วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

หนูซน . . .หรือไฮเปอร์กันแน่ ??

หนูซน . . .หรือไฮเปอร์กันแน่ ??




เอ๋…ลูกเราเข้าข่ายเป็นเด็กสมาธิสั้นหรือเปล่าเนี่ย ?

ทำไมลูกเราซนเหลือเกิน สงสัยเป็นเด็กสมาธิสั้นหรือเปล่า ?

คำถามที่พบบ่อยไม่ว่าผ่านมากี่ยุคกี่สมัย เพราะเด็กอย่างไร…ก็มีลุคแสนซน แก่นเซี้ยวสุดๆ อยู่เสมอ หลังๆ ชักออกแนวเฮี้ยนบ้าง (เรียกว่า ซนซะจน…พ่อจ๋าแม่จ๋าอ่อนอกอ่อนใจ) จนทำให้ผู้เป็นพ่อและแม่กังวลใจ…ไหง! ลิงบ้านเรามันซนจริงๆ

เมื่อก่อนคำว่า “โรคสมาธิสั้น” อาจจะไม่คุ้นเคยเท่ายุคปัจจุบัน สมัยก่อนเวลาเด็กซนผู้ใหญ่ก็มักชื่นชมว่า เด็กซนคือเด็กฉลาด แต่ในยุคนี้พอมีคำว่า “โรคซนสมาธิสั้น” ภาษาแพทย์เรียกว่า Attention Deficit Hyperative Disorders (ADHD) หรือบ้านเรานิยมเรียกว่า โรคเด็กไฮเปอร์ พอได้ยินบ่อยๆ ขึ้นก็ชักรู้สึกวูบวาบซะแล้ว เพราะกลัวเหลือเกินว่าจอมซ่าที่บ้าน อาจจะเข้าข่ายอยู่ก็ได้

ก่อนอื่นเราต้องมาแยกกันก่อนค่ะ เดี๋ยวจะพางงทั้งคนอ่าน และคนเขียนอย่างอิฉัน ซึ่งอาการสมาธิสั้น ลักษณะอาการจะคาบเกี่ยวระหว่าง ความเป็นเด็กซน และเด็กที่มีภาวะบกพร่องสมาธิสั้นจริงๆ ไม่ใช่เพียงความคาบเกี่ยวระหว่างเด็กซนเท่านั้น แต่ก็มีส่วนคาบเกี่ยวกับ เด็กที่มีความสามารถพิเศษ (Gitted) ซึ่งบางครั้งก็ถูกพาไปพบหมอด้วยอาการคล้ายๆ ว่า สมาธิสั้นเช่นกันค่ะ เพราะบางทีเราก็เกิดเข้าใจผิดและสับสนในพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งของเด็กเหมือนกัน

นอกจากนี้แล้ว อาการสมาธิสั้นยังเป็นอาการที่พบในเด็กที่มีภาวะออทิสซึม แต่ไม่ได้หมายความว่า เด็กที่มีอาการสมาธิสั้นต้องเป็นออทิสติกนะคะ


อาการที่สำคัญของเด็กกลุ่มสมาธิสั้นแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1. อาการซนมากกว่าปกติ (Hyper Activity) ลักษณะความซนจะมากกว่าเด็กทั่วๆไป ซนแบบ ไม่อยู่นิ่ง อยู่ไม่เป็นสุข ลุกลี้ลุกลน ตลอดเวลา แม้แต่การเล่นก็มักเล่นไม่จบ

2. มีความวอกแวกง่าย แม้แต่สิ่งเร้าเล็กน้อยก็สามารถทำให้เสียสมาธิได้แล้ว นอกจากนั้นยังแสดงออกในรูปของการทำงานไม่ค่อยสำเร็จ เพราะในขณะที่กำลังทำงานอย่างหนึ่งอยู่นั้น ใจก็จะคิดวอกแวกไปคิดถึงเรื่องอื่นๆ ต่อไป กว่าจะเสร็จได้ต้องใช้เวลานาน ต้องคอยจ้ำจี้จ้ำไช งานถึงจะสำเร็จลุล่วงไปได้

3. อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsive) เด็กมักจะแสดงออกในลักษณะที่รอคอยไม่เป็น ยกตัวอย่างเช่น ในขณะที่พ่อแม่หรือผู้ใหญ่กำลังคุยกันอยู่ เมื่ออยากจะพูดก็จะพูดแทรกขึ้นมาในทันทีโดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสม หรือให้ช่วยหยิบน้ำมาให้แก้วหนึ่ง ก็จะรีบไปหยิบเอาแต่แก้วมายื่นให้ เหมือนกับยังไม่ทันฟังคำร้องขอให้เสร็จก่อน ก็รีบวิ่งไปก่อนเสียแล้ว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ มักเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุต่อตัวเด็กได้ง่ายอีกด้วยค่ะ

เด็กอาจมีอาการดังกล่าวที่ว่า ครบทั้ง 3 กลุ่มก็ได้ หรือมีลักษณะเด่นร่วมกัน 1-2 อาการ ซึ่งถ้าเราสังเกตลูกว่า เข้าข่ายกลุ่มอาการสมาธิสั้นแล้ว ควรจะพาไปพบจิตแพทย์ เพื่อทำการทดสอบวินิจฉัยให้ชัดเจนแน่นอนก่อน แล้วค่อยไปสู่ขั้นตอนการรักษาต่อไป

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทำการวิจัยสำรวจเด็กไทยในเขตกรุงเทพฯ ในปี 2004 พบว่า มีเด็กในกลุ่มสมาธิสั้นประมาณร้อยละ 5-10 ของเด็กวัยเรียนหรือประมาณ 2-3 คนในห้องเรียนขนาด 50 คน สำหรับในต่างประเทศพบได้ประมาณร้อยละ 3-15 ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศและระบบการศึกษา ส่วนการบำบัดรักษาแบบมาตรฐานนั้น แบ่งเป็น 3 อย่างคือ การบำบัดด้านการศึกษา การบำบัดรักษาด้านจิตวิทยา และพฤติกรรม รวมทั้งการรักษาด้วยยา


ที่มา  :  แม่และเด็ก ฉบับเดือนมิถุนายน 2552

เด็กไฮเปอร์-เด็กสมาธิสั้น

เด็กไฮเปอร์-เด็กสมาธิสั้น

กลุ่มอาการเด็กสมาธิสั้น Attention Deficit Hyperactivity Disordes (ADHD)
โดย น.พ. จอม ชุ่มช่วย ร.พ. ยุวประสาทไวทโยปถัมภ์

กลุ่มอาการสมาธิสั้น เกิดจากความผิดปกติของสมอง โดยที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนว่า
อะไรที่ทำให้สมองมีความผิดปกติ แต่จากวิทยาการและวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันมีผลพอ
พิสูจน์ได้ว่าน่าจะเป็นผลมาจากพันธุกรรม แต่ว่าพันธุกรรมจะมีส่วนอย่างใดและมีการถ่าย
ทอดอย่างไร ยังไมีมีรายละเอียดที่ชัดเจน แต่มีผลต่อสมองทำให้การทำงานของสมองบาง
ส่วนเกิดการบกพร่อง โดยเฉพาะสมองส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสมาธิของคนเรา ทำให้เกิด
การทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันต่อระบบสั่งงานอื่นๆ อาการนี้อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์
ในอดีตมีชื่อเรียกเกี่ยวกับกลุ่มอาการเหล่านี้ได้ในหลายชื่อเช่น
Hyper Kinetic Disorders / Minimal Brain Abnormality / Minimal Brain Disfunction

แต่จากการศึกษาในปัจจุบันเรารวมเรียกกลุ่มอาการต่างรวมมาเป็น
Attention Defecit Hyperactivity Disorders (ADHD) หรือใน
บ้านเรานิยมเรียกว่า โรคเด็กไฮเปอร์


จากการทำการวิจัยสำรวจเด็กไทยในเขตกรุงเทพมหานครพบว่ามีเด็กในกลุ่มสมาธิสั้นประมาณ
ร้อยละ 5-10 ของเด็กวัยเรียนหรือประมาณ 2-3 คนในห้องเรียนขนาด 50 คน สำหรับในต่างประเทศ
พบได้ประมาณร้อยละ 3-15 ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศและระบบการศึกษา

อาการที่สำคัญของเด็กกลุ่มสมาธิสั้นแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญุ่ๆคือ
1. อาการซนมากกว่าปกติ (Hyper Activity) ลักษณะความซนจะมากกว่าเด็กทั่วๆไป ซนแบบ
ไม่อยู่นิ่ง อยู่ไม่เป็นสุข ลุกลี่ลุกร้น ตลอดเวลา
2. อาการสมาธิสั้น สามารถสังเกตุได้โดยเด็กจะมีความวอกแวกง่าย แม้แต่สิ่งเร้าเล็กๆน้อยก็สามารถ
ทำให้เด็กเสียสมาธิได้แล้ว เข่น ในขณะที่เด็กกำลังนั่งอ่านหนังสืออยู่ พอมีเสียงดังเบาๆเช่นเสียงของตก
พื้น หรือกิ่งไม้หล่นบนพื้น กลุ่มเด็กพวกนี้จะหันไปหาแหล่งต้นเสียงทันที หรือขณนั่งเรียนอยู่ในห้องเรียน
พอมีคนเดินผ่านก็จะหันไปดูโดยทันที เป็นลักษณะเป็นความไวต่อสิ่งเร้าภายนอกโดยผ่านทาง ตา / หู
นอกจากนั้นยังอาจเกิดจากสิ่งเร้าภายในตัวของเด็กเอง ในกรณีนี้จะแสดงออกในลักษณะอาการเหม่อ
ลอย นั่งนิ่งๆ เป็นนระยะเวลานานๆ เหม่อบ่อย เป็นต้น

กลุ่มอาการสมาธิสั่นนี้ยังแสดงออกในรูปของการทำงานไม่ค่อยสำเร็จ เพราะในขณะที่กำลังทำงาน
อย่างหนึ่งอยู่นั้น ใจก็จะคิดวอกแวกไปคิดถึงเรื่องอื่นๆต่อไป ทำให้งานกว่าจะเสร็จได้ต้องใช้เวลานาน
ต้องค่อยจ่ำจี้จ่ำไชงานถึงจะสำเร็จลุล่วงไปได้

3. อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsive) เด็กมักจะแสดงออกในลักษณะที่รอคอยไม่เป็น ยกตัวอย่าง
เช่น ในขณะที่พ่อแม่หรือผู้ใหญ่กำลังคุยกันอยู่ เมื่ออยากจะพูดเด็กก็จะพูดแทรกขึ้นมาในทันทีโดยไม่คำนึง
ถึงความเหมาะสม โดยเด็กจะไม่สามารถอดใจทนรอให้การสนทนานั้นเสร็จเสียก่อน
หรืออีกตัวอย่างเช่นผู้ปกครองเด็กบอกให้ช่วยหยิบน้ำให้แก้วหนึ่ง ลุกจะรีบว่างไปหยิบเอาแต่แก้วมายื่น
ให้ เหมือนกับยังไม่ทันฟังคำร้องขอให้เสร็จก่อน ก็รีบวิ่งไปก่อนเสียแล้วจะแสดงออกในลักษณะรีบเร่ง
หุนหันพลันแล่น รอคอยไม่เป็น มักเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุต่อกับตัวเด็กได้ง่าย

ซึ่งลักษณะอาการสำคัญทั้ง 3 ของกลุ่มเด็กสมาธิสั้นข้างต้น เด็กอาจมีลักษณะครบทั่ง 3 กลุ่มได้ หรือ
โดยอาจมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่เด่นหรืออาจมีลักษณะเด่นร่วมกัน1-2 อาการเลยก็ได้

สรุปลักษณะที่สำคัญของเด็กสมาธิสั้นคือ วอกแวกง่าย ทำงานไม่ค่อยเสร็จ
ซนไม่อยู่นิ่ง หุนหันพลันแล่น
ดังนั้นการวินิจฉัยจึงมักต้องเปรียบเทียบกับเด็กธรรมดาทั่วๆไป ที่สำคัญคือมักทำงานใดๆไม่ค่อยสำเร็จและชอบรบกวนเด็กอื่นๆมากกว่าปกติทั่วๆไป
แม้แต่การเล่นก็เล่นก็มักเล่นไม่จบ เช่นการเล่นต่อตัวต่อเลโก้ โดยเด็กทั่วไปในวัย 7-8 ขวบ
น่าจะนั่งเล่นตัวต่อเลโก้จนได้เป็นรูปเป็นร่างได้ แต่ในเด็กกลุ่มสมาธิสั้นอาจทำไม่สำเร็จ


เรามักจะใช้เกณฑ์ของกลุ่มเด็กปกติทั่วไปเป็นเกณฑ์ในการช่วยเปรียบเทียบตัดสิน เช่นเด็กวัยประมาณ
7 ขวบจะสามารถนั่งเล่นอยู่กับที่ได้นานประมาณ 15-30 นาที แต่ถ้าเด็กที่นั่งเล่นอยู่กับที่ไม่ได้ก็ให้ฉุก
คิดไว้ก่อน เป็นต้น

