วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เข้านอนกับหมาแมว ไม่ได้ปลอดภัยอย่างที่คิด

เข้านอนกับหมาแมว ไม่ได้ปลอดภัยอย่างที่คิด



เข้านอนกับหมาแมว ไม่ได้ปลอดภัยอย่างที่คิด (Lisa)


จะทำอย่างไร เมื่อสัตว์เลี้ยงแสนรัก สามารถนำเชื้อโรคที่ติดต่อคนได้มาอยู่ใกล้ ๆ ตัวคุณ

ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า การที่คนเราชอบนำสัตว์เลี้ยงเข้านอนด้วย อาจมีประโยชน์ในเชิง จิตวิทยาก็จริง แต่ในขณะเดียวกันสัตว์เลี้ยงก็นำเชื้อโรคที่ติดต่อคนได้มาอยู่ใกล้ ๆ ตัวคุณ และถึงแม้ว่า โอกาสที่คุณจะไม่สบายจากเชื้อโรคดังกล่าวจะมีต่ำแค่ไหนก็ตาม แต่เด็ก ๆ หรือคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ก็ควรจะตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้

ซึ่งไม่ได้จำกัดแค่การแชร์ที่นอนร่วมเท่านั้น เคยมีกรณีที่ผู้ชายแข็งแรงเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เพราะสุนัขเลียปากที่ เป็นแผลร้อนใน เด็กติดกาฬโรคจากการนอนร่วมกับแมวที่มีเห็บอยู่เต็มไปหมด และกรณีอื่น ๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ดี ข่าวนี้ไม่ได้บอกให้คุณเลิกเลี้ยงสัตว์ แต่ให้ตระหนักถึงอันตรายหากคุณเลือกจะนอนข้างมันเสียมากกว่า

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

สัตว์เลี้ยงในห้องนอน...อันตรายต่อสุขภาพคน

สัตว์เลี้ยงในห้องนอน...อันตรายต่อสุขภาพคน
สัตว์เลี้ยง


มีสัตว์เลี้ยงในห้องนอน...อันตรายต่อสุขภาพคน (Lisa)
นอนร่วมกับหมาคุณอาจติดเชื้อโรคจากมันได้

จากการศึกษาของนักวิชาการทางการแพทย์ในประเทศเยอรมนี พบว่า หากให้น้องหมาอยู่บนเตียงเดียวกับเด็ก ๆ จะทำให้เด็กป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจได้ เช่น นอนกรน

ทั้งนี้ คาร์ล ฟรังคลิน จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ Umea และผู้ร่วมงานได้ทำการสอบถามชาวสแกนดิเนเวียนที่เป็นโรคนอนกรน พบว่า 18% ของพวกเขานอนกรนอย่างน้อยที่สุดสัปดาห์ละ 3 คืน โดยพวกเขาบอกว่า เคยมีสัตว์เลี้ยงในห้องนอนในช่วงวัยเด็ก และพวกเขาก็เคยเป็นโรคติดเชื้อก่อนอายุ 2 ขวบ หรือเป็นโรคติดเชื้อในหู ซึ่งแพทย์คาดว่า สาเหตุน่าจะเป็นเพราะเชื้อโรคจากสัตว์เลี้ยงทำให้ระบบทาง เดินหายใจขอคนอักเสบ และแปรเปลี่ยนเป็นโรคนอนกรน

นอกจากนี้ นักวิจัยด้านการนอนหลับยังกล่าวว่า ในผู้ใหญ่ที่นอนร่วมเตียงเดียวกับสัตว์เลี้ยงก็มีผลกระทบกับการนอนหลับลึก เพราะความต้องการในการนอนหลับของคนและสัตว์ไม่ประสานกัน นั่นคือ น้องเหมียวมักตื่นตัวในตอนกลางคืน และชอบไปนอนบนศีรษะของคน


ส่วนน้องหมาชอบย้ายที่นอนในตอนกลางคืนบ่อย ดื่มน้ำ หรือเดินไปมา และ 20% ของน้องหมามักนอนกรน และ 10% ของน้องเหมียวก็นอนกรนเช่นกัน หรือหากเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีคู่ของมันด้วย ก็จะยิ่งซุกซนจนทำให้เจ้าของนอนหลับไม่สนิท


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

เมื่อเด็ก ๆ อยากมีสัตว์เลี้ยงเป็นของตัวเอง

เมื่อเด็ก ๆ อยากมีสัตว์เลี้ยงเป็นของตัวเอง




เมื่อเด็ก ๆ อยากมีสัตว์เลี้ยงเป็นของตัวเอง (โลกสัตว์เลี้ยง)
ว่ากันว่า ถ้าอยากให้เด็กมีจิตใจที่อ่นโยน ต้องให้เด็กรู้จักรักและเลี้ยงสัตว์ นอกจากจะส่งผลทางด้านจิตใจของเด็ก ๆ แล้ว ยังส่งผลให้เด็กมีความรับผิดชอบอีกด้วย เด็ก ๆ ที่อยากมีสัตว์เลี้ยงเป็นของตัวเองและรบเร้าให้พ่อแม่ผู้ปกครองซื้อให้เมื่อเดินผ่านร้านขายสัตว์เลี้ยง ซึ่งในทัศนะของสัตวแพทย์และนักจิตวิทยามีความเห็นตรงกันว่าเป็นเรื่องที่ส่งผลดีต่อเด็ก



สิ่งดีๆ จากการเลี้ยงสัตว์ ในทัศนะของสัตวแพทย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ปานเทพ รัตนากร แสดงทัศนะถึงข้อดีของการให้เด็กเลี้ยงสัตว์ ว่า "การเลี้ยงสัตว์จะทำให้เด็กมีจิตใจอ่อนโยน มีความเข้าใจที่จะเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รู้จักคุณค่าของสิ่งมีชีวิต รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้จักดูแลผู้อื่น จนกระทั่งเกิดเป็นความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น

ที่สำคัญยังช่วยให้เด็กรู้จักการแสวงหาความรู้ เพื่อให้สามารถเลี้ยงสัตว์ของเขาได้อย่างมีคุณภาพ ในด้านคุณธรรมนั้น เรื่องความเมตตา เป็นประการแรก เพราะเขาต้องรู้จักเห็นอกเห็นใจ จะเอาแต่ใจตัวเองเหมือนเมื่อก่อนไม่ได้ ต้องคิดถึงสัตว์เลี้ยงด้วย เมื่อเห็นสัตว์ที่ตัวเองเลี้ยงบาดเจ็บก็ช่วยเหลือ เมื่อเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือสัตว์เลี้ยงแล้ว อีกหน่อยก็สามารถช่วยคนอื่นได้ ซึ่งจะติดเป็นนิสัยไปจนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่"


