วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส

         การจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส


ความหมาย



การจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส คือ การที่สามีและภริยา หย่าขาดจากกัน และได้
ตกลงแบ่งหรือโอนทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสให้แก่กัน ซึ่งจะเป็นการตกลงแบ่งสินสมรส
แต่ละสิ่งให้แต่ละฝ่าย
เท่า ๆ กัน ทุก ๆ สิ่ง ทุก ๆ อย่าง ก็ทำได้ หรืออาจตกลงแบ่งสินสมรส สิ่งหนึ่งสิ่งใดให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งทั้งหมด หรือเกินกว่าครึ่งหนึ่งแห่งราคาของสินสมรสนั้นก็ทำได้


กฎหมายและคำสั่งที่เกี่ยวข้อง

- ป
... มาตรา ๑๔๖๕ - ๑๔๙๓ , ๑๕๓๒ - ๑๕๓๕
-
คำสั่งกรมที่ดิน ที่ ๖/๒๔๙๘ ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๙๘ เรื่อง จดทะเบียนประเภทแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส




สาระสำคัญ





- ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแบ่งประเภททรัพย์สินระหว่างสามีภริยาไว้ตามมาตรา ๑๔๗๐ ว่า “ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา นอกจากที่ได้แยกไว้เป็นสินส่วนตัวย่อมเป็น
สินสมรส
กฎหมายดังกล่าวได้แยกทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเป็น ๒ ประเภท คือ ทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะเรียกว่า สินส่วนตัว
และทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างคู่สมรส
ทั้งสองฝ่ายเรียกว่า
สินสมรส






. สินส่วนตัว


มาตรา ๑๔๗๑ สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน
(๑) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(๒) ที่เป็นเครื่องใช้ส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะหรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(๓) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา
(๔) ที่เป็นของหมั้น

มาตรา ๑๔๗๒ “สินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ดี ซื้อทรัพย์สินอื่นมาก็ดี หรือขายได้เป็นเงินมาก็ดี ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว
สินส่วนตัวที่ถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แต่ได้ทรัพย์สินอื่นหรือเงินมาทดแทนทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว”


๒. สินสมรส


มาตรา ๑๔๗๔ สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน

()
ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(๒) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม หรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
() ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า
เป็น ”สินสมรส

มาตรา ๑๕๓๓ “เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน”


หลักเกณฑ์การสอบสวน



-
เมื่อมีผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามนัยมาตรา ๑๕๓๓ แห่ง ป...
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนและเรียกหลักฐาน ดังนี้
()
เมื่อสามีภรรยาหย่าขาดจากกัน และประสงค์จะแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสเกี่ยวกับที่ดิน โดยขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่กันและกันแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินเรียกหลักฐานการหย่าขาดจากสามีภรรยา เช่น คำพิพากษาหรือหนังสือหย่าระหว่างกันมาตรวจสอบ ถ้าในกรณีที่จะต้องจดทะเบียนหย่า ให้เรียกหลักฐานการจดทะเบียนหย่ามาแสดงด้วย() เมื่อเห็นว่ามีการหย่าขาดจากกันถูกต้องแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินรับจดทะเบียนในประเภท แบ่งทรัพย์สินระหว่างสมรสโดยให้คู่สมรสยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และแก้ทะเบียนตามตัวอย่างท้ายคำสั่งนี้



วิธีดำเนินการ


การจัดทำคำขอฯ (.. ) คำขอ (.. ) เป็นไปตามคำสั่งกรมที่ดิน ที่ ๖/๒๔๙๘ ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๙๘ เรื่อง จดทะเบียนประเภทแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส

มาตรา
๑๕๓๓ แห่ง ป... บัญญัติไว้เพียงว่า เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้สัดส่วน
เท่ากัน มิได้ระบุว่าจะต้องแบ่งสินสมรสให้แต่ละฝ่ายได้เท่า ๆ กัน ทุกสิ่งทุกอย่าง คู่สมรสจึงอาจตกลงแบ่งสินสมรสสิ่งหนึ่งสิ่งใดแก่อีกฝ่ายหนึ่งทั้งหมดหรือเกินกว่าครึ่งหนึ่งแห่งราคาของสินสมรสนั้นได้ หากทรัพย์สินนั้นได้ตกลงกันไว้ในเวลาจดทะเบียนหย่า ข้อตกลงนั้นย่อมจะมีผลบังคับผูกพันให้เป็นไปตามข้อตกลงได้ และกรณี

เช่นนี้ส่วนที่เกินครึ่งก็มิใช่เป็นการให้โดยเสน่หา
(เทียบฎีกาที่ ๑๔๐๖/๒๕๑๗) พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่จำต้องพิจารณาว่าส่วนแบ่งตามที่ตกลงกันนั้น จะเท่ากันหรือไม่ ก็ย่อมจดทะเบียนประเภทแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสได้
(หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๐๘/๒๖๗๖๑ ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๗ ตอบข้อหารือจังหวัดชลบุรี เรื่อง หารือการจดทะเบียนที่ดิน เวียนตามหนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๐๘/ว ๓๗๐๐๖ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๗)



แนวทางการวินิจฉัยที่สำคัญเกี่ยวกับการแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส




๑. การจดทะเบียนลงชื่อคู่สมรสเป็นการจดทะเบียนลงชื่อสามีภรรยาในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินซึ่งเป็นสินสมรส ตามนัยมาตรา ๑๔๗๕ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงไปไม่ว่าด้วยเหตุใด เช่น ด้วยความตาย หรือ หย่า ฯ คู่สมรสย่อมไม่ใช่สามีภรรยาอีกต่อไป และสินสมรสก็สิ้นสภาพ แม้ยังมิได้มีการตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสทรัพย์สินนั้นก็คงเป็นกรรมสิทธิ์รวมธรรมดาเท่านั้น (คำพิพากษาฎีกา ที่ ๑๕๒๓/๒๕๑๙) ดังนั้น เมื่อคู่สมรสฝ่ายที่มีชื่อในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินถึงแก่ความตายแล้ว จึงไม่อาจจดทะเบียนลงชื่อคู่สมรสได้ และเมื่อตามมาตรา ๑๕๓๒ วรรคแรก แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็บัญญัติว่า เมื่อหย่าแล้วให้จัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภรรยากรณีจึงเป็นเรื่องที่ต้องไปจัดการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยากัน และขอจดทะเบียนในประเภท แบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสแต่การจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสเช่นนี้เป็นการขอจดทะเบียนสิทธิในที่ดินโดยประการอื่นนอกจากนิติกรรมจะต้องให้ผู้ขอนำคำสั่งศาลซึ่งแสดงว่าตนมีสิทธิหรือได้รับส่วนแบ่งในสินสมรสแล้วมาขอจดทะเบียนสิทธิตามข้อ ๙ แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ ๗ (.. ๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน
..
๒๔๙๗


.
การจดทะเบียนกรณีได้มาซึ่งที่ดินในระหว่างอยู่กินฉันสามีภรรยาแล้ว ต่อมาคู่กรณีฝ่ายที่มีชื่อในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินถึงแก่ความตาย คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งที่ยังมีชีวิตอยู่จะมาขอจดทะเบียนให้ปรากฏชื่อร่วมในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเป็นการจดทะเบียนสิทธิในที่ดินโดยประการอื่นนอกจากนิติกรรม ผู้ขอจะต้องนำ
คำสั่งศาลที่แสดงว่าตนมีสิทธิหรือได้รับส่วนแบ่งในที่ดินอันเป็นทรัพย์สินร่วมกันมาขอจด
ทะเบียนสิทธิตามข้อ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๗
(..๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน
..
๒๔๙๗

. ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ปรากฏว่า ญ. กับ ช. สมรสกันเมื่อปี ๒๕๒๒ ระหว่างสมรส ญ. ได้ซื้อที่ดินโฉนดที่ดินเมื่อปี ๒๕๒๘ และปี ๒๕๓๔ ตามลำดับที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๔ ภายหลังทั้งสองหย่าขาดจากกัน การสมรสจึงสิ้นสุดลงและบันทึกข้อตกลงยกสินสมรสให้แก่บุตร เป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๓๒ และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุตรทั้งสองคน ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามมาตรา ๓๗๕ วรรคท้าย ดังนั้น ตราบใดที่บุตรของ ญ. กับ ช. ยังมิได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญา ญ. กับ ช. จึงอาจตกลงกันเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิตามที่ตกลงกันไว้ได้ทุกเมื่อ (เทียบกับคำพิพากษาฎีกาที่ ๒๙๑/๒๕๔๑) แต่ในการที่ ญ. จะจดทะเบียนลงชื่อ ช. ในโฉนดที่ดินดังกล่าวซึ่งมีชื่อ ญ. ถือกรรมสิทธิ์ไว้แต่เพียงผู้เดียว ผู้ขอจะ
ต้องนำใบสำคัญการหย่ามาประกอบการขอจดทะเบียน เพื่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะได้รับจดทะเบียนในประเภท

แบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามนัยมาตรา
๑๕๓๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การที่ ว.
ผู้รับมอบอำนาจนำหลักฐานทะเบียนสมรสมาแสดงทั้งยังให้ถ้อยคำยืนยันว่า ญ. กับ ช. ยังเป็นสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าใจว่า ทั้งสองยังเป็นสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายและรับจดทะเบียนให้ไปในประเภท ลงชื่อคู่สมรสตามนัยมาตรา ๑๔๗๕ แห่ง ป... อันเป็นการจดทะเบียนไปโดยคลาดเคลื่อน จึงควรดำเนินการเพิกถอนรายการจดทะเบียนลงชื่อคู่สมรสซึ่งจดทะเบียนในโฉนดที่ดินเมื่อปี ๒๕๔๒ ตามนัยมาตรา ๖๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน สำหรับการจดทะเบียนให้ที่ดินเฉพาะส่วนระหว่าง ญ. กับ ช. ในลำดับถัดมา เมื่อเพิกถอนรายการจดทะเบียนลงชื่อคู่สมรสแล้ว โฉนดที่ดินจะกลับมีชื่อ ญ
. ถือกรรมสิทธิ์
แต่เพียงผู้
เดียวดังเดิมและไม่มีเหตุใดที่จะต้องจดทะเบียนให้เฉพาะส่วนแก่ ช. เพราะเมื่อที่ดินเป็นสินสมรส ช. ย่อมเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย ซึ่งเมื่อทั้งสองหย่าขาดจากกันแล้วที่ดินดังกล่าวย่อมคงไว้เพื่อการแบ่งสินสมรส
เท่านั้น การที่พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนให้ที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนของ ญ
. แก่ ช.
จึงเป็นไปโดยคลาดเคลื่อน ให้เพิกถอนเสีย