เมื่อกลุ่มเด็กสมาธิสั้นนี้ ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ รักษาอย่างถูกวิธีในวัยเด็ก เมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่
ก็มีผลผลต่อเนื่องให้เป็นผู้ที่ทำอะไรไม่ค่อยสำเร็จ ไม่ค่อยมีความมั่นใจในตนเอง ณจุดนี้อาจแยกเป็น
2 กลุ่มได้คือ
- กลุ่มหนึ่งจะแปรเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นเกเร กร้าวร้าว ต่อต้านสังคม
- อีกกลุ่มจะกลายเป็นคนที่ไม่กล้า กลัว ซึมเศร้า หงอยเหงา คนในกลุ่มนี้จะมองตัวเองไม่ดี ไร้ค่า อาจถึง
- อีกกลุ่มจะกลายเป็นคนที่ไม่กล้า กลัว ซึมเศร้า หงอยเหงา คนในกลุ่มนี้จะมองตัวเองไม่ดี ไร้ค่า อาจถึง
ขั้นฆ่าตัวตายได้
ทั้งสองกลุ่มข้างต้นมักจะพบได้บ่อนในกลุ่มเด็กสมาธิสั้นที่เริ่มโตขึ้น แต่ก็มีบ้างบางส่วนที่อาจจะไปใน
ทิศทางที่ดี สาเหตุเนื่องจากมีพรสวรรค์ด้านอื่นเป็นพิเศษมาช่วยชดเชย
มาช่วยทำให้เด็กมีความภูมิใจ หรือมีสภาพแวดล้อมและพ่อแม่มีความเข้าใจลูกเป็นอย่างดีคอยดูแล

ในวัยเรียนกลุ่มเด็กอาการสมาธิสั้นจะมีผลกระทบต่อการเรียน เด็กกลุ่มนี้จะไม่คอยมีช่วงที่มีสมาธิ
สำหรับการตั้งใจเรียน มีแนวโน้มที่จะล้มเหลวในการเรียนสูงถ้าไม่ได้รับการดูแลและเข้าใจเป็นอย่างดี
เช่นในการเรียนบทเรียนวันนี้ยังไม่ทันจะทำความเข้าใจดี ในวันรุ่งขึ้นก็มีบทเรียนใหม่เข้ามาอีกแล้ว ทำ
ให้การเรียนไม่ค่อยทันเพื่อน แปรเปลี่ยนไปเป็นการเบื่อไม่อยากเรียนไป

อาจมีบ้างที่ให้ผลเป็นดีในทางกลับกันคือ เด็กมีพรสวรรค์ทางด้านไอคิว บวกกับอาการสมาธิสั้นทำให้
สามารถฟังการสอนแบบผ่านๆก็สามารถเข้าใจได้เป็นอย่างดี ทั้งๆที่แสดงออกเหมือนไม่ได้ตั้งใจฟังที่
ครูสอนเลย ลักษณะอย่างนี้บางครั้งก็กลับกลายไปเป็นผลเสียต่อเพื่อนเรียนข้าง เพราะในช่วงไม่มีสมาธิ
ก็จะไปรบกวนสมาธิของเด็กข้างพลอยทำให้ไม่มีสมาธิในการเรียนไปด้วย อาจดูเหมือนเป็นตัวปัญหา
ของชั้นเรียน ทำให้ความสัมพันธืต่อคนอื่นไม่ดีไปด้วย

เมื่อเราสังเกตุลักษณะอาการของเด็กและสงสัยว่าน่าจะเป็นกลุ่มอาการสมาธิสั่นแล้ว ผู้ปกครองควรจะ
พาไปพบจิตแพทย์เพื่อให้ผู้ชำนาญทำการทดสอบวินิจฉัยให้ชัดเจนแน่นอนก่อน แล้วค่อยไปสู่การทำการ
รักษาต่อไป ในการรักษานอกจากการใช้ยาร่วมด้วยแล้วทางด้านผู้ปกครองต้องมีส่วนช่วยในการรักษา
ในการตระเตรียมสภาพแวดล้อมโดยมีหัวข้อหลักๆ 3 ประการดังนี้
1. ต้องมีการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ไม่มีสิ่งรบกวนและสิ่งเร้าต่อเด็กมากเกินไป พยายามจัดห้อง
หรือบ้านให้มีระเบียบเช่นไม่มีของเล่นวางเกลื่อนไปหมด ไม่มีบรรยากาศวุ่นวายสับสน เสียงตะโกนโวก
เหวกเปิดเสียงเพลงดัง จนเด็กไม่สามารถรวบรวมสมาธิได้เลย แม้แต่การพาไปเที่ยวนอกสถานทีก็ไม่
ควรพาไปในที่อีกกระทึก วุ่นวายเสียงดัง เป็นต้น

