วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พัฒนาการของสมอง แรกเกิดถึงวัยรุ่น

  พัฒนาการของสมอง แรกเกิดถึงวัยรุ่น


พัฒนาสมองในวัยต่างๆ


แรกเกิดถึงวัยรุ่น



    เข้าได้กับระยะการพัฒนาการที่แบ่งโดย Jean Piaget ซึ่งแบ่งเป็น 4 ระดับ
  1. Sensorimotor stage (0-2 ปี) ระยะนี้เด็กจะพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ และการมองเห็น เรียนรู้เฉพาะสิ่งที่เป็นรูปธรรมโดยสัมผัส และมีปฏิกิริยาต่อสิ่งแวดล้อม แก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก
  2. Pre-Operational stage (2-7 ปี)พัฒนาการด้านภาษา แต่ยังคิดเป็นนามธรรมไม่ได้ ต้องเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เช่น เรียนรู้ธรรมชาติ วัตถุ มีความคิดรวบยอด และมีเหตุผลบ้าง
  3. Concrete Operation (7-11 ปี)เกี่ยวกับเรื่องความคิดรวบยอด และสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้บ้าง และเรียนรู้ผ่านการกระทำ มีเหตุผลสามารถคิดกลับไปกลับมาได้ มองสิ่งต่างๆ ได้หลายแง่หลายมุมมากขึ้น สามารถแบ่งแยกหมวดหมู่มากขึ้น
  4. Formal Operation (11-15 ปี) ความคิดเหมือนผู้ใหญ่ คิดซับซ้อนขึ้น มีความคิดแบบมีวิจารณญาณ ไตร่ตรอง สามารถเข้าใจ สิ่งที่เป็นนามธรรมได้ดีขึ้น สามารถใช้เหตุผลอธิบาย และแก้ปัญหา ตัดสินใจ และมองความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ได้

ในการประชุมสัมมนาที่ White house เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2541 ได้สรุปผลวิจัยเกี่ยวกับสมองและรวบรวมความรู้ต่างๆในการอบรมเลี้ยงดูเด็กไว้บริการให้ประชาชนอเมริกามีความรู้ใน website http://www.nncc.org/ เพื่อให้ประชาชนอเมริกามีความรู้ในการพัฒนาเด็กให้ถูกทาง ซึ่งได้รวบรวมไว้ดังต่อไปนี้



การพัฒนาของเด็กวัย 3 ขวบ



ช่วงวัยเด็ก 3 ขวบนี้ เป็นวัยที่ช่างสงสัย เต็มไปด้วยคำถาม การเฝ้าดู สังเกตและเลียนแบบ และยุ่งอยู่กับการสำรวจโลกใบน้อยๆ ของพวกเขา

เด็กวัย 3 ขวบนี้จะสนใจเกี่ยวกับการฝึกทักษะอย่างมาก เช่น จะเล่นไม้ลื่นหรือขี่จักรยานสามล้อ หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เขาชอบได้นานๆ

เด็กวัย 3 ขวบจะจำเรื่องราวในอดีตได้น้อยมาก และยังไม่เข้าใจเรื่อง "เมื่อวานนี้" หรือ "วันพรุ่งนี้" เหมือนที่ผู้ใหญ่เข้าใจ เด็กจะชอบทำกิจกรรมซ้ำๆ ซากๆ หรืออาจจะทำ หรือไม่ทำก็ได้ เช่น การต่อภ่พใหญ่จากชิ้นส่วนย่อยๆ รวมกัน ช่วงอายุในวัยเด็ก 3 ขวบนี้ เป็นช่วงสำคัญที่จะทำให้เข้าใจ ถึงการเปลี่ยนแปลง และความต่อเนื่องที่เกิดขึ้น ในเวลาต่อมา



    การพัฒนาด้านสติปัญญา

  • พูดประโยคสมบูรณ์ได้โดยใช้คำ 3-5 คำ เช่น คุณแม่กำลังดื่มน้ำผลไม้ หรือ มีสุนัขตัวใหญ่หนึ่งตัว
  • สามารถฟังนิทานหรือหนังสือสั้นๆได้อย่างตั้งใจ
  • ชอบฟังนิทานช่วงทำนองง่ายๆ ซ้ำๆซากๆที่ใช้คำเดิม
  • สามารถที่จะเล่านิทานจากรูปหรือหนังสือง่ายๆได้
  • ต่อลูกบล็อกได้ 5-7 หล็อก
  • สนุกสนานกับการเล่นปั้นดินปั้นแป้งโด (ให้เป็นก้อน แท่ง กลมๆ หรือบิด)
  • สามารถต่อภาพด้วยชิ้นส่วน 6 ชิ้น
  • วาดวงกลม และสี่เหลี่ยมจตุรัสได้
  • จับคู่รูปภาพได้
  • เข้าใจสีพื้นๆ ได้ เช่น สีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง สีเขียว
  • สามารถนับสิ่งของได้ 2-3 สิ่ง
  • สามารถแก้ปัญหาได้ถ้าเด็กต้องการในเรื่องง่ายๆ
  • สนใจเรื่องความเหมือนความต่าง
  • สามารถแยกแยะ จับคู่ และเรียกสีได้
  • สามารถบอกอายุตนเองได้



    การพัฒนาด้านร่างกาย
  • ใส่รองเท้าได้ด้วยตนเอง (ยังไม่สามารถผูกเชือกรองเท้าด้วยตนเองได้)
  • แต่งตัวได้โดยผู้ใหญ่ให้ความช่วยเหลือบ้าง (การติดกระดุม การรูดซิป)
  • ป้อนข้าวเองได้ (อาจหกเลอะเทอะบ้าง)
  • กระโดดขาเดียวได้
  • ขี่จักรยานสามล้อได้
  • เดินเป็นเส้นตรงได้
  • สามารถยืน ทรงตัว และกระโดดขาเดียวได้
  • กระโดดข้ามสิ่งกีดขวางสูง 6 นิ้วได้
  • สามารถใช้ช้อนส้อมและทาเนยได้
  • สามารถแปรงฟัน ล้างมือ และดื่มน้ำด้วยตนเองได้