. โดยปกติแล้วการโอนมรดก พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ได้พิจารณาถึงสินสมรสว่าจะแบ่งแล้วหรือยัง แต่จะพิจารณาเพียงชื่อเจ้าของที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินว่าเป็นชื่อของเจ้ามรดกหรือไม่เท่านั้น หากมีชื่อเจ้ามรดกแล้วทายาทย่อมมาขอจะทะเบียนรับโอนมรดกได้ และถ้าคู่สมรสจะมาขอแบ่งสินสมรสในกรณีที่ไม่มีพินัยกรรมระบุว่าเป็นสินสมรสแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะไม่จดทะเบียนแบ่งสินสมรสให้ โดยถือว่าการแบ่งสินสมรสเป็นการได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม คู่สมรสที่ขอแบ่งจะต้องไปร้องขอให้ศาลสั่งมาเสียก่อน แต่ถ้าพินัยกรรมระบุชัดว่าที่ดินทุกแปลงเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกและสามีแล้วการที่จะโอนมรดกให้แก่ทายาทไปทั้งหมด โดยไม่คำนึงว่าที่ดินที่โอนไปนั้นเป็นมรดกของเจ้ามรดกตกทอดแก่ทายาทหรือไม่นั้น ย่อมจะฝืนต่อข้อเท็จจริง แม้ว่าคู่สมรสของเจ้ามรดกจะยินยอมก็ตามจึงควรโอนมรดกให้เพียงบางส่วนเท่านั้น ส่วนที่เหลือให้
จดทะเบียนแบ่งสินสมรสให้คู่สมรสของเจ้ามรดกไป โดยถือว่าเมื่อพินัยกรรมระบุไว้ชัดแจ้งว่าที่ดินมรดกเป็นสินสมรส คู่สมรสของเจ้ามรดกจึงขอแบ่งฝ่ายเดียวได้ โดยอนุโลมตามนัยคำสั่งกรมที่ดินที่ ๖
/๒๔๙๘ ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๙๘ เรื่อง จด
ทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนในประเภทไม่มีทุนทรัพย์


. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการที่คู่สมรสจะมาขอแบ่งสินสมรสในกรณีที่ไม่มีพินัยกรรมระบุไว้ว่าเป็นสินสมรส พนักงานเจ้าหน้าที่จะไม่จดทะเบียนแบ่งสินสมรสให้ โดยถือว่าการแบ่งสินสมรสเป็นการได้มาทางอื่นนอกจากนิติกรรม คู่สมรสที่ขอแบ่งจะต้องไปร้องขอให้ศาลสั่งมาเสียก่อน แม้โฉนดที่ดิน จะมีชื่อ ญ. เจ้ามรดกเพียงผู้เดียว อันเข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง แต่ปรากฏว่าในพินัยกรรมของ ญ.
ระบุชัดว่า ทรัพย์สินทุกอย่างเป็นสินสมรสระหว่าง ญ
. กับ ช. และ ญ. มีเพียงหนึ่งในสามส่วนเท่านั้น โดยอ้างเหตุที่มีเพียงหนึ่งในสามส่วนว่าตนได้สมรสกับ ช. มาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ และ
มีสินเดิมมาด้วยกันทั้งสองฝ่าย เมื่อพิจารณาพยานหลักฐานต่าง ๆ
แล้ว ปรากฏว่า ส
. บุตรคนหนึ่งของ ญ. กับ ช. ตามสำเนาทะเบียนบ้านเกิดเมื่อปี พ..๒๔๗๔ และที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าว ญ. ได้มาโดยการซื้อและรับให้ระหว่างปี พ..๒๔๔๓ - ๒๔๙๘ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ญ. และ ช. ได้สมรสกันมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ และที่ดินทั้งสามแปลงเป็นสินสมรสจริง เมื่อ ญ. ตาย ที่ดินส่วนที่เป็นมรดกของ ญ. ตาย ที่ดินส่วนที่เป็นมรดกของ ญ. ที่จะตกทอดไปยังทายาทจึงมีเพียงหนึ่งในสามส่วนเท่านั้น (เทียบฎีกาที่ ๒๖๒๘/๒๕๒๒)
ดังนั้น การแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสรายนี้ ช
. ย่อมจะขอแบ่งฝ่ายเดียวได้ โดยอนุโลมปฏิบัติตามนัยคำสั่งกรมที่ดินที่ ๖/๒๔๙๘ ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๙๘ เรื่อง จดทะเบียนประเภทแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในประเภทไม่มีทุนทรัพย์ เมื่อแบ่งแล้วหาก ช. จะขอรับโอนมรดกส่วนของ ญ. ก็ต้องคิดค่าธรรมเนียมตามส่วนของที่ดินที่เป็นมรดก


. กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าที่ดินเป็นสินสมรสระหว่าง ช. และ ญ.ให้ ญ. โอนให้ ช. ครึ่งหนึ่งตาม
สารบัญจดทะเบียนในโฉนดที่ดินดังกล่าวมีชื่อ ญ. ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินจำนวน ๘๐๐ ส่วน เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โอนให้ ช.
ครึ่งหนึ่ง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำนวนครึ่งหนึ่งของที่ดินที่ ญ. จะต้องโอนให้แก่ ช. จำนวนครึ่งหนึ่งของที่ดินที่ ญ. จะต้องโอนให้แก่ ช. จึงชัดเจนแล้วว่าหมายถึงจำนวน ๔๐๐ ส่วน ของที่ดินจำนวน ๘๐๐ ส่วนที่ ญ. ถือกรรมสิทธิ์ ซึ่งในระหว่างที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ญ.
ได้
จดทะเบียนให้ ท
.
ถือกรรมสิทธิ์รวมเฉพาะส่วนของตนไปแล้วครึ่งหนึ่งจำนวน ๔๐๐ ส่วน ในจำนวน ๘๐๐ ส่วน
การจำหน่ายที่ดินดังกล่าวต้องถือว่าเป็นการจำหน่ายที่ดินสินสมรสเฉพาะส่วนของ ญ
. ฝ่ายเดียว ไม่ใช่ส่วนของ ช. ที่ดินส่วนที่เหลืออยู่อีก ๔๐๐ ส่วน จึงเป็นสินสมรสส่วนที่จะต้องแบ่งให้ ช. ตามคำพิพากษาของศาลทั้งหมด จึงชอบที่จะจดทะเบียนให้ ช. ตามคำขอได้ โดยจดทะเบียนในประเภทแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสเฉพาะส่วนตามคำพิพากษา........ ตามคำสั่งกรมที่ดิน ที่ ๖/๒๔๙๘ ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๙๘ แต่โดยที่ ญ.
เป็น
ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงดังกล่าว ไม่ได้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเต็มทั้งแปลง กรณีนี้จึงให้หมายเหตุในเรื่องราวขอจดทะเบียนฯ
(.. ) และสารบัญจดทะเบียนว่า . ขอแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสเฉพาะส่วนของ ญ. ตามคำพิพากษา......... ส่วนของคนอื่นคงมีอยู่ตามเดิมและให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียม
ประเภทไม่มี
ทุนทรัพย์ แปลงละ ๕๐ บาท


คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง


๑.

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๒๓/๒๕๑๙ สามีภริยาหย่ากันโดยคำพิพากษาและจดทะเบียนหย่าแล้ว
สินบริคณห์สิ้นสภาพ แม้ยังมิได้แบ่งก็เป็นแต่กรรมสิทธิ์รวมธรรมดา หญิงถูกยึดทรัพย์ ชายร้องขัดทรัพย์
ไม่ได้
ได้แต่ขอกันส่วนในฐานะเจ้าของรวมเท่านั้น ไม่ต้องร้องขอแยกสินบริคณห์เป็นส่วนของสามีและ
ภริยาก่อน


๒. คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๙/๒๕๓๑ โจทก์และจำเลยที่ ๑ ทำหนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินกันโดยชอบ แต่ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ ๑ หย่าขาดจากกันแล้วเพราะยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๑๕ แต่ข้อตกลงเรื่องการหย่าและข้อตกลงเรื่องแบ่งทรัพย์สินเช่นนี้เป็นข้อตกลงที่แยกจากกันไม่ได้ เมื่อยังไม่มีการหย่าทรัพย์สินนั้นคงเป็นสินสมรสอยู่ตามเดิม โจทก์อ้างไม่ได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียว........


๓. คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๙๖๑/๒๕๓๕ ตาม ป... มาตรา ๑๕๓๓ การจะแบ่งสินสมรสได้ต้องมีการหย่ากันเท่านั้น เมื่อไม่มีการหย่าแม้คู่สมรสจะจำหน่ายสินสมรสไปเพื่อประโยชน์ของตนแต่ฝ่ายเดียวมาตรา ๑๕๓๔ ก็ให้ถือเสมือนว่า ทรัพย์สินนั้นคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสตามมาตรา ๑๕๓๓ กฎหมายมิได้มุ่งประสงค์ให้แบ่งสินสมรสกันได้หากคู่สมรสยังเป็นสามีภริยากันอยู่........


๔. คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๔๓๕/๒๕๓๖ ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์ที่ ๑ กับ ฟ. เมื่อหย่ากันแต่ละฝ่ายย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวคนละครึ่ง ตาม ป... มาตรา ๑๕๓๓ แต่โจทก์ที่ ๒ ไม่ได้แสดงเจตนาแก่ ฟ. ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาในส่วนที่ดินพิพาทซึ่ง ฟ. มีกรรมสิทธิ์อยู่ครึ่งหนึ่งก่อนที่ ฟ. จะตาย
กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวครึ่งหนึ่งจึงยังเป็นของ ฟ
. อยู่ ฟ. ย่อมแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายเกี่ยวกับที่ดินนั้นในส่วนของตนเพื่อให้มีผลบังคับตามกฎหมายเมื่อตนตายได้ ตาม ป...
มาตรา ๑๖๔๖