สิ่งดีๆ จากการเลี้ยงสัตว์ ในทัศนะของนักจิตวิทยา
รศ.ดร.ดวงเดือน ศาสตรภัทร กล่าวว่า "ในทางจิตวิทยา การเลี้ยงสัตว์หรือการที่เด็กได้มีโอกาสใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยง ประเด็นแรกที่เด็กจะได้รับคือเด็กจะรู้จักถึงความมีเมตตา รู้จักรัก ถ้าเด็กไม่มีโอกาสได้เลี้ยงสัตว์หรืออยู่กับสัตว์ เด็กจะไม่รู้จักความเมตตาเลย กลายเป็นเกลียดสัตว์ และการที่เด็กได้ฝึกการแสดงออกถึงความเมตตากับสัตว์ จะทำให้เด็กพัฒนาตนเองโดยไม่รู้ตัว เป็นคนที่มีศีลธรรมและจริยธรรมเมื่อเขาโตขึ้น

ประเด็นที่สอง เขาจะรู้จักการเอาใจเขามาใส่ใจเรา สังเกตง่าย ๆ เช่น เด็กผู้ชายบางคนชอบเล่นแรง ๆ ดึงปีกแมลง หักขามด เขาไม่รู้เลยว่าการทำอย่างนั้นทำให้สัตว์บาดเจ็บอย่างไร ถ้ามีสัตว์อยู่ในบ้าน แล้วแม่คอยสอนว่าการที่ลูกทำอย่างนั้น ลูกรู้ไหมว่าสัตว์รู้สึกอย่างไร เจ็บปวดอย่างไร ถ้ามีใครดึงแขนลูกบ้าง ลูกจะรู้สึกอย่างไร ยังไม่ทันที่แขนลูกจะหลุดออกไปเหมือนแมลงหรอก ลูกก็จะร้องว่าเจ็บแล้ว ทีนี้เด็กก็จะเข้าใจได้ชัดเจนขึ้นว่า การกระทำของเขาส่งผลกับสิ่งมีชีวิตหรือคนอื่น ๆ อย่างไร ทำให้เวลาที่เขาจะทำอะไร เขาจะต้องคิดถึงสิ่งนี้ก่อนเสมอ การเลี้ยงสัตว์จะช่วยให้เขารู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องปลูกฝังให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็ก





ข้อดีของการเลี้ยงสัตว์ในบ้าน
การเลี้ยงสัตว์ในบ้าน เป็นการช่วยให้เจ้าตัวเล็กได้ใกล้ชิดกับสัตว์มากขึ้น เด็กจะได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้น และทำให้เด็กรู้ว่า...


ลูกไม่ใช่ศูนย์กลาง ต้องอยู่ร่วมกับคนอื่น
การอยู่ร่วมกับคนอื่น ๆ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ เพราะเราต้องพึ่งพาอาศัยกัน และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นโดยเฉพาะเมื่อเด็กโตขึ้น เจ้าตัวเล็กที่เคยเป็นบุคคลสำคัญของบ้าน จะไม่ใช่คนสำคัญที่สุดอีกแล้ว เมื่อเขาไปอยู่ในสังคม เขาต้องรู้จักคิดถึงคนอื่นๆ ด้วย ดังนั้น การปลูกฝังให้เจ้าตัวเล็กสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ จึงเป็นสิ่งที่ต้องปลูกฝังตั้งแต่วัยเยาว์ การเลี้ยงสัตว์นี่แหละค่ะ ที่ทำให้เขารู้จักอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เจ้าตัวเล็กจะฝึกความมีเมตตากล่อมเกลาจิตใจให้อ่อนโยน ละเอียดอ่อน รู้จักนึกถึงคนอื่น จนเป็นนิสัยติดตัวไป เมื่อเข้าสังคมเขาก็จะใช้ความรู้สึกนี้ในการอยู่ร่วมกับคนอื่นได้


วินัย เกิดได้จากการเลี้ยงสัตว์
การปลูกฝังความมีระเบียบวินัย และความรับผิดชอบ เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่หลายท่านให้ความสนใจ ซึ่งสามารถปลูกฝังได้หลายวิธี ซึ่งวิธีหนึ่งที่สามารถสร้างวินัยและความรับผิดชอบให้ลูกได้คือการเลี้ยง สัตว์ค่ะ เพราะเจ้าตัวเล็กแสนซนของคุณแม่จะต้องรู้จักการแบ่งเวลา ไปดูแลทำความสะอาดและให้อาหารกับสัตว์เลี้ยง ถ้าให้อาหารช้า ผิดเวลาไป เจ้าสัตว์นั้นคงจะร้อง หรือแม้กระทั่งเรื่องความสะอาดเอง เขาก็จะรู้จักดูแลตัวเอง และสัตว์เลี้ยงให้สะอาดด้วย การเลี้ยงสัตว์สักตัวนั้นต้องการความเอาใจใส่และความรับผิดชอบที่เขาต้อง ฝึกฝน ในการดูแลสิ่งมีชีวิตที่อ่อนแอกว่า


เรียนรู้เรื่องสัตว์
การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงเป็นเรื่องที่สามารถทำให้เด็กรู้จริงด้วยตนเอง เพราะเขาจะได้สัมผัสการเรียนรู้ด้วยตัวเอง จากการสังเกต คิด และค้นคว้าเรื่องเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงของเขา ในเรื่องที่เป็นประโยชน์มากสำหรับการเลี้ยงสัตว์ และการเรียนรู้ของเขาเอง เพราะเขาต้องคอยสังเกตว่าสัตว์ที่เขาเลี้ยงมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างไร เช่น เลี้ยงแมวไว้ตัวหนึ่ง สอนมันจนกระทั่งสามารถปัสสาวะในโถได้ สังเกตทุกวันว่ามันปัสสาวะอย่างไร แต่มีวันหนึ่งมันนั่งอยู่นาน ปัสสาวะไม่ออก เด็กก็จะสังเกตแล้วว่ามันมีอาการผิดปกติแน่ อย่างนี้ต้องพาไปหาหมอ หมอวินิจฉัยว่าเป็นนิ่ว ซึ่งจะเป็นความรู้แก่เขาที่จะดูแลรักษาพยาบาลสัตว์ของเขาต่อไป