    การพัฒนาด้านอารมณ์ และสังคม

  • ยอมรับคำแนะนำ และทำตามคำสั่งง่ายๆ
  • ชอบช่วยเหลือทำงานบ้าน
  • ช่างสังเกต และชอบเฝ้าดู
  • ชอบเล่นกับเด็กคนอื่นเป็นระยะเวลาสั้นๆ แต่ยังคงไม่รู้จักการแบ่งปันหรือเล่นร่วมกัน


    แนวคิดสำหรับผู้เลี้ยงดูเด็ก

  • เรื่องราวใช้ห้องน้ำ เด็กหลายคน(โดยเฉพาะเด็กผู้ชาย) ไม่มีความพร้อมเรื่องราวใช้ห้องน้ำด้วยตนเอง จนกระทั่งอายุมากกว่า 3 ขวบขึ้นไป บางครั้งอาจมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ดังนั้น ควรมีอารมณ์เย็น และหลีกเลี่ยงการทำให้เด็กอาย
  • ฝึกพัฒนาการทำงานประสานกันระหว่างการใช้มือและตา โดยใช้มือและตา โดยใช้เชือกรองเท้า ลอดผ่านกระดุมเม็ดใหญ่ หรือลูกปัดเก่าๆ
  • เล่นลูกบอล สอนให้เด็กรู้จักขว้างลูกบอล จับ และเตะลูกบอลขนาดต่างๆ
  • สอนเด็กให้รู้จักกระโดดเหมือนกระต่าย เดินปลายเท้าเหมือนนก และเดินอย่างเป็ด เลื้อยเหมือนงู และวิ่งเหมือนกวาง
  • สนทนากับเด็กบ่อยๆ โดยใช้ประโยคสั้นๆ ถามคำถาม และฟัง
  • ช่วยเพิ่มคำข้อความในประโยคพูดของเด็ก "ใช่แล้ว นั่นคือดอกไม้ ดอกไม้ที่สูง สีแดง กลิ่นหอม"
  • สอนเด็กให้รู้จักและจำชื่อนามสกุลของตนเองให้ได้
  • จัดหาหนังสือให้เด็กได้อ่าน และอ่านเล่มเดิมให้เด็กฟังหลายๆครั้ง อ่านบทโคลงกลอนเป็นช่วงจังหวะทำนอง ส่งเสริมให้เด็กฟังเรื่องเดิมซ้ำๆ และคุยกันในแง่คิดต่างๆ คติธรรม และเหตุการณ์ต่างๆ อ่านชื่อเรื่องและชี้จุดสำคัญๆ ในหน้านั้นๆ ชุดนั้นๆ และเคื่องหมายจราจร
  • ส่งเสริมการอ่านการเขียน โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม จัดเตรียมกระดาษ สมุดบันทึกเล็กๆ และปากกาสำหรับใช้ ในการทดลองละคร
  • นับสิ่งของ เช่น คุ้กกี้ ถ้วย ผ้ากันเปื้อน หรือตุ๊กตา ถ้าเป็นไปได้มีโอกาสช่วยในการใช้มาตรวัด และนับโดยให้เด็กได้มีโอกาส ช่วยในการใช้มาตรวัด และนับตามไปพร้อมๆ กับผู้ปกครองทีละชิ้นๆ
  • อธิบายว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรและทำไม โดยใช้หนังสืออ้างอิงช่วยเด็กทำการทดลองวิทยาศาสตร์แบบง่ายๆ เช่น ความน่าสนใจของแม่เหล็ก น้ำที่ถูกแช่แข็ง การปลูกต้นไม้ การเล่นว่าวในวันที่ลมแรง
  • จัดเตรียมชุดของเล่น คุยถึงความเหมือนความต่าง เช่น อธิบายลำดับขั้นตอนการทำอาหาร ให้เด็กทำการทดลองด้วยก๊อกน้ำ เครื่องมือ สวิทเปิดปิดไฟ ลูกบิดประตู กลอนประตู
  • ร้องเพลงง่ายๆด้วยเครื่องมือง่ายๆ เช่น ดัดแปลงกล่องให้เป็นกลอง การเต้นรำทำเพลงโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของร่างกาย เล่นเกมรีๆข้าวสาร อีมอญซ่อนผ้า
  • ศิลปะซึ่งเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างเต็มที่ ขอให้หลีกเลี่ยงการพูดถามว่า อะไร ในขณะที่เด็กกำลังวาด เด็ก 3 ขวบ อาจจะยังไม่รู้หรือไม่สนใจ แต่ขอให้เขาได้สนุกกับกระบวนการในการวาดอย่างง่ายๆ ก็พอ
  • วาดหน้าคนบนถุงเท้าเก่าๆ และแสดงให้เด็กรู้ถึงการเล่นหุ่นมือ
  • พูดถึงสี ตัวเลข และรูปร่างในการสนทนาทุกวัน "เราต้องการไข่ 1 ฟอง นั่นรถสีแดง เนยอยู่ในกล่อยสี่เหลี่ยมเล็กๆ"
  • ขอให้เด็กๆ ได้ช่วยงานบ้าน เช่น เก็บถุงเท้าในลิ้นชัก รดน้ำต้นไม้



การพัฒนาของเด็กวัย 4 ขวบ


เด็กวัย 4 ขวบ จะเป็นเด็กวัยที่ใช้พลังงานไปกับการเล่น เล่น และเล่น เป็นวัยที่มีจินตนาการ ไม่มีความอดทน และชอบทำตนเป็นตัวตลกชวนหัว ภาษาของเด็กวัย 4 ขวบนี้ จะพูดจาเล่นคำใช้เสียงที่ดัง ตะโกนและหัวโหกฮา