๕. คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๘/๒๕๓๗ ..........บันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินหลังทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญา ซึ่งกันและกันแล้วยังมีบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเข้ามาเกี่ยวข้องเป็น ผู้รับประโยชน์แห่งสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยด้วย คือ แทนที่โจทก์และจำเลยจะแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาด้วยกันเอง โจทก์และจำเลยกลับยอมให้ที่ดินจำนวน ๒ แปลง และบ้านอีก ๑ หลัง ตกเป็นของผู้เยาว์ทั้งสองหลังจากโจทก์
และจำเลยจดทะเบียนหย่ากัน สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่ง
ทรัพย์ระหว่างสามีภรรยา ตาม ป
... มาตรา ๑๕๓๒ และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ตาม ... มาตรา ๓๗๔ มิใช่สัญญาให้ จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของ ตาม ป... มาตรา ๕๒๕ แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้จำเลยผิดสัญญา โจทก์ในฐานะคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ไว้ต่อกันได้


๖. คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๔๑๔/๒๕๓๘ ห. กับ จ. เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมาย
ลักษณะผัวเมียโดยต่างมีสินเดิมมาด้วยกัน บุคคลทั้งสองได้ทรัพย์พิพาทมาในระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรส แม้ ห
. ถึงแก่ความตายในปี ๒๕๓๒ เมื่อ ป... บรรพ ๕ ใหม่ ประกาศใช้แล้วก็ตาม การแบ่งสินสมรสก็ต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ ๖๘ คือ ชายได้ ๒ ส่วน หญิงได้ ๑
ส่วน จะแบ่งคนละส่วนเท่ากัน
ตาม ป
...
มาตรา ๑๕๓๓ หาได้ไม่


๗. คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๑๔/๒๕๓๙ ข้อตกลงที่ ป. จะโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามหนังสือสัญญาหย่า มิใช่เป็นการจะให้ที่ดินแก่โจทก์โดยตรง แต่เป็นการให้ที่เกิดจากข้อตกลงตามสัญญาแบ่งทรัพย์สินในการหย่าระหว่าง ป. กับโจทก์ ดังนี้ข้อตกลงจะให้ที่ดินดังกล่าวย่อมสมบูรณ์ มีผลผูกพันกันได้โดยไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่..........


๘. คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๓๕๒/๒๕๔๐ การที่จำเลยกับผู้ร้องจดทะเบียนหย่ากัน และทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สิน ไว้หลังทะเบียนการหย่าว่าให้สินสมรสทั้งหมดรวมทั้งที่ดินพร้อมบ้านพิพาทตกเป็นของ
ผู้ร้องนั้น เป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินตาม ป
... มาตรา ๑๕๓๒ มีผลบังคับผูกพันสามีภริยานับแต่นายทะเบียนจดทะเบียนการหย่าแล้ว หากจำเลยที่ ๒ ผิดสัญญา ผู้ร้องในฐานะคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ ๒ ปฏิบัติตามสัญญาได้ แต่เมื่อผู้ร้องยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทในส่วนที่เป็นสินสมรสของจำเลยที่ ๒ จึงยังไม่ตกเป็นของผู้ร้องตาม ป...
มาตรา ๑๒๙๙ วรรคหนึ่ง..........


๙. คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๓๘๒/๒๕๔๐ โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินที่โจทก์อ้างว่าโจทก์จำเลยหามาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาก่อนจดทะเบียนสมรส เท่ากับโจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ที่โจทก์อ้างว่ามีอยู่ก่อน
สมรสอันเป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๑
()
ซึ่งแต่ละฝ่ายในฐานะเจ้าของย่อมมีอำนาจจัดการเองได้โดยลำพังตามมาตรา ๑๔๗๓ และมาตรา ๑๓๓๖ แม้ต่อมาจะจดทะเบียนสมรสกัน ก็ไม่ทำให้สินส่วนตัวนั้นกลับเป็นสินสมรสได้ จึงไม่ใช่การฟ้องร้องเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา อันต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ หมวด ๔ ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา และการห้ามมิให้สามีหรือภริยายึดหรืออายัดทรัพย์สินของอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องร้องอีกฝ่ายหนึ่ง ตามมาตรา ๑๔๘๗
ก็ไม่ใช่ห้ามมิให้ฝ่ายหนึ่งฟ้องร้องอีกฝ่ายหนึ่งให้แบ่งทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมที่มีอยู่ก่อนสมรส เมื่อโจทก์
มีหนังสือขอแบ่งที่ดินดังกล่าวไปยังจำเลยแล้วจำเลยไม่แบ่งให้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินได้
ตามมาตรา ๑๓๖๓


๑๐. คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๙๑/๒๕๔๑ ส. กับจำเลยที่ ๒ จดทะเบียนหย่ากันและได้ทำบันทึกข้อตกลงยกที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่ ๑ กับพวกซึ่งเป็นบุตรและยังเป็นผู้เยาว์ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๓๒ และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ ๑ กับพวกซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามมาตรา ๓๗๔ สิทธิของจำเลยที่ ๑ กับพวกจะเกิดขึ้นเมื่อได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น ตามมาตรา ๓๗๔ วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ ๑
กับพวกได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ ๑
กับพวกจึงยังไม่มีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาท ส. ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของย่อมสามารถโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่บุคคลอื่นได้