นอกจากเรื่องต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว การเลือกสัตว์เลี้ยงให้กับเด็ก ๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน การเลือกสัตว์ที่เหมาะกับเด็ก ขึ้นอยู่กับอายุของเด็กด้วย ถ้าเป็นเด็กเล็กมาก ๆ อาจให้เลี้ยงสัตว์ที่ไม่ต้องสัมผัส เพราะภูมิต้านทานยังมีน้อย และไม่ควรเป็นสัตว์ที่ต้องรับผิดชอบมาก เช่น การเลี้ยงปลา โดยคุณอาจมอบหมายให้เขาเป็นผู้ให้อาหารก็ได้ ยังไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบล้างตู้ปลา หรือ ทำความสะอาดอะไรมาก งานนั้นก็ให้เป็นหน้าที่ของผู้ปกครองไปก่อน เมื่อเด็กโตขึ้นก็ค่อยเพิ่มความรับผิดชอบให้เขา


การเลือกสัตว์เลี้ยงให้กับเด็ก ๆ





และไม่ควรเลือกสัตว์ที่ต้องการการดูแลมาก บางครั้งแม้แต่ปลาก็ยังต้องการการดูแลมากเป็นบางชนิด ต้องเลือกชนิดที่ทนทานหน่อย เพราะเด็กยังไม่มีความสามารถในการดูแลมากนัก ปลาที่ทนทานก็เช่น ปลาสอด สีดำ สีแดง ดูเพลิดเพลิน พวกนี้จะดูแลง่ายหน่อย ถ้าเป็นแมว สุนัข ก็ต้องดูว่าลูกเป็นภูมิแพ้หรือไม่ เลือกสุนัขที่เป็นเพื่อนเล่นกับเด็กได้ เช่น โกลเดนท์ ลาบาดอร์ ฯลฯ ควรหลีกเลี่ยง สุนัขที่ต้องการการทะนุถนอม ที่ต้องเอาใจใส่ฟูมฟักเป็นพิเศษ รวมไปถึงสุนัขที่มีไว้อารักขาเพราะมันจะมีความดุอยู่ในตัว เช่น โดเบอร์แมน

นอกจากนี้ ถ้าเลือกแมวก็ต้องระวังนิดหนึ่ง เพราะแมวเป็นสัตว์ที่อารมณ์ไม่ค่อยคงที่ อาจดุง่าย โมโหง่าย เด็กอาจจะเข้าใจอารมณ์ของแมวได้ยาก ขนของแมวก็อาจเป็นอันตรายได้ถ้าเข้าจมูกหรือเด็กแพ้ สัตว์แต่ละชนิดก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย เพราะฉะนั้นก่อนจะเลือกสัตว์เลี้ยงใดก็ตามจะต้องศึกษาก่อนเป็นอันดับแรก แล้วค่อยพิจารณาถึงความเหมาะสมในด้านอื่น ๆ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม และการจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม

การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม และการจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม

หลักเกณฑ์การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม








1. ผู้รับบุตรบุญธรรมจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม
อย่างน้อย 15 ปี
2. ถ้าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมจะต้องให้ความยิน
ยอมด้วยในการนี้ด้วย
3. กรณีที่จะรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม จะต้องได้รับความยินยอมจาก
- บิดาและมารดา (กรณีมีทั้งบิดาและมารดา)
- บิดา หรือมารดา กรณีบิดา หรือมารดา ตาย หรือถูกถอนอำนาจปกครอง
- กรณีไม่มีผู้มีอำนาจให้ความยินยอม หรือมีแต่ไม่ให้ความยินยอมโดยปราศจากเหตุผลอัน
สมควร มารดา หรือบิดา หรือผู้ประสงค์จะขอรับบุตรบุญธรรม หรืออัยการจะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่ง
อนุญาตแทนการให้ความยินยอมนั้นได้
- กรณีผู้เยาว์อยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์เด็กฯ ให้สถานสงเคราะห์เด็กฯ เป็นผู้ให้ความ
ยินยอมแทนบิดา หรือมารดา ก็ได้
- ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรส จะต้องได้รับความยินยอมจาก
คู่สมรส ด้วย
- ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกไม่ได้ เว้นแต่
จะเป็นคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น





 

วิธีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม






1. การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม กรณีที่ผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้ว- ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรม มายื่นคำร้องต่อนายทะเบียน
- นายทะเบียนตรวจสอบคุณสมบัติตามเงื่อนไขของกฎหมาย
- ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม ใน
การนี้ด้วย
- เมื่อเห็นว่าถูกต้อง เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมาย นายทะเบียนรับจดทะเบียนให้

2. การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์
- ผู้จะรับบุตรบุญธรรม ยื่นคำร้องตามแบบ ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
(กรมประชาสงเคราะห์) สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร หรือชาวต่างชาติที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย
ส่วนต่างจังหวัดยื่นแบบ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด พร้อมหนังสือ
ยินยอมจากบุคคลผู้มีอำนาจยินยอม
- อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี จะพิจารณาสั่งให้ผู้ที่จะรับ
เด็กเป็นบุตรบุญธรรม นำเด็กไปทดลองเลี้ยงดู ไม่น้อยกว่า 6 เดือน โดยมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลและตรวจ
เยี่ยม
- ถ้าผู้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา พี่ร่วมบิดาหรือมารดา ทวด ปู่ ย่า ตา
ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือผู้ปกครอง ของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ไม่ต้องทดลองเลี้ยงดู
- เมื่อคณะกรรมการทดลองเลี้ยงดู อนุมัติให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ที่จะขอรับเด็ก
เป็นบุตรบุญธรรม และผู้ที่เป็นบุตรบุญธรรม ต้องยื่นคำร้องขอจดทะเบียน ต่อนายทะเบียนภายใน 6
เดือน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำอนุมัติ มิฉะนั้นถือว่าสละสิทธิ์
- นายทะเบียนตรวจสอบคุณสมบัติตามเงื่อนไขของกฎหมาย
- ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม มีคู่สมรสอยู่ ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอมด้วย
- ถ้าเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องลงนามในช่องผู้ร้องขอจด
ทะเบียนด้วย
- นายทะเบียนจดทะเบียนให้ตามแบบ
**
กรณีเด็กที่เป็นบุตรบุญธรรม ไร้เดียงสา และบิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรม ได้ลงนามแสดง
ความยินยอมในขณะยื่นเรื่องราวตามแบบก่อนหน้านี้แล้ว บิดามารดา หรือผู้แทนฯ ไม่ต้องมาแสดงความ
ยินยอมและลงนามในคำร้องอีก






 

การเลิกรับบุตรบุญธรรม

        
ทำได้ 2 วิธี คือ

- จดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย
- โดยคำพิพากษาของศาล
การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอม มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. กรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้ว จะเลิกโดยความตกลงกันระหว่างผู้รับบุตรบุญ
ธรรม เมื่อใดก็ได้
2. กรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะต้อง
- ได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดาของบุตรบุญธรรม ก่อน
- ได้รับความยินยอมจากบิดา หรือมารดา เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย
- ในกรณีที่บุตรบุญธรรม มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วย
- ศาลมีคำสั่งให้เลิกรับบุตรบุญธรรม



ที่มา : คู่มือปฏิบัติงาน กรมการปกครอง
 
 
 
 
พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
 
 
.