เด็ก 4 ขวบ จะมีจินตนาการที่ยิ่งใหญ่กว่าความเป็นจริง ซึ่งมักจะปฏิเสธความจริง และมักจะถูกทำให้เชื่อ และการพูดจาโอ้อวดเกินจริง ถือเป็นเรื่องปกติของเด็กวัยนี้

เด็กวัย 4 ขวบนี้จะรู้สึกดีหากได้แสดงออก ในสิ่งที่ตนต้องการแสดงให้เห็นถึง ความเชื่อมั่นในตัวเอง และเต็มใจที่จะลองของใหม่ ผจญภัยในสิ่งแปลกใหม่เด็ก ชอบแข่งวิ่งขึ้นลงบันไดหรือวิ่งตามมุมห้อง ขี่จักรยาน ผู้ปกครองหรือครู ยังคงต้องเฝ้าดูแลเขาอย่างใกล้ชิด เพราะเขายังไม่รู้ถึงภัย ที่จะมาถึงข้างหน้า จากการเล่นที่เขายังไม่สามารถ ประเมินความสามารถของตนเองได้อย่างถูกต้องนั่นเอง การออกแรงมากเกินไป การวิ่งเร็วอย่างไม่คิดชีวิต อาจทำให้เขาประสบอุบัติเหตุได้


    การพัฒนาด้านสติปัญญา



  • สามารถเรียงลำดับสิ่งของจากใหญ่ไปเล็กได้
  • สามารถจดจำตัวอักษรที่ได้เรียนได้ และสามารถเขียนชื่อตนเองได้
  • จำคำในหนังสือง่ายๆได้ หรือเครื่องหมายง่ายๆ
  • เข้าใจความหมาย สูงที่สุด ใหญ่ที่สุด เท่ากัน มากกว่า บน ใน ใต้ เหนือ
  • นับสิ่งของ 1-7 ได้ด้วยเสียงดัง แต่บางครั้งอาจไม่เรียงตัวเลขกัน
  • เข้าใจลำดับก่อนหลัง ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน (อาหารเช้าก่อนอาหารกลางวัน อาหารกลางวันก่อนอาหารเย็น อาหารเย็นก่อนเวลาเข้านอน)
  • สามารถรู้ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ถ้าได้รับการสอน
  • ถามและตอบคำถาม เกี่ยวกับ ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม
  • รู้จักสี 6-8 สี และรูปทรง 3 ประเภท
  • สามารถทำตามคำสั่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันได้ 2 คำสั่ง "เอานมวางบนโต๊ะ และไปใส่เสื้อกันฝน"
  • มีความเข้าใจพื้นฐานของหลักการที่สัมพันธ์กับตัวเลข ขนาด น้ำหนัก สี ระยะทาง ตำแหน่ง เวลา
  • เข้าใจเรื่องราวในอดีตที่ผ่านไปไม่นานเช่น เข้าใจว่ามีอะไรเกิดขึ้นเมื่อวานนี้ แต่ยังไม่เข้าใจปฏิทิน




    การพัฒนาด้านร่างกาย

  • แต่งตัวได้โดยต้องได้รับความช่วยเหลือนิดหน่อย (ช่วยผูกเชือกรองเท้า)
  • ทานอาหาร แปรงฟัน หวีผม ล้าง แต่งตัว ด้วยตนเองได้
  • วิ่ง กระโดด ข้ามสิ่งกีดขวางได้คล่อง
  • ต่อบล็อกได้มากกว่า 10 บล็อก
  • ปั้นแป้งเป็นรูปสิ่งของได้และรูปสัตว์ได้ในบางครั้ง
  • ร้อยลูกปัดเม็ดเล็กได้




    การพัฒนาด้านอารมณ์ และสังคม

  • ส่วนใหญ่จะรู้จักการรอคิวและแบ่งปัน ; บางทีก็ยังคงค่อนข้างเป็นคนเจ้ากี้เจ้าการ
  • ส่วนเด็กจะเข้าใจและเชื่อฟังกฎเกณฑ์ง่ายๆ
  • เปลี่ยนกฎเกณฑ์การเล่นเกมตามที่เขาต้องการ
  • มักใช้คำถามว่า ทำไม
  • คุยโอ้อวด และชอบการแสดงออกแสดงความเป็นเจ้าของ
  • มีความกลัวความมืด และภูติผีปีศาจ
  • เริ่มมีความเข้าใจถึงอันตรายในทุกครั้งที่เด็กมีความกลัวสุดขีด
  • มีความยากลำบากในการแยกแยะในเรื่องที่สร้างขึ้น (make believeX หรือสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริง (reality)
  • บางครั้งจะพูดโกหก เพื่อปกป้องตนเองและเพื่อน โดยไม่มีความเข้าใจที่แท้จริงในสิ่งที่ทำลงไป แต่มักเกิดจาก จินตนาการของเด็กที่เกิดขึ้น และพาไปสู่การพูดโกหก
  • ส่วนใหญ่จะแสดงอาการโกรธ ด้วยคำพูด มากกว่าการแสดงออกทางร่างกาย คือ ร้องไห้
  • ยังคงระเบิดอารมณ์บูดออกมา มากกว่าการเก็บกดภายใน
  • สนุกสนานกับการสมมติตัวละคร ไปตามจินตนาการกับการได้เล่นกับเพื่อน
  • สนุกสนานกับการได้เล่นบทละครต่างๆ




