๆที่จะนำมายื่นประกอบการขอวีซ่าจะต้องเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดหากมีเอกสารที่เป็นภาษาไทยมาแสดงจะต้องนำไปแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วแนบมาด้วย และเอกสารทุกชนิดจะต้องมีขนาด A4 เท่านั้น อีกทั้งเอกสารทุกอย่างที่นำมายื่นจะต้องมีอายุไม่เกิน3เดือนย้อนหลัง

      - เอกสารใบคำร้องและเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการยื่นขอวีซ่านั้นสามารถรับได้ที่สถานทูตฯ หรือ เข้าไปดูได้ใน
      www.swedenabroad.com /bangkok หรือ www.migrationsverket.com และสามารถพิมพ์แบบฟอร์มใบคำร้องและเอกสารอื่นๆจากทางเว็บไซด์ได้

      - ค่าธรรมเนียมในการขอวีซ่าจะเปลี่ยนแปลงทุกเดือนตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ซึ่งอียูได้มีมติตัดสินว่าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไปให้เพิ่มค่าวีซ่าเป็น 60ยูโร เทียบเท่ากับ 2,780 บาท อนึ่ง ทางสถานทูตฯจะไม่คืนค่าธรรมเนียมที่ได้ชำระไปแล้ว ไม่ว่าในกรณีใดๆทั้งสิ้น กรุณาตรวจสอบค่าธรรมเนียมที่ถูกต้องตามลักษณะวีซ่าของท่านในวันที่มาขอวีซ่ากับทางสถานทูตก่อนทำการชำระ และชำระโดยการโอนเงินผ่านธนาคารเอเชีย สาขาย่อยสุขุมวิท4

      -โดยปรกติแล้ว วีซ่า Schengen ที่ออกให้บุคคลจะมีระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน ระยะเวลาในการพิจารณาประมาณ 7 วันทำการ ในบางกรณีที่ต้องมีการส่งเรื่องไปพิจารณาที่กองตรวจคนเข้าเมืองที่ประเทศสวีเดน จะต้องใช้เวลาในการดำเนินเรื่องประมาณ 1-3 เดือน







      ....

      ตอบลบ
    2. ...




      *ผู้ที่มาขอวีซ่าต้องมาดำเนินการด้วยตนเอง และต้องแนบเอกสารประกอบการขอวีซ่ามาให้ครบถ้วน (เจ้าหน้าที่สถานทูตไม่สามารถที่จะช่วยท่านในการกรอกเอกสารใดๆได้) เอกสารที่ไม่ครบถ้วนหรือการกรอกแบบฟอร์มที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนอาจส่งผลให้การขอวีซ่าถูกปฏิเสธได้ และหากต้องการยื่นเรื่องใหม่ภายหลังที่ถูกปฏิเสธไปแล้ว จะต้องแนบเอกสารประกอบการพิจารณามาใหม่ทั้งหมด*

      เวลาทำการของแผนกวีซ่า : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.00 – 12.00 น. ยกเว้น วันพุธ ปิดทำการ
      *หากท่านต้องการติดต่อทางโทรศัพท์กับแผนกวีซ่า ให้ติดต่อได้ที่ 02-2637211 ในวันจันทร์–พฤหัสบดี เวลา 14.00-15.00น. เท่านั้น*
      ก. เอกสารประกอบการพิจารณาการยื่นขอวีซ่าท่องเที่ยว/ธุรกิจ/ราชการ
      1. แบบฟอร์มการขอวีซ่า ซึ่งผู้ขอต้องกรอกข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษหรือสวีเดน( กรุณากรอกหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถใช้ติดต่อได้ไว้ด้วย)
      2. ใบแสดงถึงสมาชิกในครอบครัว (Appendix D)
      3. หนังสือเดินทางที่มีอายุการใช้ไม่น้อยกว่า 3 เดือน นับจากวันที่เดินทางกลับจากสวีเดน
      4. สำเนาหนังสือเดินทาง รวมถึงหน้าที่มีการต่ออายุ (ถ้ามี)
      5. รูปถ่าย 2 นิ้ว 2 รูป ซึ่งมีฉากหลังสีขาวแบบมาตรฐาน
      6. หลักฐานทางการเงิน ได้แก่ จดหมายรับรองจากธนาคารและ สำเนาสมุดธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน
      7. สำเนาใบจองที่พักที่ครอบคลุมทุกคืนที่จะเข้าพักในประเทศสวีเดน
      8. หลักฐานการทำงานจากบริษัท/องค์กรในประเทศไทยที่บุคคลนั้นทำงานอยู่ ระบุด้วยว่าบุคคลนั้นจะเดินทางไปสวีเดนและจะกลับมาทำงานที่บริษัท/
      องค์กรต่อภายหลังการเดินทางไปสวีเดนแล้ว
      9. จดหมายเชิญจากบริษัทหรือองค์กรที่สวีเดน (สำหรับวีซ่าธุรกิจ/ราชการ)
      10. ประกันการเดินทาง ที่ซื้อจากบริษัทที่มีข้อตกลงตามที่ทางประเทศในกลุ่ม Schengen ได้กำหนดไว้ ซึ่งครอบคลุมไปถึงการที่จะต้องเข้ารับการ
      บำบัดรักษาในโรงพยาบาลทั่วทุกแห่งในประเทศกลุ่ม Schengen รวมไปถึงประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป(European Union) ซึ่งคือ สวิสเซอร์แลนด์
      และลิคเทนไสตน์ ตลอดระยะเวลาที่พำนักอยู่ใน Schengen
      หมายเหตุ 1. ประกันการเดินทางจะต้องครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดคือ 30,000 ยูโร หรือ 1,500,000 บาท
      2. ก่อนที่จะซื้อประกันจากบริษัทประกัน จะต้องแน่ใจว่าบริษัทนั้นจะคืนเงินให้หากวีซ่าของท่านถูกปฏิเสธ