๑๑. คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๕๔๔/๒๕๔๒ แม้การที่ ร. ให้ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสโดยเสน่หาแก่
จำเลยโดยมิได้รับความยินยอมเป็นหนังสือของโจทก์ ซึ่งเป็นคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๖
() และ ๑๔๗๕ เมื่อมิได้รับความยินยอมเป็นหนังสือของโจทก์ และโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการให้ดังกล่าวภายในกำหนดเวลา ๑ ปี นับแต่วันที่ได้รู้เรื่องที่ ร. จดทะเบียนการให้ที่ดินแก่จำเลยที่ ๒ หรือภายใน ๑๐ ปี นับแต่วันจดทะเบียนการให้ตาม มาตรา ๑๔๘๐ ได้ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนการให้ ดังนี้ ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย และจำเลยมิได้ครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะทายาทของ ร. ที่จะต้องมีหน้าที่แบ่งสินสมรสให้โจทก์แทน ร.
แต่จำเลยครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของ
กรรมสิทธิ์เนื่องจากได้รับยกให้จาก ร
. จำเลยจึงไม่มีหน้าที่แบ่งสินสมรสดังกล่าวของ ร.
ให้โจทก์การทำพินัยกรรม มิใช่เป็นการจัดการสินสมรสที่จะต้องได้รับความยินยอมคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๖ วรรคหนึ่งแม้ ร. มีสิทธิทำพินัยกรรมยกบ้านพิพาทที่เป็นสินสมรสระหว่าง ร. กับโจทก์ส่วนที่ ร. มีกรรมสิทธิ์อยู่ครึ่งหนึ่งให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๖ วรรคสอง ได้ก็ตาม แต่ ร. ก็ไม่
มีสิทธิทำพินัยกรรมยกกรรมสิทธิ์ในบ้านส่วนของโจทก์อีกครึ่งหนึ่งให้แก่จำเลยได้ การที่ ร
.
ทำพินัยกรรมยกบ้าน
สินสมรสทั้งหลังให้แก่จำเลยจึงไม่มีผลผูกพัน ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ในฐานะเป็นเจ้าของมีสิทธิฟ้องติดตามเอาคืนทรัพย์ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้โดยไม่มีกำหนดเวลาการใช้สิทธิ เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิ โดยโจทก์ไม่ต้องฟ้องร้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมของ ร
.
ก่อน


๑๒. คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๔๗๗/๒๕๔๒ การพิจารณาว่าทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสามีภริยาเป็นประเภทใด ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา
จำเลยได้รับที่ดินพิพาทโดยทางพินัยกรรมในระหว่างสมรสและไม่มีการระบุว่าให้เป็นสิน
สมรสหรือสินส่วนตัวเมื่อปี พ..๒๕๐๙ ในขณะที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ เดิม ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยตามบรรพ ๕ เดิม มาตรา ๑๔๖๖ วรรคหนึ่ง แม้ต่อมาจะได้มีการแบ่งแยกที่ดินและออกโฉนดใหม่เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ ที่ตรวจชำระใหม่ พ..๒๕๑๙
ใช้บังคับแล้ว ก็เป็นเรื่องการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ไม่ทำ
ให้ที่ดินพิพาทหลังจากแบ่งแยกโฉนดแล้วเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวตามมาตรา ๑๔๗๑ ()


๑๓. คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๙๖๑/๒๕๔๔ ป.พ.พ.มาตรา ๑๕๓๔ ที่บัญญัติว่า ”สินสมรสที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจำหน่ายไป…..ให้ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสตามมาตรา ๑๕๓๓ …..” นั้น เป็นการแบ่งสินสมรสที่ฝ่ายหนึ่งจำหน่ายจ่ายโอนไปหรือทำให้สูญหายไปโดยมิชอบ ในกรณีที่หย่ากันให้แบ่งทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวม จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๑๕๓๔ ดังกล่าว โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินกึ่งหนึ่ง เมื่อจำเลยขายที่ดินไปได้เงินเท่าใด โจทก์ก็ควรได้รับเงินกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่จำเลยขายไป มิใช่กึ่งหนึ่ง
ของราคาที่ดินปัจจุบัน การกำหนดมูลค่าที่ดินที่จำเลยจำหน่ายจ่ายโอนไปก่อนฟ้องเพื่อเป็นฐานในการคิดคำนวณค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชดใช้ให้แก่โจทก์จึงต้องคิดจากราคา ณ วันที่จำเลยจำหน่ายจ่ายโอน