    แนวคิดสำหรับผู้เลี้ยงดูเด็ก

  • อ่านหนังสือดังๆ และหลอกล่อเด็กให้รู้จักดูหนังสือของเขาเอง สร้างทางเลือกการเรียนรู้การอ่านจากการอ่านตั๋วต่างๆ ไปรษณีย์ภัณฑ์ต่างๆ โฆษณาในหนังสือพิมพ์ และกล่องขนมเก่าๆ ที่สะสมเอาไว้
  • พูดถึงทำนองจังหวะง่ายๆ พร้อมๆ กับการใช้นิ้วมือไปด้วยกัน หลอกล่อให้เด็กวัย 4 ขวบ เรียนรู้และเล่านิทานให้เด็กวัยอ่อนกว่าฟัง
  • เบนความสนใจไปที่การเขียนและการใช้คำ จัดหากระดาษและสมุดบันทึกเพื่อเขียน พิมพ์อักษรและตัวเลขบนงานศิลปะ และให้สัญญลักษณ์ชั้นวางของ เล่นด้วยรูปภาพ และคำอธิบายถึงสิ่งนั้นๆ
  • จัดเตรียมงานด้านศิลปะให้หลากหลาย การเล่นแป้งโด สร้างเรื่องราวจากรูปภาพในวารสารต่างๆ จากผ้า จากข่าวพิมพ์ และจากวอลล์เปเปอร์ ส่งเสริมให้เด็กทำการทดลองจากสื่อใหม่ๆ เช่น จุกก๊อกและเส้นลวด หลอด เส้นด้าย สอนเด็กให้เรียนรู้ถึงการผสมสีต่างๆ และระบายสี
  • ให้ความสำคัญกับการสอนตัวเลขและระยะห่าง การเรียงลำดับการนับจากสิ่งของที่เห็นได้ เช่น เครื่องเงิน ถุงเท้า ก้อนหิน ใบไม้ การรู้ถึงระยะห่าง ข้างบน ข้างใน ข้างหลัง ข้างๆ ก่อน หลังใหญ่กว่า ไกลกว่า เป็นต้น
  • สอนเด็กให้รู้วิธีการใช้โทรศัพท์
  • เด็กวัย 4 ขวบ มีความต้องการอย่างแรงกล้า และรู้สึกถึงความสำคัญและคุณค่า การชมเชยเมื่อเด็กทำได้สำเร็จ และให้โอกาสแสดงออกถึงความคิดอิสระ และเป็นตัวของตัวเอง
  • สอนให้รู้จักสังเกตุจุดเด่นรอบๆ ละแวกบ้าน ใกล้เคียงเพื่อสามารถรู้ทางไปหาเพื่อนบ้านได้
  • ส่งเสริมให้เกิดพัฒนาการทางด้านร่างกาย การเล่นตามหัวหน้าผู้นำ การเดินเลียนแบบตามสัตว์ต่างๆ การเล่นในที่ร่มอย่างท้าทาย เช่น การคลาน การปีน การกระโดดเหมือนกบ การทรงตัว การวิ่งข้ามก้อนหิน การเดินโดยมีถุงถั่ววางบนศีรษะ
  • ให้เด็กเรียนรู้ถึงชีวิตและความเป็นอยู่ โดยให้เด็กช่วยสร้างที่ให้อาหารของนก และแขวนในกรง ให้บันทึกชนิดของนก และให้รู้จักแยกแยะนกได้
  • ให้เด็กช่วยผู้ปกครองวางแผนการปลูกต้นไม้ในสวน เด็กจะรักการรดน้ำต้นไม้ทุกวัน และจะสนุกกับการสังเกต และวัดผลการเจริญเติบโตของต้นไม้
  • รู้จักแยกแยะความแตกต่างของขนบธรรมเนียมที่ต่างกันได้จากตุ๊กตา หุ่นมือ รูปภาพ และหนังสือ ส่งเสริมเรื่องวัฒนะธรรม โดยให้เด็กเรียรู้จากครอบครัว เพลง ข้อมูลข่าวสารการจัดงานเฉลิมฉลองต่างๆ
  • จัดการแสดงละคร เกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ เช่น ร้านขายของชำ ร้านพิซซ่า งานเลี้ยงวันเกิด และการดับไฟ


การพัฒนาของเด็กวัย 5 ขวบ


เด็กวัย 5 ขวบ เป็นวัยที่ร่าเริง แจ่มใส ใช้พลังงานกับการเล่น และกระตือรือร้น ชอบวางแผน และถกคุยกันว่าใครจะเป็นคนทำอะไร เด็กวัยนี้จะสนใจการเล่นละคร กับเด็กคนอื่นๆ มีอารมณ์อ่อนไหว เกี่ยวกับความต้องการ และความรู้สึกของคนอื่นรอบๆ ตัวเขา รู้จักการรอคอยและการแบ่งปันให้คนอื่น "เพื่อนที่ดีที่สุด" จะมีความหมายต่อเขามากในวัยนี้

ส่วนใหญ่เด็กวัย 5 ขวบ กำลังจะเข้าโรงเรียนอนุบาล เข้าจะมีความรู้สึกอยากกลับบ้านหลังเลิกเรียนมาพักผ่อนและเล่น ในสิ่งที่เขาอยากเล่น โดยไม่ต้องมีใครบอกให้ทำอย่างโน้นทำอย่างนี้ หรือต้องทำตามกลุ่มเพื่อนให้ทัน ในช่วงบ่ายของการเรียนอนุบาล จึงต้องจัดเวลาให้สมดุลระหว่างการเล่นกิจกรรม และการพักผ่อนตลอดเวลาทั้งวัน ระหว่างอยู่โรงเรียนอนุบาล ต้องได้รับการดูแลอย่างพิถีพิถันในทุกๆ เรื่อง เมื่อกลับถึงบ้านเด็กอาจจะเหนื่อย พูดมาก หิว หรืออยากเล่าประสบการณ์ทั้งวัน ที่ได้เจอมา