      ...

      ตอบลบ
    3. ...




      ข. เอกสารประกอบการขอวีซ่าสำหรับวีซ่าท่องเที่ยวเพื่อไปเยี่ยมญาติ/เพื่อน
      1. แบบฟอร์มการขอวีซ่า ซึ่งผู้ขอต้องกรอกข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษหรือสวีเดน( กรุณากรอกหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถใช้ติดต่อได้ไว้ด้วย)
      2. ใบแสดงถึงสมาชิกในครอบครัว (Appendix D)
      3. หนังสือเดินทางที่มีอายุการใช้ไม่น้อยกว่า 3 เดือน นับจากวันที่เดินทางกลับจากสวีเดน
      4. สำเนาหนังสือเดินทาง รวมถึงหน้าที่มีการต่ออายุ (ถ้ามี)
      5. รูปถ่าย 2 นิ้ว 2 รูป ซึ่งมีฉากหลังสีขาวแบบมาตรฐาน
      6. แบบฟอร์มหนังสือเชิญจากผู้รับรอง/ผู้เชิญ(Reference Bilaga E/Appendix E) ระบุชื่อผู้ได้รับเชิญ 1 คน ต่อ หนึ่งแบบฟอร์มเท่านั้น(แบบฟอร์มหนังสือ
      เชิญนี้จะต้องใช้เป็นฉบับจริง ที่กรอกด้วยลายมือจริงของผู้รับรอง/ผู้เชิญ ทั้งฉบับเท่านั้น ไม่ใช่ แฟ็กส์(fax) หรือ อีเมล(email) )
      7. ใบทะเบียนราษฎร์ที่เรียกว่า Personbevis ที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน และสำเนาหนังสือเดินทางหน้าแรกของผู้รับรอง/ผู้เชิญ หากผู้รับรอง/ผู้เชิญไม่ใช่ชาว
      สวีเดนให้นำสำเนา Personbevis ของผู้นั้น ประกอบกับสำเนาหนังสือเดินทางหน้าแรกและสำเนาวีซ่าถาวรของผู้นั้น มาแสดง
      8. หากผู้ที่ท่านต้องการจะไปเยี่ยมเป็นชาวไทยที่อาศัยอยู่กับผู้รับรอง/ผู้เชิญที่สวีเดน ให้ถ่ายสำเนาทะเบียนราษฎร์ (Personbevis) ของบุคคลนั้นประกอบมา
      ด้วย แต่หากชาวไทยที่อาศัยอยู่กับผู้รับรอง/ผู้เชิญที่สวีเดนไม่มีวีซ่าถาวรแต่มีวีซ่า SchengenหรือD-visaเท่านั้น ให้นำสำเนาหนังสือเดินทางหน้าแรกและ
      สำเนาวีซ่า Schengenหรือ D-visa มาแสดงแทน
      9. หากผู้รับรอง/ผู้เชิญ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้กับบุคคลที่มาขอวีซ่าตลอดระยะเวลาที่อยู่ในสวีเดน จะต้องนำหลักฐานการทำงานที่ระบุตำแหน่ง
      และรายได้ของผู้รับรอง/ผู้เชิญ หรือหลักฐานทางการเงิน เช่น สำเนาสมุดธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน ,ใบเสียภาษี เป็นต้นมาแสดง
      *แต่หากผู้ขอวีซ่ารับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้กับตัวเอง ให้นำหลักฐานการทำงานที่ระบุตำแหน่งและรายได้ของตนเอง และสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน มาแสดงแทน*
      10. ประกันการเดินทาง ที่ซื้อจากบริษัทที่มีข้อตกลงตามที่ทางประเทศในกลุ่ม Schengen ได้กำหนดไว้ ซึ่งครอบคลุมไปถึงการที่จะต้องเข้ารับการ
      บำบัดรักษาในโรงพยาบาลทั่วทุกแห่งในประเทศกลุ่ม Schengen รวมไปถึงประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป(European Union) ซึ่งคือ สวิสเซอร์แลนด์
      และลิคเทนไสตน์ ตลอดระยะเวลาที่พำนักอยู่ใน Schengen
      หมายเหตุ 1. ประกันการเดินทางจะต้องครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดคือ 30,000 ยูโร หรือ 1,500,000 บาท
      2. ก่อนที่จะซื้อประกันจากบริษัทประกัน จะต้องแน่ใจว่าบริษัทนั้นจะคืนเงินให้หากวีซ่าของท่านถูกปฏิเสธ