ตัวอย่างงานวิจัยระดับชั้นอนุบาล



ตัวอย่างงานวิจัยระดับชั้นอนุบาล





 การคัดลอกส่วนใดส่วนหนึ่งของงานวิจัย  อย่าลืมอ้างอิงที่มาด้วยนะคะ 




 


ตัวอย่างงานวิจัยปฐมวัย  SU  ใหม่


 








การจัดการเรียนการสอนสาระสิ่งรอบตัว ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านบรบือ (บรบือราษฎร์ผดุง) อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ศุภมงคล สุวรรณพงษ์
การเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการบริหารสมองกับการจัดกิจกรรมแบบปกติ / วิทยานิพนธ์ ของ ลักคณา คำก้อน
การเปรียบเทียบความพร้อมทั้ง 4 ด้านของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างการจัดประสบการณ์แบบโครงการและแบบจิกซอว์ / วิทยานิพนธ์ ของ กิ่งแก้ว ค่ายไธสง
การเปรียบเทียบคุณลักษณะด้านความเชื่อมั่นและความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดวอลอร์ฟ และการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ / วิทยานิพนธ์ ของ ประรัชชญา สินทรัพย์
การเปรียบเทียบทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านกับการจัดกิจกรรมแบบปกติ / วิทยานิพนธ์ ของ สุภาภรณ์ สงนวน
การเปรียบเทียบพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐานกับการจัดประสบการณ์ตามปกติ / วิทยานิพนธ์ ของ เอรินทร์ แสวงสาย
การพัฒนาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะโดยใช้การประยุกต์ใช้ท่ารำมวยโบราณที่มีต่อพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ รติกร อินานันท์
การพัฒนาการดำเนินงานการเสริมสร้างวินัยนักเรียน ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/6 โรงเรียนอนุบาลสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ไฉไลศรี เพชรใต้
การพัฒนาการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดวอลดอร์ฟ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ศิวพร นิลสุข
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านทักษะภาษาไทย และภาษามือไทยสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นอนุบาล 2 / วิทยานิพนธ์ ของ กรรณิการ์ บุญประเสริฐ
การพัฒนาความพร้อมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกความพร้อมด้านสติปัญญา / วิทยานิพนธ์ ของ ธิดารัตน์ จูมพลา
การพัฒนาความพร้อมทางการเรียนของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่เรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ หน่วย ฤดูกาล / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ศิริรัตน์ เพียพล
การพัฒนาความสามารถด้านการจับใจความของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ด้วยกิจกรรมการเล่านิทานแบบเล่าเรื่องซ้ำ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ เกษรินทร์ ก้องเมือง
การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมโดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานชั้นอนุบาลปีที่ 1 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ วิสามาส ขันชัยภูมิ
การพัฒนาชุดการสอนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ชั้นอนุบาลปีที่ 2 / รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สถิตย์ ศรีถาวร
การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความพร้อมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการ / วิทยานิพนธ์ ของ ศุภวารี ศรีนวล
การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 โดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานและกิจกรรมการศึกษานอกห้องเรียน / วิทยานิพนธ์ ของ วิภาวรรณ ยาประดิษฐ์
การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาในการสื่อสารของเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือภาพประกอบการเล่าเรื่องหน่วยเที่ยวสวนสะออน / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ นงลักษณ์ กันปัญญา
การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคป (High/Scope) / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ศิริพรรณ สิทธิพูนอนุภาพ
การพัฒนาทักษะทางภาษาโดยใช้โปรแกรมบทเรียนสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ไพฑูรย์ อัครประชะ
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมศิลปะแบบบูรณาการสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 / วิทยานิพนธ์ ของ ชญาภา สิงห์มหา
การพัฒนาแบบฝึกเตรียมความพร้อมด้านสติปัญญาสำหรับนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 / วิทยานิพนธ์ ของ สุกุมาลย์ ปัตตาลาโพธิ์
การพัฒนาแบบฝึกประกอบการเตรียมความพร้อมด้านสติปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 / วิทยานิพนธ์ ของ สัมฤทธิ์ หมู่มี
การพัฒนาแบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 / วิทยานิพนธ์ ของ ประภา หลาบคำ
การพัฒนาแบบวัดความพร้อมในการเรียนชั้นอนุบาลศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด / วิทยานิพนธ์ ของ ปราณี พันธ์หนองหว้า
การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์ การเตรียมความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ กรรณิกา ทวีนันท์
การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมด้านการอ่านโดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง ชั้นอนุบาลปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ฐิติพร มะเดื่อชุมพร
การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเตรียมความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้การละเล่นของเด็กไทย / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ต้องใจ คล่องตา
การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เทคนิค TGT หน่วยสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรื่องอาหารดีมีประโยชน์ชั้นอนุบาลปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สุพิชญา ชมวิชา
การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการเรื่อง ผักที่ฉันชอบ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ นรินทร์เทพ กาลพัฒน์
การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เรื่องผีเสื้อแสนสวย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 / รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สุปราณี สุราอามาตย์
การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และแบบฝึกทักษะความสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือกับตาสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ นุชมณี เติมผล
การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมการเล่นตามมุมตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติเพื่อพัฒนาด้านการเขียนสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ไพรวัลย์ ขนานแข็ง
การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยใช้สื่อเคลื่อนไหวในกระด้ง ชั้นอนุบาลปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ทัศนีย์ นิธิปรีชา
การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ เรื่อง แมลง ชั้นอนุบาลปีที่ 2/ การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ จิราพร จุลละศร
การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ เรื่องต้นไม้แสนสวยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองมะค่า (ทองศรีสงเคราะห์) อำเภอปากช่อง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครราชสีมา เขต 4 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ทองล้วน ห่วงศรี
การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ เรื่องผลไม้แสนอร่อย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ อุบลรัตน์ มูลแก้ว
การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการชั้นอนุบาลปีที่ 2 สาระธรรมชาติรอบตัว หน่วยกลางวัน-กลางคืน / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สุพรรณา บุตรพรม
การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการโดยใช้ภาพปริศนาคำทาย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ พรพิมล ชินภา
การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ชั้นอนุบาล 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สุธิดา หงษ์ศรีหม่น
การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การคมนาคม / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ละอองทิพย์ คำมะสอน
การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเรื่องการอนุรักษ์น้ำ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สนใจ ช่วยชู
การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการสาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว หน่วย ต้นไม้ที่รัก ชั้นอนุบาลปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ รำไพ แก่นภักดี
การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมด้านการเขียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ วรรณา เจ็ดกลาง
การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมด้านการอ่านโดยการเล่านิทานประกอบหุ่นมือ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ มาลิณี พลสูงเนิน
การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ด้วยเกมการศึกษา ชั้นอนุบาลปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ จันทนา วงศ์ทิพากร
การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมตามรูปแบบ ACACA / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ครองใจ ขวัญเกษม
การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการ หน่วยธรรมชาติรอบตัวเรื่องฝนชุ่มฉ่ำ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้เทคนิค TGT / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ยุทัยทิพย์ ชาครนิธิพงศ์
การพัฒนาพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ นิภา วรฉันท์
การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 / วิทยานิพนธ์ ของ จารุศักดิ์ รัตนรังสิกุล
การพัฒนาสมรรถภาพทางสติปัญญาด้านการคิดแบบอนุรักษ์ (Conservation) และการคิดแบบสัมพันธ์กลุ่ม (Classification) โดยใช้กิจกรรมภาพและกิจกรรมปฏิบัติในเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 2 / วิทยานิพนธ์ ของ สุภาณี ซองศิริ
การพัฒนาสื่อประสมตามรูปแบบมอนเทสซอรี่ที่ส่งเสริมทักษะการเขียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ วิไลวรรณ สาระขันธ์
การพัฒนาสื่อประสมประกอบการสอนหน่วยคณิตศาสตร์แสนสนุก ชั้นอนุบาลปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ อนัญญา นนทะวงษ์
การส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โดยใช้การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดพหุปัญญา / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ รจนา จันทรัตน์
การส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 สาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวตามแนวการสอนแบบโครงการ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สุภาพร โฮมแพน
ความสามารถทางสติปัญญาของนักเรียนระดับปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ด้วยศิลปะตามรูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ / วิทยานิพนธ์ ของ สุนันท์ สีพาย
เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความคงทนทางการเรียนคณิตศาสตร์ ชั้นอนุบาล ปีที่ 2 ระหว่างการสอนโดยใช้แบบฝึกเตรียมความพร้อม และการสอนปกติ/ วิทยานิพนธ์ ของ หทัยรัตน์ พงศ์สุวรรณ
ผลการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบคำถามปลายเปิดที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ธีรนุช แสนหาญ
ผลการจัดประสบการณ์โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญาที่มีต่อการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ชั้นอนุบาลปีที่ 3 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ วชิรญา ไวยเวทย์
ผลการจัดประสบการณ์โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเรื่องสัตว์เลี้ยงแสนรัก ชั้นอนุบาลปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ จันทิรา  อันอามาตย์
ผลการจัดประสบการณ์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาหน่วยสัตว์ชั้นอนุบาลปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ กมลรัตน์ อินทะพุฒ
ผลการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยเกมการศึกษาตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ อารยา ระศร
ผลการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง (Brain - based learning) / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สารภี ชมภูคำ
ผลการเรียนรู้ด้วยสื่อมัลติมีเดียเรื่องธรรมชาติรอบตัวของนักเรียนระดับชึ้นอนุบาล 2 / วิทยานิพนธ์ ของ นิโรบล จันทะกล
ผลของกิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้านที่มีต่อพัฒนาการทางภาษาด้านการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ดวงสมร ศรีใสคำ
ผลประยุกต์ใช้กิจกรรมตามแนวพหุปัญญาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ พรนัชชา ใยแก้ว
ขอบคุณที่มา  ::  http://www.thapra.lib.su.ac.th/    ;  มหาวิทยาลัยศิลปากร
เรียบเรียงโดย  ::   ประภัสรา  โคตะขุน  ;   http://prapasara.blogspot.com
 การคัดลอกส่วนใดส่วนหนึ่งของงานวิจัย  อย่าลืมอ้างอิงที่มาด้วยนะคะ 
จรรยาบรรณนักวิจัย  http://www.prapasara.co.uk/EthicsResearch.html