    การพัฒนาด้านสติปัญญา

  • ใช้ 5-8 คำในการสร้างประโยค
  • ชอบเถียงและใช้เหตุผล เช่น ใช้คำว่า เพราะว่า
  • รู้จักแม่สีหลักๆ คือ แดง เหลือง น้ำเงิน เขียว ส้ม
  • สามารถจำที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์
  • เข้าใจเรื่องเล่า รู้การเริ่มต้น ตอนกลาง และตอนจบ
  • สามารถจำเรื่อง และเล่าได้
  • มีความคิดสร้างสรรค์ และเล่าเรื่องได้
  • เข้าใจหนังสือที่อ่านจากซ้ายไปขวา จากบนลงล่าง
  • วาดรูปสัตว์ คน สิ่งของได้
  • เข้าใจและแสดงความเปรียบเทียบได้ เช่น ใหญ่กว่า
  • จัดเรียงสิ่งของตามขนาด
  • บอกตัวอักษรและตัวเลขได้ 2-3 ตัว
  • เข้าใจ มากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ
  • นับสิ่งของได้ 10 อย่าง
  • จำหมวดหมู่ได้ เช่น กลุ่มของสัตว์
  • เข้าใจก่อน หลัง ข้างบน ข้างล่าง
  • มีความคิดด้านการวางแผน เช่น การสร้างอย่างมีแบบแผน การเล่นละคนสมมติ การเล่นแบบหลายทางเลือก
  • สามารถเข้าใจถึงเวลา เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้




    การพัฒนาด้านร่างกาย

  • สามารถแต่งตัวได้โดยได้รับความช่วยเหลือเพียงเล็กน้อย
  • ขี่จักรยานสามล้อด้วยความชำนาญมากขึ้น อาจขี่จักรยานสองล้อได้
  • ยืนกระต่ายขาเดียวได้นาน 5-10 นาที
  • ใช้ช้อนและส้อมได้ดี
  • ใช้กรรไกรตัดเส้นตรงได้
  • เริ่มถนัดซ้าย หรือขวา
  • กระโดดข้ามสิ่งกีดขวางเตี้ยๆได้
  • วิ่งเหยาะๆ และวิ่งบนปลายเท้า และวิ่งข้ามสั้นๆได้
  • กระโดดเชือกได้
  • มีทักษะการประสานงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้ซับซ้อนขึ้น เช่น การเล่นสเก็ต การขี่จักรยานสองล้อ
  • สามารถผูกเชือกรองเท้าได้
  • อาจจะสามารถคัดลอกรูปแบบและรูปร่างง่ายๆ ได้




    การพัฒนาด้านอารมณ์ และสังคม

  • คิดค้นเกมที่มีกฎง่ายๆ
  • รวบรวมเด็กและของเล่นเพื่อเล่นละครสมมติ
  • บางครั้งยังคงสับสนระหว่างเรื่องปรุงแต่งและเรื่องจริง
  • บางตรั้งที่จะกลัวเสียงดัง ความมืด สัตว์ และคนบางคน
  • รอคอยคิวและรู้สึกแบ่งปันได้ในบางเวลา
  • ชอบเล่นเฉพาะกับเพื่อนสนิทเท่านั้น
  • ชอบตัดสินใจเอง
  • มีความอ่อนไหวต่อการรับรู้ความรู้สึกของเพื่อนเมื่อเห็นเขาโกรธหรือเสียใจ
  • ชอบเล่นกับเพื่อน 2-3 คนในเวลาเดียวกัน อาจไม่พอใจเวลามีคนอื่นเข้ามาเล่นเพิ่ม
  • เริ่มมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความถูกต้อง และความผิด
  • เล่นได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องอยู่ในความดูแลของพี่เลี้ยงตลอดเวลา
  • สนุกสนาน กับการเก็บสะสม




    แนวคิดสำหรับผู้เลี้ยงเด็ก

  • ส่งเสริมเรื่องการประสานงานระหว่างอวัยวะต่างๆ ของร่างกายให้ทำงานดีขึ้น โดยเล่นเกมและทำท่าตามผู้นำ เช่น การกระโดด การกระโดดเชือก การวิ่งเหยาะ การร้องเพลง สอนการเต้นรำพื้นบ้าน การเล่นเกม การทรงตัวบนท่อนไม้ การปีนต้นไม้ การผูกปมเชือกจากกรอบที่แข็งแรง
  • สอนการเดินด้วยกระสอบ เดินสามขา เกมแปะโป้ง เกมแตะเป็น เพื่อพัฒนาด้านการเคลื่อนไหวต่างๆ
  • เล่นเกมตบแผะ
  • ช่วยให้เด็กได้ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงด้วยกรรไกร เช่น การตัดตั๋ว
  • พัฒนากล้ามเนื้อเล็กๆ โดยฝึกการใช้มือร้อยลูกปัดผ่านเชือกเส้นด้าย
  • เรียนรู้การแยกแยะชิ้นส่วน และรวมชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น แกะเครื่องมือช่างไม้และนาฬิกาที่ไม่ใช้แล้ว
  • แสดงให้เด็กดูถึงการซ่อมของเล่น และหนังสือ
  • เสริมการเล่นละครเข้ากับการอ่านทุกๆวัน ใช้โทนเสียงต่างๆกัน และบุคลิกที่แตกต่างกัน ขณะที่อ่านหนังสือที่เด็กคุ้นเคยแล้ว พยายามให้เด็กแสดงความเห็นโดยให้เด็กแต่งเรื่องตอนจบด้วยจินตนาการของเด็กเอง
  • ขอให้เด็กวัย 5 ขวบเล่านิทานให้เราฟัง ให้เขียนและติดไว้ที่กำแพงหรือตู้เย็น
  • ถามโดยใช้ประโยค ถ้า...อะไรจะเกิดขึ้น เช่น ถ้าเรื่องหนูน้อยหมวกแดง เปลี่ยนจากหมาป่าเป็นกระต่ายแล้วอะไรจะเกิดขึ้น ที่สำคัญ เด็กวัยนี้จะยึดติดกับกฎเกณฑ์ และสามารถพัฒนาเกมต่างๆ ตามกฎที่มากขึ้นและเป็นพิธีกรรมที่มากขึ้น




การพัฒนาของเด็กวัย 6-8 ขวบ


เด็กอายุ 6, 7, 8 ขวบ นี้จะมีพัฒนาการที่สำคัญในวัยช่วง 6 ขวบแรกของชีวิต และพร้อมที่จะเติบโตและเรียนรู้ต่อไปในโรงเรียนประถมนี้จะเป็นกิจกรรมที่เกิดในชีวิตจริง การสมมติ การปรุงแต่งจะมีบ้างในการเรียนการสอน เด็กวัยประถมต้นนี้ ต้องการที่จะทำอะไรจริงๆ ถ่ายรูปจริง และเก็บสะสมสิ่งที่เกิดขึ้นจริง