      *หากผู้ขออายุต่ำกว่า 20 ปี ต้องนำสำเนาใบสูติบัตร + สำเนาใบอุปการะบุตร หรือ หนังสือยินยอมจากผู้ปกครองทั้งสองฝ่ายที่ระบุว่าให้บุคคลนั้นเดินทางไปต่างประเทศได้มาแสดง (หากบิดา-มารดาหากเสียชีวิตแล้วให้นำสำเนาใบมรณะบัตรมาแสดงด้วย) *







      .

      ตอบลบ
    4. อียูปรับการขอวีซ่าเชงเกนให้เหมือนกัน





      คณะมนตรียุโรปได้รับรองร่างข้อเสนอการปรับกระบวนการและเงื่อนไขสำหรับการออกวีซ่าเชงเกนระยะสั้น (short-stay visa) ซึ่งทั้งคณะมนตรียุโรปได้เจรจาและตกลงเนื้อหากับสภายุโรปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งคณะมนตรียุโรปกล่าวว่า ประชาชนของประเทศที่สามจะได้ประโยชน์จากปรับเปลี่ยนดังกล่าว เนื่องจากจะมีความโปร่งใสและมีความสอดคล้องกันมากขึ้น

      สาระสำคัญคือการปรับเปลี่ยนคือ
      - การปรับแนวทางในการออกวีซ่าของทุกประเทศสมาชิกเขตเชงเกนเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขในการปฏิเสธวีซ่า ยกเลิกวีซ่า หรือขยายระยะเวลาอยู่ต่อ ให้เหมือนกัน ใช้เอกสารประกอบการสมัครเหมือนกัน มีกระบวนการในการตรวจเอกสารเหมือนกัน และมีเหตุผลในการให้ multiple visa เหมือนกัน
      - มีระยะเวลาในการออก (หรือปฏิเสธ) วีซ่าประมาณสองสัปดาห์
      - ต้องมีการยื่นข้อมูล biometric ในการขอวีซ่าทุกประเภท
      - ราคาค่าสมัครวีซ่าเท่ากันคือ 60 ยูโร โดยเด็กอายุระหว่าง 6 - 12 ปี ได้ราคาพิเศษที่ 35 ยูโร (และอาจได้รับยกเว้น หากกงสุลของสถานทูตนั้นๆเห็นควร) และมีการให้การยกเว้นค่าวีซ่าในบางกรณี เช่น เด็กต่ำว่า 6 ปี นักเรียนหรือคนธรรมดาที่เป็นผู้แทนองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่อายุต่ำกว่า 25 ปีและเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา วัฒนธรรม หรือการศึกษา

      อนึ่ง สหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ยังคงไม่เข้าร่วมเขตเชงเกน แต่เดนมาร์กมีท่าทีที่อาจเข้าร่วมในปลายปี 52






      .

      ตอบลบ