เทคนิควิธีจัดการกับ “เด็กดื้อ”

เทคนิควิธีจัดการกับ “เด็กดื้อ”



ข้อควรปฏิบัติเวลาจะบอกให้เด็กทำอะไร

1. เรียกให้เด็กสนใจฟังคุณ และหันมามองคุณก่อนจะบอกให้เด็กทำอะไร เช่น ต้อม...มองหน้าแม่ ซิ...แม่จะบอกอะไรหน่อยครับ
2. ชมเด็กทันทีที่เด็กหันมาให้ความสนใจที่คุณ ดีมากครับ...ที่หันมามองแม่
3. ให้ใช้คำพูดที่ง่าย สั้น และชัดเจนทีละคำสั่ง เช่น เอาล่ะ...ช่วยเอาผ้านี่ไปใส่ตะกร้าให้แม่ทีครับ


สิ่งที่ควรระลึกไว้

1. สิ่งที่คุณต้องการให้เด็กทำต้องเป็นสิ่งที่เด็กทำได้ อย่าสั่งหรือคาดหวังให้เด็กทำในสิ่งที่เกินความสามารถของเด็ก
2. บอกให้เด็กทำงานทีละชิ้นเพียงครั้งเดียว ให้เวลา 5 วินาที สำหรับเด็กในการทำตามที่คุณบอก อย่าพูดซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นครั้งที่ 2 หรือ 3
3. หลีกเลี่ยงการบอกให้เด็กทำงานชิ้นที่ 2 ในขณะที่เขากำลังทำงานชิ้นแรกอยู่
4. ถ้าคุณยังไม่พร้อมที่จะเด็ดขาด เอาจริงกับเด็กเวลาเด็กต่อต้านคุณ คุณก็ยังไม่พร้อมที่จะบอกให้เด็กทำอะไร