เด็กวัยนี้จะมีสมาธิยาวขึ้น ดูเหมือนว่าเขาจะยึดติดกับสิ่งต่างๆ จนกระทั่งเรื่องนั้นได้จบลง การแก้ปัญหาหรือการแก้ปัญหาซ้ำ ในเรื่องการขัดแย้ง การทำงานร่วมกับเพื่อน ทำงานเป็นทีม และปฏิบัติตามกฎ

  • ส่งเสริมเด็กให้อยากประสบความสำเร็จ โดยเสนอโอกาสให้เด็กสร้างรูปแบบจำลองต่างๆ การทำอาหาร การแกะสลัก การฝึกด้านดนตรี หรือการทำงานไม้
  • ส่งเสริมเด็กในเรื่องการเก็บสะสมสิ่งต่างๆ โดยให้เขาได้ทำกล่องพิเศษ หรือหนังสือพิเศษ สำหรับเก็บสิ่งของที่เด็กต้องการสะสม
  • ส่งเสริมการอ่านและการเขียน โดยให้เด็กคิดเรื่องราวต่างๆ การสร้างเพลง เพื่อการแสดงและการแสดงหุ่นมือ จากหนังสือพิมพ์ เหตุการณ์บันทึกต่างๆ ทัศนศึกษาหรือทำการทดลอง
  • ส่งเสริมเด็กให้มีการสำรวจโลกภายนอก โดยมีการจัดไปชมพิพิธพัณฑ์ ทำงานในสถานที่ต่างๆ และละแวกเพื่อนบ้านกัน ขอความช่วยเหลือจากชุมชนต่างๆ




    การพัฒนาด้านสติปัญญา

  • สามารถเขียนหนังสือกลับหน้ากลับหลังได้
  • สนใจการอ่าน
  • มีความสามารถในการแก้ปัญหาดีขึ้น
  • สนใจเรื่องมายากล และสิ่งมหัสจรรย์
  • สามารถเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่าง ซ้ายและขวา
  • เริ่มเข้าใจเวลา และวันสัปดาห์




    การพัฒนาด้านร่างกาย

  • ทักษะการใช้กรรไกรและเครื่องมือเล็กๆดีขึ้น
  • สามารถผูกเชือกรองเท้าได้
  • สามารถลอกแบบและรูปร่าง ตัวหนังสือและตัวเลขได้
  • สามารถเขียนชื่อได้




    การพัฒนาด้านอารมณ์และสังคม

  • เพื่อนเริ่มมีบทบาทที่สำคัญขึ้น
  • เด็กหญิงสนใจเล่นกับเด็กหญิง เด็กชายสนใจเล่นกับเด็กชาย
  • อาจมีเพื่อนที่ดีที่สุด และมีศัตรู
  • มีความต้องการทำในสิ่งที่ดีๆ และทำสิ่งที่ถูกต้อง
  • การถูกวิพากษ์วิจารณ์ และความล้มเหลวเป็นสิ่งที่เด็กวัยนี้ไม่ยอมรับ
  • หากพฤติกรรมหรืองานที่โรงเรียนของเด็กถูกละเลยหรือถูกเมิน เด็กอาจจะเสียใจ




    แนวคิดสำหรับผู้เลี้ยงดูเด็ก

  • ให้โอกาสสำหรับการเล่น เช่น การปาเป้า การวิ่ง การกระโดดเชือก เล่นกายกรรมและเต้นแอโรบิค
  • ให้โอกาสในการพัฒนาความเข้าใจ เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ เช่น การเล่นเกมง่ายๆ บนโต๊ะ เล่นไพ่ เล่นโดมิโน
  • ให้โอกาสเด็กได้เล่นเกมที่ไม่ต้องแข่งกัน เช่น การต่อจิ๊กซอว์ การปลูกต้นไม้ในสวน
  • ให้เด็กเขียนการ์ดขอบคุณ การสุขสันต์วันหยุด พร้อมคำอวยพร
  • ให้โอกาสเด็กได้จัดเรียง จัดกลุ่ม จับคู่ การนับ ในสถานการณ์จริง เช่น การจัดโต๊ะ
  • ช่วยเด็กเรียนรู้การสร้างกฎเกณฑ์และการเล่นเกมง่ายๆในกลุ่มเล็กๆ
  • เพื่อให้เด็กเข้าใจและคุ้นเคยคำแสดงความรู้สึก โดยให้คำเหล่านั้นเวลาเด็กมีอาการอย่างนั้น ้เช่น ฉันเห็นเธอเศร้าเมื่อเธอต้องกลับบ้าน ฉันเห็นเธอโกรธเพื่อนของเรา
  • สังเกตเวลาเด็กเล่นด้วยกัน สอนให้เด็กรู้จัก ขอร้อง ไกล่เกลี่ย ต่อรอง และขอโทษ
  • ตั้งคำถามอย่างเคร่งขรึม พูดกับเด็กว่าอะไรจะเกิดขึ้น และทำไม และต้องให้คำตอบแก่เด็กเพื่อให้เขาเข้าใจ
  • สรรหาคำขอบคุณ ชมเชยเด็กเพื่อให้เด็กเข้าใจถึงคุณค่าในสิ่งที่เขาทำจริงๆ เช่น "โอ้โห... หนูวางของเล่นแบบนั้นเหละคะ เยี่ยมเลย หนูช่วยครูได้จริงๆด้วย ขอบใจจ้ะ" ดีกว่าจะพูดว่า "หนูทำได้ดีจ้ะ"
  • จัดเตรียมสถานที่ สำหรับให้เด็กอยู่ตามลำพัง เช่น กล่องกระดาษขนาดใหญ่
  • เวลาที่เด็กกลัวมากเราต้องแสดงความมั่นใจให้เด็กเห็นว่าสิ่งเลวร้ายต่างๆ จะไม่เกิดขึ้นกับพวกเขาอีกแล้ว
  • ควรให้เด็กเข้าห้องน้ำด้วยตนเองได้แล้ว และให้พวกเขาล้างมือทุกครั้ง หลังออกจากห้องน้ำ โดยฝึกให้เป็นนิสัย
  • จงอดทนกับความไม่เรียบร้อยที่เกิดขึ้นกับพวกเด็กๆ ยอมเสียเวลามากมายในการเก็บทำความสะอาด ให้เก็บของเล่นต่างๆในที่ต่ำๆ เพื่อเด็กจะได้หนิบเล่นเองได้ง่าย
  • เด็กจะสนใจในเรื่องตัวเลขมากขึ้น ปล่อยให้เขานับเลข เช่น แก้ว ใบไม้ กลอง กระดิ่ง เด็กที่ขาดเรียน
  • ให้เด็กได้สนุกสนานกับความตลก ความไร้สาระ อ่านเรื่องตลกขำขัน การเล่นคำ ทำนองต่างๆจากหนังสือ จากที่โรงเรียน และทีวี
  • ให้โอกาสเด็กในการแสดงละครความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ สอนให้เด็กรู้จักการเคลื่อนไหวร่างกายในบทละครต่างๆ เป็นดอกไม้ หิมะตก ใบไม้ ฝนตก หนอน งู เสื้อผ้าที่ตากไว้ลอยไปตามลม