2. การช่วยเสริมสร้างวินัยในตัวเด็ก เพราะจะเป็นตัวนำไปสู่การรู้จักควบคุมตนเอง เป็นการเสริมทาง
อ้อมให้รู้จักรวบรวมสมาธิได้แก่
- การสร้างเสริมวินัยในกิจวัตรประจำวัน โดยการจัดตารางงานให้ทำเป็นเวลา สร้างระเบียบพื้นฐานใน
บ้านแบบกิจวัตรว่าใครจะช่วยจัดการอะไรบ้าง ใครถูพื้น ใครกวาดบ้าน ใครล้างจาน เป็นประจำ
- วินัยในการตรงต่อเวลา ฝึกให้เด็กมีตารางเวลาในการทำงาน ว่าควรทำอะไร ในเวลาไหนทจะเสร็จ
เมื่อใด เป้นต้น
การสร้างระเบียบต่างๆข้างต้น ควรเป็นไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีทางสำเร็จถ้าจะให้ทำได้
ทุกอย่างในเวลาสั้นๆทันทีทันใด และที่สำคัญผู้ปกครองต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างในตอนเริ่มต้น
และค่อยๆลดตนเองลงที่ละน้อย จนเด็กสามารถทำด้วยตนเองทั้งหมด

3. การหากิจกรรมช่วยเสริมทักษะ เช่นการเรียนดนตรี การเรียนศิลปะ การอ่านหนังสือ กีฬา หลีกเลี่ยง
เกมส์ กีฬา หรือกิจกรรมที่มีความรุนแรงเพราะจะกลับกลายไปกระตุ้นอาการสมาธิสั้น เป็นการทำให้
อาการแย่ลงไปอีก

พ่อแม่ต้องมีความเข้าใจ อดทน มีความหนักแน่นในหลักการ และที่สำคัญต้องไม่ใช้ความรุนแรงในการ
ลงโทษ โดยเปลี่ยนเป็นการลงโทษโดยการตกลงกันไว้ก่อนแทน เช่น งดเวลาการดูโทรทัศน์ลงแทน เมื่อ
ทำไม่ตรงตามกติกา เป็นต้น

ผู้ปกครองสามารถพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อการตรวจยืนยันและการรักษาได้ตามโรงพยาบาลใหญ่ของรัฐ
เช่น ร.พ. จุฬา / รามา / ศิริราช / พระมงกุฏ / ภูมิพล / วชิระพยาบาล เป็นต้น หรือโรงพยาบาลเฉพาะทาง
เช่น ร.พ. บ้านสมเด็จ / ร.พ.ประสาทไวทโยปถัมภ์ / ร.พ.ศรีธัญญา เป็นต้น
ที่มา  :  www.autismthai.com