เมื่อเด็กเชื่อฟัง ทำตามที่คุณบอก ควรปฏิบัติดังนี้

1. ให้คำชมทันทีที่เด็กเริ่มทำตามที่คุณบอก ดีมากครับ...ที่น้องโจลุกมาเก็บของเล่นทันทีที่แม่เรียก...
แม่พอใจมากเลย
2. ให้คำชมอีกครั้งเมื่อเด็กทำงานที่คุณสั่งสำเร็จ เยี่ยมจริงๆ...แม่เห็นเลยว่าหนูตั้งใจล้างจานพวกนี้จนสะอาด...เก่งมากคะ
3. อย่าลืมภาษากาย!!...แสดงความชื่นชมโดยการหอม กอด ลูบหัว ฯลฯ
หากเด็กไม่ทำตามสั่งภายใน 5 วินาที ทำอย่างไร
1. เริ่มนับ 1...2...3 (ต้องมีการคุยกับเด็กเอาไว้ตั้งแต่แรกแล้วว่า หากนับถึง 3 แล้วเด็กยังไม่ทำตามที่
คุณบอกจะเกิดอะไรตามมา)
2. หากนับถึง 3 แล้วเด็กยังไม่ทำตามที่คุณบอก ต้องเอาจริง เด็ดขาดในการลงโทษตามกฎที่ตกลงกันไว้ เช่น ริบของเล่น หักค่าขนม ปิดทีวี ปิดเกม ตัดสิทธิในที่เด็กชอบ ฯลฯ อย่าดีแต่บ่น...ขู่ หรือใจอ่อน
3. เพิกเฉยหากเด็กทำท่าทางไม่เหมาะสม เพื่อเรียกร้องความสนใจ หรือแสดงความหงุดหงิดไม่พอใจ เช่น บ่น งอน ปึงปัง โวยวาย ฯลฯ
เด็กที่ดื้ออาจเชื่อฟังมากขึ้น เมื่อคุณพูดกับเขาด้วยน้ำเสียงที่ราบเรียบ นุ่มนวล ไม่ใช้อารมณ์ ให้โอกาสเด็กได้เลือกสิ่งที่คุณต้องการให้ทำ (แต่สิ่งที่คุณกำหนดต้องเป็นสิ่งที่คุณยอมรับได้) เช่น หากคุณต้องการให้เด็กอาบน้ำและแปรงฟัน คุณอาจจะพูดกับเด็กว่า โอ๋...ได้เวลาอาบน้ำ แปรงฟันแล้วครับ...แม่ให้เลือกเอาว่าโอ๋จะอาบน้ำก่อน หรือแปรงฟันก่อนดีครับ หากเด็กไม่ยอมเลือกอะไรเลย เตือนเด็กอีกครั้งว่าบทลงโทษของเราสำหรับเด็กที่ไม่เชื่อฟัง คืออะไรโดยใช้คำพูดทำนองนี้ แม่ก็จำเป็นต้องทำตามกฎที่เราคุยกันไว้.............



ที่มา: สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

50 วิธีเอาชนะโรคเด็กสมาธิสั้น

50 วิธีเอาชนะโรคเด็กสมาธิสั้น 



add ย่อมาจากคำว่า attention deficit disorder หมายถึงโรคสมาธิสั้น

ครูอาจารย์รู้หลายอย่างที่แพทย์ไม่รู้ นั่นก็คือ อาการของ ADD ปรากฏ ได้หลายแบบมาก ซ้ำยังเกิด ร่วมกับ ความผิดปกติอื่นๆ อีก เช่น learning disabilities หรือปัญหา ทางอารมณ์ ราวกับว่า ปัญหาของ ADD เปลี่ยนตาม สภาพอากาศ ไม่แน่นอน คาดการณ์ไม่ได้ แม้วิธีการรักษา ADD จะมี ปรากฏ ในหนังสือ มากมาย แต่ก็ยังคง เป็นงานยาก และหนัก กับผู้ปฏิบัติเสมอไม่มีทางออกง่ายๆ สำหรับ การแก้ปัญหา ของ ADD ในห้องเรียน หรือที่บ้าน ความสำเร็จ ของการรักษา ในโรงเรียน ขึ้นอยู่กับ ความรู้ และความหนักแน่น สม่ำเสมอ ของครู และโรงเรียน เป็นอย่างมาก

ต่อไปนี้เป็นเคล็ดบางประการในการช่วยเด็ก ADD ในโรงเรียน โดยมุ่งให้ครูอาจารย์ช่วยเด็กได้ ในทุกวัย แต่ครูอาจเห็นว่า บางข้อเหมาะสำหรับเด็กบางวัยมากกว่า อย่างไรก็ตาม หลักการเรื่อง การมีกรอบ, การให้ความรู้ และการชักจูงสนับสนุน ยังคงเป็น แนวคิดหลักเสมอ

1) ข้อแรกคือ ท่านต้องมั่นใจว่าท่านกำลังช่วยเด็ก ADD มิใช่เป็นปัญหาของการได้ยิน การมองเห็น 

2) หาผู้สนับสนุนท่านคือโรงเรียนและผู้ปกครอง การมีเด็ก ADD อยู่ในชั้น 2-3 คนก็เป็นเรื่องเหนื่อย มากอยู่แล้ว หาผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาได้ เช่น นักการศึกษาพิเศษ จิตแพทย์เด็ก นักจิตวิทยาประจำ โรงเรียน หรือกุมารแพทย์ หาความร่วมมือจากผู้ปกครอง และหาเพื่อนครูมาช่วย 

3) จงรู้จักข้อจำกัดของตนเอง อย่ากลัวที่จะขอความร่วมมือ ครูคงไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง ADD 