การพัฒนาของเด็กวัย 9-11 ขวบ


เด็กวัย 9-11 ขวบนี้จะมีการพัฒนาด้านความรู้สึกของตนเอง และต้องการให้สังคมยอมรับในการที่ตนเองจะประสบความสำเร็จ เพื่อนจะมีความสำคัญมากขึ้น มีการใช้รหัสลับเฉพาะ ความหมายของคำ และการใช้ภาษาและรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดความสนิทสนมในกลุ่มเพื่อนของตนได้ดียิ่งขึ้น เพื่อนสนิทมักเป็นเพื่อนเพศเดียวกัน ถึงแม้ว่ากลุ่มเด็กวัยนี้ จะเริ่มให้ความสำคัญกับเพศตรงข้ามมากขึ้น

จงเตรียมใจให้พร้อมสำหรับการดูแลเด็กวัยนี้ เพราะบ่อยครั้ง จะไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่ จากผู้ใหญ่ หรือพี่เลี้ยงเด็กอีกต่อไป แม้กระนั้นก็ตาม เด็กวัยนี้อาจจะถูกละเลยให้ดูแลตัวเอง เด็กรู้สึกเหงา ไม่มีความสุข และบางครั้งจะรู้สึกตกใจกลัว ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้เด็กหันเข้าหายาเสพติด เพราะฉะนั้นควรมีเวลาให้เด็ก เมื่อเขาเรียกร้องในทันที และต้องเรียนรู้อุปนิสัยของเพื่อนลูกด้วย เพื่อไม่ให้ชักนำไปในทางที่ผิด เพราะวัยนี้จะเชื่อเพื่อนมากกว่าพ่อแม่


    การพัฒนาด้านสติปัญญา

  • สนใจอ่านหนังสือนิยาย วารสาร และหนังสือแนะวิธีการต่างๆ
  • อาจสนใจในงานอดิเรก และการเก็บสะสม
  • มักจะฝันเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดในอนาคต




    การพัฒนาด้านร่างกาย

  • โดยทั่วไปเด็กหญิงจะมีความเจริญเติบโตตามวัยทางร่างกาย เร็วกว่าเด็กชาย 2 ปี
  • เด็กหญิงจะเริ่มมีประจำเดือน




    การพัฒนาด้านอารมณ์และสังคม

  • พิธีกรรม กฎเกณฑ์ รหัสลับ ภาษาเพี้ยนที่ใช้ในกลุ่ม เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับเด็กวัยนี้
  • การระเบิดความโกรธออกมามีน้อยลง
  • เห็นความสำคัญเล็กน้อย หรือ ปฏิเสธการใช้อำนาจของผู้ใหญ่




    แนวคิดสำหรบผู้เลี้ยงดูเด็ก



  • ให้โอกาสในการฝึกฝนทักษะ เช่น การทำอาหาร การเย็บปักถักร้อย การออกแบบ การแสดงหุ่นมือ การแสดงบนเวที สิ่งเหล่านี้จะเป็นการฝึกทักษะ และใช้ความสามารถของเด็กให้เกิดประโยชน์
  • จัดหาเวลาและสถานที่สำหรับเด็กวัยนี้ อยู่คนเดียวตามที่เขาต้องการ มีเวลาในการอ่าน เวลาในการฝันกลางวัน หรือสถานที่การทำงาน โรงเรียนที่ไม่มีใครคอยรบกวน เช่น ห้องสมุด
  • ส่งเสริมให้เด็กได้เข้าร่วมในชมรม หรือกลุ่มที่จัดตั้งขึ้น มีหลายกลุ่มที่สนับสนุนการฝึกทักษะด้วยโครงการ หรือกิจกรรมมากกว่า อยู่ในความดูแลในโครงการดูแลเด็ก
  • ให้เด็กที่โตกว่าช่วยเหลือเด็กที่อ่อนกว่า แต่ไม่ควรให้ช่วยมากเกินความจำเป็น ควรปล่อยให้เด็กได้มีเวลาเล่น และผ่อนคลาย
  • ให้เด็กได้มีโอกาสเล่นเกมที่ต้องใช้กลยุทธ์ เช่น การเล่นหมากรุก ฯ
  • ต้องให้อาหารในปริมาณที่เพียงพอแก่เด็ก เด็กโตจะต้องการอาหารมากขึ้น


ความสามารถในการแก้ไขปัญหาวิกฤต


จากหนังสือ
Conflict resolution education (1996) by


  • Office of juvenile justice and delinquency orevention

  • Save and drug-free schools program US. Department of education




    • ระยะแรกถึงระยะ 8 ขวบ (ถึง ป.2)