บัญญัติ 10 ประการ สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกไฮเปอร์

1. เข้าใจและยอมรับ ขอให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจและยอมรับว่าเด็กไฮเปอร์มีพลังงานเหลือเฟือ ทำให้ไม่สามารถควบคุมตัวเองให้อยู่นิ่งได้การอดทนและใช้ความสุขุมจะช่วยให้อยู่ร่วมกันกับเด็กเหล่านี้ได้
2. ช่วยหาทางออกให้เด็กได้ระบายพลังงานส่วนเกินเด็ก ควรมีโอกาสทำกิจกรรมที่ได้ใช้พลังงานส่วนเกินอย่างเป็นประโยชน์ เช่น การออกกำลังกายอย่างง่าย ๆ ด้วยการเดินหรือวิ่ง ตลอดจนการเล่นกีฬาต่างๆ
3. ช่วยลดความกดดันของเด็กต่อปฏิกิริยาที่ได้รับจากเพื่อนหรือผู้ใหญ่ที่ไม่ใช่คุณพ่อคุณแม่เด็ก ไฮเปอร์ที่มักถูกกล่าวว่าเป็นเด็กไม่ดี เนื่องจากมักทำความเดือดร้อนอยู่เป็นนิจ แต่ขอให้สมาชิกในครอบครัวอย่าตีตราเด็กเช่นนั้นไปด้วย ควรให้กำลังใจให้เด็กรู้สึกว่าอย่างน้อยเขาก็เป็น เด็กดีสำหรับคุณพ่อคุณแม่เสมอเพียงแต่มีพลังงานส่วนเกินที่ต้องช่วยกันควบ คุมให้เหมาะสม จะช่วยกันรักษาภาพพจน์ที่ดีต่อตนเองและเชื่อมั่นในตนเองของเด็กให้คงอยู่ได้
4. รักษาระเบียบวินัย แม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายในการฝึกระเบียบวินัยให้เด็กไฮเปอร์แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็ อย่างยิ่งที่ต้องปลูกฝังโดยเน้นกฎเกณฑ์ได้ทีละน้อยก่อน และค่อยขยายไปเรื่องอื่นที่มีความสำคัญรองลงมา คุณพ่อคุณแม่ควรมีความชัดเจนและสม่ำเสมอในการรักษากฎเกณฑ์โดยหลีกเลี่ยงคำ ห้ามที่ พร่ำเพรื่อ
5. ฝึกระเบียบวินัยโดยไม่ต้องตี ควรมีห้องแยกหรือที่ที่จะให้เด็กอยู่ตามลำพังสักพักชั่วขณะ เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นห้องนอนเด็กเองก็ได้ เพื่อให้เด็กใช้เวลาไตร่ตรองพฤติกรรมที่ตนได้กระทำไป และอนุญาตให้เด็กออกมาอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อีกเมื่อเด็กหยุดพฤติกรรมนั้น หรือรู้ตัวว่าจะไม่กระทำอีก ควรหลีกเลี่ยงการลงโทษด้วยการตี ซึ่งอาจทำให้เด็กก้าวร้าวขึ้นได้จากการเลียนแบบผู้ใหญ่เนื่องจาก เด็กเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะก้าวร้าวได้ง่าย ผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการรู้จักควบคุมตนเอง
6. อย่าทำให้เด็กเหนื่อยล้าเด็ก เหล่านี้มีความอดทนต่อความเครียดต่ำอาจระเบิดอารมณ์หรือการแสดงออกที่ควบคุมตนเองไม่ได้โดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรู้สึกเหนื่อยล้า
7. หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในสถานที่ที่ต้องการความสงบ การที่เด็กไปแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในสถานที่ที่ต้องการความสงบ เช่น วัด หรือภัตตาคารหรู ๆ อาจถูกว่ากล่าวทำให้เด็กรู้สึกกระดากอายได้ ต่อเมื่อเด็กรู้จักควบคุมตนเองได้ดีขึ้นที่บ้านแล้วจึงค่อย ๆ พาไปในสถานที่ดังกล่าว
8. จัดบ้านให้เป็นระเบียบ บ้านที่เป็นระเบียบจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ระเบียบไปด้วยรวมทั้งกิจวัตรประจำวัน ต่าง ๆ เช่น มื้ออาหาร การทำการบ้านหรือช่วยงานบ้าน เวลาเข้านอนก็ควรเป็นเวลาที่สม่ำเสมอทุกวัน
9. ยืดระยะเวลาของสมาธิ เมื่อใดที่เด็กมีพฤติกรรมที่ดี เช่น นั่งอยู่กับที่ได้นาน ทำงานแล้วเสร็จ ควรให้คำชมเชยเสมอ เป็นการช่วยเตรียมให้เด็กพร้อมสำหรับกิจกรรมที่โรงเรียนด้วย
10. มีเวลาพักสำหรับคุณพ่อคุณแม่บ้าง การที่ต้องอยู่กับเด็กไฮเปอร์ตลอด 24 ชั่วโมง อาจทำให้คุณแม่เหนื่อยเกินไป ควรมีเวลาพักเพื่อที่จะมีเรี่ยวแรงมาดูแลเด็กได้อีก คุณพ่อหรือพี่เลี้ยงเป็นผู้ที่ช่วยได้มากทีเดียว ควรช่วยผลัดอยู่กับเด็กบ้าง หรือการที่คุณพ่อคุณแม่ได้มีเวลาออกไปนอกบ้านตามลำพังเพียงสองคนบ้าง จะช่วยให้คุณแม่หายเหนื่อยและมีกำลังใจขึ้นอย่างมากทีเดียว


ที่มา : http://www.samitivejhospitals.com/healtharticle_detail/บัญญัติ_10_ประการ_สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกไฮเปอ_81/th