4) ถามเด็กว่าจะให้ช่วยอย่างไร เด็กเหล่านี้มักบอกได้ว่า อยากให้ท่านช่วยอย่างไรเมื่อถูกถาม อย่า อายที่จะถามเด็ก พยายามหาเวลาคุยกับเด็กตามลำพังและถามเขา คนที่ตอบได้ดีที่สุดเสมอคือตัว เด็กเอง ซึ่งเรามักละเลยมองข้ามไม่ถามจากเขา ในเด็กโตควรช่วยให้เด็กเข้าใจด้วยว่า ADD คือ อะไร ซึ่งจะช่วยท่านได้มาก
5) ระลึกเสมอว่า การมีกรอบจะช่วยเด็ก ADD กรอบคือสิ่งรอบตัวที่ช่วยควบคุมตัวเขา เพราะเขาคุม ตน เองไม่ได้ การมีตารางเวลาหรือรายการสิ่งที่ต้องทำช่วยเด็ก ADD ที่หลงออกไปกลับเข้ากรอบได้ พวกเขาต้องการสิ่งเตือน ต้องการการแนะ ต้องการการย้ำ ต้องการคำสั่ง ต้องการคนให้ ขีดจำกัด และต้องการกรอบที่ชัดเจนแน่นอน 
6) อย่าลืมการเรียนกับความรู้สึก เด็กเหล่านี้ต้องการห้องเรียนที่สนุก รู้สึกว่าเขาทำได้ ไม่ใช่ล้มเหลว ต้องการความตื่นเต้นมากกว่าความเบื่อหรือความกลัว ควรให้ความสนใจกับเรื่องความรู้สึกคู่ไป กับการเรียนเสมอ 
7) ให้เด็กเขียนกฎ ข้อตกลง แล้วติดในที่ที่มองเห็นได้ เป็นการแสดงให้เขารู้ว่า เขาควรทำอะไรบ้าง
8) ย้ำคำสั่ง เขียน พูดคำสั่งหลายๆครั้ง คนที่เป็น ADD ต้องการให้คนพูดย้ำหลายๆครั้ง 
9) พยายามสบตาเด็กบ่อยๆ ซึ่งจะเป็นวิธีดึงเด็กกลับมาจากความคิดวอกแวก ทั้งเป็นการให้ขั้นตอน เด็กว่าถามได้ หรือแสดงว่าท่านสนใจเขาอยู่
10) ให้เด็กนั่งใกล้โต๊ะ หรือที่ที่ท่านยืนอยู่มากที่สุด 
11) ให้ขอบเขตและข้อจำกัด โดยวิธีละมุนละม่อม ไม่ใช่ลงโทษ ทำอย่างสม่ำเสมอ ทุกครั้ง ทันท่วงทีและง่ายๆ ไม่ต้องเข้าไปถกเถียงกับเด็กมากมายเหมือนทนายทำในศาล การพูดยิ่งยาวยิ่งไม่ได้ผล 
12) ทำตารางเวลาให้สม่ำเสมอที่สุดที่ทำได้ ติดตารางบนโต๊ะเด็กหรือกระดาน ชี้ให้เด็กเห็นบ่อยๆ ถ้า ท่านจะเปลี่ยนตาราง ควรเตือนให้เด็กทราบก่อนหลายครั้ง การเปลี่ยนโดยไม่บอกล่วงหน้าทำให้ เด็กปฏิบัติตัวยากจนเหมือนไม่ร่วมมือ
13) พยายามให้เด็กจัดตารางเวลา หลังเลิกเรียนของตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่เกิดขึ้นมากของเด็ก ADD คือการผัดผ่อน 
14) พยายามลดการทดสอบย่อยๆกับเด็กเหล่านี้ เพราะไม่สามารถวัดความรู้จากเด็ก ADD ด้วยวิธีนี้ ได้ 
15) ปล่อยให้เด็กมีอิสระบ้าง เช่นให้ออกนอกห้องเป็นครั้งคราว ดีกว่าจำกัดไว้ แล้วเด็กหนีหายไปเลย เขียนไว้เป็นกฎ แล้วให้เด็กหัดควบคุมตนเอง 
16) ให้การบ้านที่มีคุณภาพมากกว่าปริมาณ เด็ก ADD อาจทำไม่ได้มากเท่าคนอื่น ควรสอนวิธีคิดให้ เด็กในระยะเวลาเรียนเท่าเดิม แต่ไม่ให้งานมากจนเด็กทำไม่ได้
17) ติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิด และช่วยเตือนให้เด็กอยู่กับร่องกับรอย เขาจะรู้ว่าเขาควรทำอะไร และหากทำตามเป้าหมายได้ จะเป็นสิ่งที่ให้กำลังใจเด็กอย่างมาก 
18) ย่อยงานใหญ่ๆให้เป็นงานย่อยๆ ถือเป็นหัวใจหลักในการที่ครูจะสอนลูกศิษย์ ADD ได้ เด็ก ADD เมื่อเผชิญกับงานใหญ่มากๆ จะท้อก่อนทำว่า ฉันไม่มีทางทำได้ แต่หากย่อยงานใหญ่มากๆ จะ เป็นงานย่อยๆที่เขารู้สึกทำได้ จะช่วยให้เขามั่นใจขึ้น โดยทั่วไปเด็กมีความสามารถที่จะทำงานได้ มากกว่าที่เขาคิดเองอยู่แล้ว แต่การย่อยงานให้เขาทำ จะช่วยพิสูจน์สิ่งนี้แก่เขา ในเด็กเล็กวิธีช่วย ให้เด็กหงุดหงิดอาละวาดลดลงได้มาก แต่ในเด็กโต ความรู้สึกเป็นคนแพ้จะลดลง ท่านควรทำเช่นนี้เป็นประจำ 
19) ทำตัวในรื่นเริง ง่ายๆมีอารมณ์ขัน หาสิ่งแปลกใหม่เรื่อยๆเพื่อทำให้เด็กกระตือรือร้น และคง ความสนใจ เด็กเหล่านี้มีชีวิตชีวา ชอบเล่น เกลียดสิ่งน่าเบื่อ รวมทั้งกฎเกณฑ์ ตาราง รายการ และครูที่น่าเบื่อ ควรแสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติตามสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่น่าเบื่อ จงลองทำตัว สนุกๆเป็นครั้งคราว จะช่วยได้มาก 
20) ป้องกันการเกิดสิ่งเร้าที่มากเกินไป เด็ก ADD เหมือนหม้อตั้งไฟมีโอกาสเดือดล้นได้ตลอดเวลา หากเห็นห้องไม่มีระเบียบ จัดการเสียตั้งแต่ต้น อย่ารอให้เป็นจลาจล 
21) หาสิ่งสำเร็จเล็กๆน้อยๆ ในตัวเขาเสมอ เด็กเหล่านี้เคยพบแต่ความล้มเหลว และเขาต้องการคน ให้กำลังใจ แต่อย่าทำจนเกินไป เด็กต้องการและได้ประโยชน์จากคำชม การให้กำลังใจ เหมือน ให้น้ำกับคนกระหาย หากมีน้ำก็รอดและเติบโต หากขาดน้ำมีแต่จะแย่ลง บ่อยครั้งที่ความเสียหายจาก ADD เองไม่รุนแรงเท่าความเสียหายจากความไม่มีความมั่นใจในตนเอง ให้น้ำแต่พอดีแล้วเด็กจะสำเร็จ 