    • สามารถเลือกที่จะทำได้จากความคิดเห็นหลากหลาย
    • รู้ว่าจะทำให้เกิดความยุติธรรมกับตนเอง และผู้อื่นได้อย่างไร
    • สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมไม่ยุติธรรม
    • สามารถอธิบายถึงแผนการที่ขจัดความขัดแย้งได้อย่างชัดเจน
    • เข้าใจถึงความหมายของแผนการณ์ที่ตกลงกันไว้ และคุณค่าความเชื่อถือแผนการณ์นั้น




      ระยะ 9-11 ขวบ (ถึง ป.3-5)

    • สามารถประเมินปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในลักษณะที่ปะทะกัน หรือหนีไม่สู้หน้ากัน
    • รู้หนทางที่จะจัดการกับตนเองเมื่ออยู่ในภาวะความขัดแย้ง
    • เลือกหาที่จะทำให้เกิดความยุติธรรมกับทุกคน ซึ่งมิใช่เพื่อสนองตอบ ต่อความต้องการของฝ่ายตนฝ่ายเดียว
    • ประเมินความต้องการของตนเองและของผู้อื่น โดยอาศัยมาตรฐานของความยุติธรรม
    • สามารถแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่ชนะกับสิ่งที่ต้องชนะกัน
    • ทำข้อตกลงได้อย่างชัดเจนโดยกำหนดว่า ใคร อะไร เมื่อไร และอย่างไร




      ระยะ 12-14 ขวบ (ป.6-ม.2)

    • ทดลองสรุปว่าอะไรควรจะเป็นไปได้
    • คิดถึงผลกระทบที่จะตามหนทาง ที่ได้เลือกไว้ในระยะสั้น และระยะยาว
    • สามารถมีความคิดริเริ่มโดยปราศจากความชื่นชอบของผู้อื่น
    • กำหนดมาตรฐานภายนอก เพื่อให้เกิดความยุติธรรม เช่น มาตรฐานทางกฎหมาย กฎระเบียบของโรงเรียน นำมาใช้ในการประเมินความต้องการ และแก้ไขปัญหา
    • ต้องตระหนักถึงประสิทธิภาพของข้อตกลงในการแก้ไขปัญหาที่จะต้องยุติธรรม เป็นจริงได้ และสามารถนำไปปฏิบัติได้




      ระยะ 15-18 ขวบ (ม.4-ม.6)

    • สามารถใช้ขบวนการแก้ไขปัญหา เมื่ออยู่ในบทสนทนา ที่มีปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้น
    • สามารถเลือกใช้ข้อตกลงใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ที่สุดกับตนเองและผู้อื่น
    • สามารถหาหนทางปรับปรุงข้อตกลงที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น
    • สามารถประมวลความตั้งใจ และความสามารถของตนเอง และผู้อื่น ไปสู่การวางแนวการปฏิบัติได้อย่างดี
    • สามารถทำปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการทำข้อตกลงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
    • สามารถกำหนดมาตรฐานความยุติธรรมจากภายนอกมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
    • ปฏิบัติตามข้อตกลงอย่างซื่อสัตย์ และสนับสนุนให้ผู้อื่นทำตามด้วย


    การสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


      ระยะแรกเกิดถึง 8 ขวบ

    • สามารถร่วมแก้ไขปัญหากับเพื่อนๆ ได้ง่ายๆ และคาดคะเนได้ว่า จะมีผลกระทบอะไรบ้างที่เกิดขึ้น และในที่สุด ก็สามารถเลือกวิธีการแก้ไขได้
    • สามารถเข้าร่วมการคิดริเริ่มสิ่งใหม่ๆ ได้ โดยมีเด็กที่มีอายุมากกว่า หรือผู้ใหญ่คอยให้คำปรึกษา




      ระยะ 9-11 ขวบ

    • สามารถมีความคิดริเริ่มสิ่งใหม่ๆ ได้โดยไม่มีที่ปรึกษา



      ระยะ 12-14 ปี

    • สามารถร่วมสร้างโครงการใหม่ๆ กับเพื่อนหรือผู้ใหญ่ได้
    • สามารถเข้าร่วมขบวนการฝึกฝนให้หัดคิดริเริ่มโครงการใหม่ๆ กับเพื่อนที่มีความขัดแย้งกันอยู่บ้าง
    • สามารถเข้าใจว่าปฏิสัมพันธ์ กับของทุกๆ สิ่งอาจจะก่อให้เกิดความคิดใหม่ๆ ขึ้นได้
    • สามารถสอนนักเรียนรุ่นน้อง ให้หัดริเริ่มสิ่งใหม่ๆ ได้




      ระยะ 15-18 ปี

    • สามารถมีความคิดริเริ่มสิ่งใหม่ๆ ได้กับกลุ่มคนที่ไม่คุ้นเคย
    • สามารถสอนเพื่อน หรือผู้สูงอายุกว่า ให้มีความคิดริเริ่มใหม่ๆ ได้
    • มีความคิดใหม่




    ในด้านการตัดสินปัญหา


      วัยเด็กถึง 8 ขวบ

    • สามารถเข้าร่วมอภิปรายในการตัดสินใจได้ โดยมีครู หรือผู้สูงอายุกว่าให้คำแนะนำ

      ระยะ 9-11 ขวบ
    • สามารถมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหากับเพื่อนในห้องเรียนที่มีความขัดแย้งกัน

      ระยะ 12-14 ปี
    • สามารถช่วยจัดการหาข้อสรุปในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนของนักเรียนรุ่นน้อง

      ระยะ 15-18 ปี
    • สามารถจัดการหามติข้อสรุป ในการแก้ไขปัญหากับกลุ่มชนต่างๆ
    • สามารถช่วยเหลือในการหามติข้อสรุปของที่ประชุม ในฐานะสมาชิกคนหนึ่งได้







    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น