๑๔. คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๖๕๐/๒๕๔๕ โจทก์และจำเลยได้ร่วมกันดำเนินกิจการร้านเสริมสวยตั้งแต่ก่อนจดทะเบียนสมรสกัน กิจการร้านเสริมสวยดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยมีอยู่แล้วก่อนสมรส จึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๗๑ (๑) โจทก์ลงทุนในกิจการดังกล่าว ๒๐๐,๐๐๐ บาท ส่วนจำเลยลงทุน ๑๐๐,๐๐๐ บาท กิจการร้านเสริมสวยจึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยตามสัดส่วนของเงินลงทุน คือ ๒ ต่อ ๑
ที่ดินและห้องชุดทั้งสี่ห้องจำเลยได้รับโอนมาภายหลังจากโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกัน
แล้ว ส่วนเงินดาวน์ของที่ดินและของห้องชุดที่จำเลยนำไปชำระนั้น จำเลยถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารซึ่งเป็นเงิน
สินส่วนตัวของจำเลย แต่เงินในบัญชีดังกล่าวมีเงินรายได้จากกิจการร้านเสริมสวยรวมอยู่ด้วย ซึ่งเงินรายได้
ดังกล่าวเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลย และไม่อาจแยกได้ว่าส่วนไหนเป็นเงินสินส่วนตัวของจำเลย ส่วนไหนเป็นเงินสินสมรสได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่อาจฟังได้ว่า มีเงินสินส่วนตัวของจำเลยเข้ามาปะปนอยู่กับเงินดาวน์ของที่ดินและของห้องชุดทั้งสี่จำนวนเท่าใด กรณีจึงต้องถือตามข้อสันนิษฐาน ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๗๑ วรรคท้าย ว่า เงินดาวน์ดังกล่าวเป็นสินสมรสด้วย ที่ดินและห้องชุดทั้งสี่ห้องจึงเป็นสินสมรสเต็มจำนวนที่ต้องแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง..........

ข้อควรระวังในการจดทะเบียน ลงชื่อคู่สมรส” “แบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส

() การจดทะเบียนประเภทลงชื่อคู่สมรสเป็นการจดทะเบียนลงชื่อสามีภรรยาในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินอันเป็นสินสมรสซึ่งมีชื่อสามีหรือภรรยาเป็นเจ้าของอยู่แต่เพียงฝ่ายเดียว เพื่อให้สามีและภรรยามีชื่อเป็นเจ้าของร่วมกันตามนัยมาตรา ๑๔๗๕ แห่ง ป... ซึ่งมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญคือ ที่ดินนั้นต้องเป็นสินสมรส และคู่กรณีต้องเป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย สำหรับการจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส ที่ดินที่จะจดทะเบียนต้องเป็นสินสมรสและคู่กรณีต้องเป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน แต่ต่างกันตรงที่ว่าการจดทะเบียนประเภทแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสเป็นการจดทะเบียนไปตามข้อตกลงในการแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสหลังจากที่ได้หย่าขาดจากกันแล้ว กล่าวคือ ในขณะเมื่อยังเป็นสามีภรรยากันอยู่ สินสมรสย่อมเป็นสิทธิของสามีภรรยาร่วมกันในทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งถ้าสินสมรสนั้นเป็น ที่ดินมีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินและมีชื่อคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นเจ้าของแต่ฝ่ายเดียว หากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจะขอจดทะเบียนเพื่อให้มีชื่อเป็นเจ้าของร่วมกันก็จดทะเบียนในประเภทลงชื่อคู่สมรส ต่อเมื่อได้หย่าขาดจากกันไม่ว่าจะเป็นการหย่าโดยความยินยอมหรือไม่ก็ตามมาตรา ๑๕๓๒ แห่ง ป... บัญญัติให้มีการจัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภรรยา ซึ่งในการจัดการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยานี้ตามมาตรา ๑๕๓๓ บัญญัติว่า เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากันสามีภรรยาจะจัดการแบ่งกันอย่างไร ทรัพย์สินใดเป็นของฝ่ายใดก็สุดแล้วแต่สามีภรรยาจะตกลงกัน ไม่จำเป็นที่จะต้องเอาทรัพย์สินแต่ละอย่างมาแบ่งกันคนละครึ่ง แต่เมื่อแบ่งกันแล้วทรัพย์สินที่แต่ละฝ่ายได้ไปทั้งหมดรวมกันแล้วต้อง
มีมูลค่าเท่ากัน เช่น โฉนดที่ดินมีชื่อสามีเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ต่อมาเมื่อหย่าร้างกันคู่สมรสอาจตกลงกันให้ที่ดินแปลงนี้ตกเป็นของภรรยาคนเดียวก็ได้ หรือสามีภรรยาอาจจะตกลงแบ่งโดยให้สินสมรสชิ้นใดชิ้นหนึ่งเป็นของ
ทั้งสองคนถือกรรมสิทธิ์รวมกันไปก็ได้ ซึ่งไม่ว่าคู่กรณีจะตกลงแบ่งกันอย่างไรก็ต้อง จดทะเบียนในประเภทแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากกรณีเป็นเรื่องที่ตกลงกันให้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันต่อไปตามตัวอย่างข้างต้น ในการจดทะเบียนพนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะต้องจดทะเบียนลงชื่อภรรยาให้ปรากฏในโฉนดที่ดินทำนองเดียวกันกับการจดทะเบียนลงชื่อคู่สมรส แต่ต้องจดทะเบียนในประเภท
แบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส

มิใช่จดทะเบียนในประเภทลงชื่อคู่สมรส


() กรณีที่โฉนดที่ดินมีชื่อสามีแต่เพียงผู้เดียว ต่อมาเมื่อหย่ากันได้ตกลงแบ่งทรัพย์สินให้ที่ดินแปลงนี้เป็นของภรรยาฝ่ายเดียว ซึ่งที่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องจดทะเบียนให้ในประเภทแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมไม่มีทุนทรัพย์แปลงละ ๕๐ บาท แต่พนักงานเจ้าหน้าที่บางคนได้
จดทะเบียนให้ในประเภท
ให้และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมมีทุนทรัพย์ในอัตราร้อยละ ๒ ซึ่งไม่ถูกต้อง