22) เด็กเหล่านี้มักมีปัญหาความจำ ช่วยเด็กโดยแนะเคล็ดการช่วยจำ เช่น การย่อ ทำรหัส ผูกเป็น โคลง ทำสัญลักษณ์ หาเสียงคล้ายกัน จะช่วยเด็กได้มาก 
23) สอนเด็กในการจำหัวข้อ ขีดเส้นใต้ ซึ่งเด็ก ADD มักไม่ทำ ถือเป็นการช่วยเตือนสติเด็กให้เรียนได้ ขณะกำลังเรียน อยู่จริง ซึ่งสำคัญที่สุกกว่าการให้ไปเรียนพิเศษเพิ่มทีหลัง 
24) บอกเด็กก่อนว่าจะพูดถึงเรื่องอะไรต่อไป บอกหัวข้อ แล้วค่อยตามด้วยเนื้อเรื่อง เด็ก ADD มัก เรียนจากการมองเห็นได้มากกว่าการฟัง ท่านอาจพูดไปเขียนไป เหมือนช่วยเติมกาวให้ความจำ 
25) ใช้คำสั่งง่ายๆ ให้ทางเลือกง่ายๆ ให้ตารางง่ายๆ ยิ่งง่ายยิ่งเข้าใจได้ดี ใช้ภาษาให้น่าสนใจ เหมือน มีสีสัน จะช่วยดึงความสนใจ 
26) เตือนให้เด็กรู้จักสังเกตตนเอง ซึ่งเด็กเหล่านี้มักไม่สามารถติดตามได้ว่าตนเองกำลังคิดหรือทำ อะไร การเตือนควรใช้คำถามที่สร้างสรร เช่น เมื่อกี้ หนูเพิ่งทำอะไร” “ถ้าให้ลองพูดอีกครั้งหนู จะพูดใหม่ว่าอะไร” “ทำไมหนูถึงว่าเด็กคนนั้นหน้าเสียตอนหนูพูดอย่างนั้น คำถามเหล่านี้จะ ช่วยให้เขาสังเกตตนเองเป็น 
27) ทำสิ่งที่คาดหวังจากเด็กให้ชัดเจน 
28) การให้สะสมคะแนนเอารางวัล เป็นส่วนช่วยในการควบคุมพฤติกรรม เด็ก ADD ตอบสนองดีกับ การให้การจูงใจและรางวัล เขาชอบการท้าทาย 
29) ถ้าเด็กเข้าใจภาษากาย เช่น ท่าทาง, น้ำเสียง, หรือกาลเทศะ ได้จาก ควรช่วยเด็กให้เข้าสังคม ได้ง่ายขึ้น เช่น สอน ก่อนที่หนูจะเล่าเรื่องให้คนอื่นฟัง ถามว่าเขาอยากเล่าอะไรก่อน” “มอง หน้าคนอื่นด้วยในเวลาพูด เด็ก ADD มักถูกมองว่า หยิ่ง เห็นแก่ตัว ซึ่งที่จริงเขาไม่รู้วิธีเข้า สังคม ทักษะพวกนี้แม้ไม่ได้ติดตัวมาแต่เกิด แต่ก็สอนได้ 
30) สอนวิธีการทำข้อสอบให้เด็ก 
31) ทำการเรียนให้เหมือนเล่นเกมส์ การสร้างแรงจูงใจช่วย ADD ได้มาก 
32) แยกเด็ก ADD ออกจากกัน ไม่ให้เป็นคู่หรือกลุ่ม เพราะมักทำให้เด็กแย่ลง 
33) ให้ความสนใจกับการมีส่วนร่วม เด็กเหล่านี้อยากเข้าร่วมและมีปฏิสัมพันธ์ ตราบใดที่เด็กอยู่ใน ภาวะที่มีส่วนร่วม เด็กจะอยากทำและไม่วอกแวก 
34) มอบความรับผิดชอบให้เด็กทำเองเสมอเมื่อเป็นไปได้ 
35) ลองทำบันทึกจากบ้าน โรงเรียน บ้าน ทุกวัน เพื่อช่วยให้ครูและผู้ปกครองเข้าใจกัน และช่วยให้เด็กได้รับสิ่งที่ต้องการ 
36) ลองทำรายงานประจำวัน 
37) ช่วยเด็กให้ทำรายงาน และให้เด็กสังเกตตนเอง แล้วพบอาจารย์หลังเลิกเรียนทุกวัน 
38) จัดเวลาพักสบายให้เด็กไว้ โดยให้เด็กทราบล่วงหน้าเพื่อเด็กจะได้เตรียมใจ การให้เวลาพักโดย เด็กไม่ได้คาด จะทำให้เด็กตื่นเต้นและถูกกระตุ้นมากเกินไป 
39) พึงชมเชย ให้กำลังใจ ยอมรับ ทำให้เด็กรู้สึกมีคุณค่าเสมอ 
40) สำหรับเด็กโต ให้เด็กจดคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างฟังไว้ นอกเหนือจากจดสิ่งที่ครูพูดให้ฟัง จะช่วยให้เด็กเรียนได้ดีขึ้น 
41) ลายมือเด็กเหล่านี้ อาจไม่ดีนัก ให้เด็กหัดใช้แป้นพิมพ์ หรือตอบคำถามปากเปล่าบ้าง 
42) ทำตัวเหมือนผู้ควบคุมวงดนตรี ทำให้ลูกวงสนใจก่อนเริ่มเล่น โดยอาจทำตัวเงียบ เคาะโต๊ะ แบ่ง เวลาให้แต่ละคนในห้อง โดยอาจชี้ให้เด็กช่วยตอบ 
43) จัด คู่หู เพื่อนช่วยเรียน และให้เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อไว้ 
44) ช่วยอธิบาย ทำให้การรักษาดูเป็นเรื่องธรรมดา เพื่อลดความอายของเด็ก 
45) พบผู้ปกครองบ่อยๆ ไม่ใช่พบแต่เมื่อเกิดปัญหา 
46) ให้อ่านออกเสียงที่บ้าน และในห้องเรียนเท่าที่เป็นไปได้ อาจให้อ่านนิทาน จะช่วยให้เด็กมี ทักษะในการคงความสนใจอยู่กับเรื่องๆเดียวได้ 
47) พูดย้ำ ย้ำ และย้ำ 
48) การออกกำลังกาย ช่วย ADD ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะ การออกกำลังกายหนักๆ เพราะช่วย ทำลายพลังงานส่วนเกิน ช่วยให้มีสมาธิ และเป็นการกระตุ้นสารต่างๆในร่างกายซึ่งเป็น ประโยชน์และสนุก และเขาจะทำตลอดไป 
49) สำหรับเด็กโต ช่วยเด็กเตรียมตัวเรียนสำหรับวันรุ่งขึ้น โดยคุยกับเด็กว่าเขาจะเตรียมตัวอย่างไร 
50) มองหาส่วนดีที่ปรากฏขึ้นในเด็กเสมอ เด็กเหล่านี้มักฉลาดกว่าที่เราเห็น มีความสร้างสรรค์ ขี้เล่น และเป็นกันเอง เขาพยายามจะ กลับ มาสู้เสมอ เขาต้องการกำลังใจและดีใจที่มีคนช่วย จำไว้ ว่าต้องมีทำนองก่อนจะเขียนโน้ตประสานเสียงเสมอ



ที่มา  :  จิตเวช รามาธิบดี
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปราโมทย์ สุคนิชย์