ค่าธรรมเนียม


การจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส เป็นการจดทะเบียนประเภทไม่มีทุนทรัพย์ เรียกเก็บค่า
ธรรมเนียมแปลงละ ๕๐ บาท ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๗
(..๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.. ๒๔๙๗ ข้อ ๒ ()() ทั้งนี้ไม่ว่าที่ดินแปลงที่จดทะเบียนคู่กรณีจะได้ตกลงให้แก่กันเกินครึ่งแปลงนั้น ๆ หรือไม่ เช่น โฉนดที่ดินที่มีชื่อสามีเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์คู่กรณีได้จดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสให้แก่ภริยาไปทั้งแปลงเช่นนี้ ต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแปลงละ ๕๐ บาท (หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๐๘/๒๖๗๖๑ ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๓ ตอบข้อหารือจังหวัดชลบุรี เวียนโดยหนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๐๘/ ๒๗๐๐๖ ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๗)



ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย



การแบ่งสินสมรสที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีราคาของแต่ละฝ่ายเท่ากันไม่ถือเป็นการ
ขาย ตามมาตรา ๓๙ แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ แต่ถ้าในการแบ่งสินสมรสฝ่ายใดได้ไปเกินกว่าส่วนของตนตามกฎหมายต้องถือว่าฝ่ายที่ยอมให้ส่วนของตนเกินไปให้กับอีกฝ่ายหนึ่งนั้นเป็นผู้ให้ ซึ่งถือว่าเป็นการ ขายจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้โดยการหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งคำนวณจากราคาอสังหาริมทรัพย์ เฉพาะส่วนที่เกินไปนั้น (หนังสือกรมสรรพากร ที่ กค ๐๘๐๒/๒๒๒๙๗ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๒๕ ซึ่งกรมสรรพากรได้เวียนให้ทุกจังหวัดทราบ ตามหนังสือกรมสรรพากร ที่ กค ๐๘๐๒/๖๓๗ ลงวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๒๖ , คำสั่งกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๐๘/๒๖๗๖๑ ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๗ ตอบข้อหารือจังหวัดชลบุรี เวียนโดยหนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๐๘/ว ๒๗๐๐๖ ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๗)

อากรแสตมป์





การจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส ไม่มีกรณีที่จะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร

ส่วนมาตรฐานการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน
พฤษภาคม ๒๕๔๘
___________________





คำสั่งที่ ๖/๒๔๙๘
เรื่อง จดทะเบียนประเภทแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส

_________________

เนื่องจากการแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสซึ่งหย่าขาดจากกันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินมักจะเกิดขึ้นบ่อย ๆ และบางกรณีเป็นเรื่องซึ่งสามีภรรยาต่างได้ตกลงแบ่งที่ดิน หรือโอนที่ดินให้แก่กันแต่ละฝ่ายเกินปริมาณ
ที่จำกัดไว้ตามมาตรา ๓๔ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งในกรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นการได้มาซึ่งที่ดินใหม่ เพราะเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาซึ่งมีอยู่แต่เดิม จึงเห็นสมควรวางระเบียบในการจดทะเบียนดังต่อไปนี้ คือ
. เมื่อสามีภรรยาหย่าขาดจากกัน และประสงค์จะแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสเกี่ยวกับที่ดิน โดยขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่กันและกันแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินเรียกหลักฐานการหย่าขาดจากสามีภรรยา เช่น คำพิพากษา หรือหนังสือสัญญาหย่าระหว่างกันมาตรวจสอบดูเสียก่อน ถ้าในกรณีที่จะต้องจดทะเบียนหย่า ให้เรียกหลักฐานการจดทะเบียนหย่ามาแสดงด้วย

. เมื่อเห็นว่ามีการหย่าขาดจากกันถูกต้องแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินรับจดทะเบียนให้ใน
ประเภท แบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสโดยให้คู่สมรสยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และแก้ทะเบียนตามตัวอย่างท้ายคำสั่งนี้. ในการแก้สารบัญรายชื่อ สารบัญที่ดิน ให้ใช้อักษรย่อว่า ..”
. ค่าธรรมเนียมให้เรียกเก็บตามกฎกระทรวง (ฉบับที่ ๑๐) ..๒๔๙๗ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๔๙๗ ข้อ ๕ ()
อนึ่ง ในกรณีซึ่งในโฉนดที่ดินมีชื่อสามีภรรยาร่วมกัน แต่ไม่ประสงค์จะโอนส่วนของตนให้แก่กัน ต้องการจะแบ่งแยกออกจากกัน ให้อนุโลมดำเนินการอย่างจดทะเบียนประเภทแบ่งระหว่างเจ้าของเดิม ตลอดจนค่าธรรมเนียมให้เรียกเก็บเช่นเดียวกัน


กรมที่ดินสั่ง ณ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๙๘(ลงชื่อ) . ไทยวัฒน์(นายศักดิ์ ไทยวัฒน์)
อธิบดีกรมที่ดิน









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น